ReutersReuters

ASIA:โพลล์ชี้นักลงทุนลดสถานะขายบาทแต่เพิ่มสถานะขายสกุลเงินเอเชีย

28 พ.ย.--รอยเตอร์

  • รอยเตอร์ได้สำรวจความเห็นนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุน 11 ราย และได้เปิดเผยผลสำรวจออกมาในวันนี้ โดยผลสำรวจระบุว่า นักลงทุนได้ปรับลดการถือครองสถานะขายสุทธิในบาท/ดอลลาร์สหรัฐลงในช่วง 2 สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 พ.ย. จนส่งผลให้บาทกลายสกุลเงินเอเชียที่นักลงทุนถือครองสถานะขายสุทธิน้อยที่สุดในตอนนี้ และนักลงทุนได้ปรับลดการถือครองสถานะขายสุทธิในเปโซของฟิลิปปินส์และวอนของเกาหลีใต้ลงในช่วง 2 สัปดาห์ล่าสุดด้วย อย่างไรก็ดี วอนยังคงครองตำแหน่งสกุลเงินเอเชียที่นักลงทุนถือครองสถานะขายสุทธิมากที่สุดในตอนนี้ ทั้งนี้ นักลงทุนได้ปรับเพิ่มการถือครองสถานะขายสุทธิในสกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่ในช่วง 2 สัปดาห์ล่าสุด ซึ่งรวมถึงในหยวนของจีน, ดอลลาร์สิงคโปร์, รูเปียห์ของอินโดนีเซีย, ดอลลาร์ไต้หวัน, รูปีของอินเดีย และริงกิตของมาเลเซีย ในขณะที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศในวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า เขาจะเก็บภาษีนำเข้า 25% จากสินค้าทั้งหมดที่มาจากเม็กซิโกและแคนาดาในวันแรกที่เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี และจะเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมอีก 10% จากสินค้าจีน โดยประกาศดังกล่าวส่งผลลบต่อประเทศที่พึ่งพาการค้า โดยเฉพาะมาเลเซียและสิงคโปร์

  • สถานะขายสุทธิในดอลลาร์สิงคโปร์พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนต.ค. 2022 หรือจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี ในขณะที่สถานะขายสุทธิในรูเปียห์ทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบ 5 เดือน ทั้งนี้ แผนการด้านภาษีนำเข้าของนายทรัมป์อาจจะกระตุ้นให้เกิดภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก และอาจจะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้มากนัก โดยแผนการดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงสินทรัพย์เสี่ยงในประเทศตลาดเกิดใหม่ด้วย ทางด้านนายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงิน ธ.กรุงไทย กล่าวว่า ถ้าหากสหรัฐประกาศใช้แผนการด้านภาษีศุลกากรของนายทรัมป์ภายในเวลาอันรวดเร็ว สิ่งนี้ก็อาจจะส่งผลลบต่อสกุลเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย ซึ่งจะคล้ายคลึงกับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในช่วงที่นายทรัมป์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในสมัยแรก

  • นายคริสโตเฟอร์ หว่อง นักยุทธศาสตร์การลงทุนสกุลเงินของธนาคาร OCBC กล่าวว่า "ความไม่แน่นอนด้านนโยบายของนายทรัมป์มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียเผชิญกับความผันผวน" และเขากล่าวเสริมว่า ริงกิตอาจจะได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษจากความเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวนและอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐ โดยเขาระบุอีกด้วยว่า "ในกรณีที่หยวนอ่อนค่าลงและอัตราดอกเบี้ยสหรัฐปรับสูงขึ้น ริงกิตก็อาจจะได้รับแรงกดดันให้ดิ่งลงต่อไป" ทั้งนี้ สถานะขายสุทธิในริงกิตพุ่งขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ล่าสุดจนแตะจุดสูงสุดนับตั้งแต่กลางเดือนก.ค. หรือจุดสูงสุดในรอบ 4 เดือน ในขณะที่ริงกิตมีแนวโน้มว่าอาจจะปิดตลาดเดือนพ.ย.ในแดนลบเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยได้รับแรงกดดันจากคำสั่งเทขายทำกำไร หลังจากริงกิตเคยพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยริงกิต/ดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นมาแล้ว 3.26% จากช่วงต้นปีนี้ และส่งผลให้ริงกิตถือเป็นสกุลเงินเอเชียเพียงสกุลเดียวที่แข็งค่าขึ้นในปีนี้

