ReutersReuters

รายงานชี้การเก็บค่าเซอร์ชาร์จการกู้เงินจากไอเอ็มเอฟยิ่งซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำทั่วโลก

  • รายงานจากศูนย์นโยบายพัฒนาโลกของมหาวิทยาลัยบอสตัน และโครงการริเริ่มเพื่อการเจรจานโยบายของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียระบุว่า ประเทศต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้ปานกลาง และรายได้ต่ำ แบกรับภาระค่าเซอร์ชาร์จที่นอกเหนือไปจากการจ่ายดอกเบี้ยเงินที่กู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ จึงทำให้ความเหลื่อมล้ำทั่วโลกขยายกว้างขึ้น

  • ประเทศที่มีหนี้สินได้จ่ายค่าเซอร์ชาร