  • นักลงทุนถือครองสถานะขายสุทธิในวอนมากที่สุดในบรรดาสกุลเงินเอเชีย เพราะว่าวอนมีความอ่อนไหวต่อค่าเงินหยวน และเพราะว่าเกาหลีใต้มียอดเกินดุลการค้าต่อสหรัฐในระดับสูง ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่นายทรัมป์อาจจะดำเนินมาตรการที่แข็งกร้าวต่อเกาหลีใต้ในอนาคต ทั้งนี้ ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) เพิ่งประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ 3.00% ในวันนี้ ซึ่งถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ต้นปี 2009 เป็นต้นมา ในขณะที่ผู้กำหนดนโยบายพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่อยู่ในภาวะชะงักงัน และอัตราเงินเฟ้อเกาหลีใต้ชะลอตัวลงมากเกินคาด

  • นักวิเคราะห์ของบริษัท ING ระบุว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ BOK ในครั้งนี้บ่งชี้ว่า BOK ให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ มากกว่าเสถียรภาพของตลาดการเงินในระยะสั้น และนักวิเคราะห์ระบุเสริมว่า ถ้าหาก BOK ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงต่อไป วอนก็จะได้รับแรงกดดันให้ร่วงลงไปอีก โดยนักวิเคราะห์กลุ่มนี้คาดว่า วอนจะอ่อนค่าลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2025 และวอนจะแกว่งตัวผันผวนมากยิ่งขึ้นด้วย

ผลสำรวจของรอยเตอร์ฉบับนี้มุ่งความสนใจไปยังสิ่งที่นักวิเคราะห์เชื่อว่า เป็นสถานะการลงทุนในปัจจุบันในสกุลเงิน 9 สกุลในบรรดาประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย โดยสกุลเงิน 9 สกุลนี้ประกอบด้วยสกุลเงินบาทของไทย, หยวนของจีน, วอนของเกาหลีใต้, ดอลลาร์สิงคโปร์, รูเปียห์, ดอลลาร์ไต้หวัน, รูปี, เปโซ และริงกิตของมาเลเซีย

ผลสำรวจดังกล่าวประเมินสถานะซื้อ (long position) หรือสถานะขาย

(short position) สุทธิในสกุลเงินในช่วงระดับ -3 ถึง +3 โดยคะแนน +3 บ่งชี้ว่า ตลาดมีสถานะซื้อดอลลาร์สหรัฐอย่างมาก

ข้อมูลในผลสำรวจนี้รวมสถานะสัญญาล่วงหน้าที่ไม่มีการส่งมอบ (NDF) ด้วย

ผลการสำรวจ (สถานะในรูปสกุลดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินแต่ละสกุล)

มีรายละเอียดดังนี้:-

หยวน วอน *SGD รูเปียห์ **TWD รูปี ริงกิต เปโซ บาท

DATE

CNY

KRW

SGD

IDR

TWD

INR

MYR

PHP

THB

28-Nov-24

1.32

1.45

1.12

1.03

1.10

1.13

0.76

1.13

0.66

14-Nov-24

1.14

1.61

0.80

0.81

1.07

0.87

0.65

1.18

0.90

31-Oct-24

0.30

1.06

-0.03

0.59

0.60

0.82

0.11

0.81

0.09

17-Oct-24

-0.43

0.26

-0.44

0.04

0.24

0.67

-0.40

0.26

-0.28

03-Oct-24

-1.14

-0.79

-1.26

-1.08

-0.59

-0.04

-1.18

-0.70

-1.45

19-Sep-24

-0.67

-0.90

-1.12

-1.18

-0.66

0.33

-1.30

-1.10

-1.33

05-Sep-24

-0.85

-1.09

-1.26

-1.05

-0.77

0.21

-1.46

-1.00

-1.22

22-Aug-24

-0.62

-0.93

-1.08

-1.26

-0.70

0.21

-1.57

-1.03

-1.16

08-Aug-24

-0.02

0.05

-0.61

-0.02

0.59

0.60

-0.78

-0.29

-0.57

25-Jul-24

1.07

0.79

-0.33

0.35

0.86

0.12

0.39

0.43

0.02

*SGD = ดอลลาร์สิงคโปร์

**TWD = ดอลลาร์ไต้หวัน

--จบ--

Eikon source text

(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)

((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;

เข้าสู่ระบบหรือสร้างบัญชีฟรีถาวรเพื่ออ่านข่าวนี้

ข่าวเพิ่มเติมจาก Reuters

ข่าวเพิ่มเติม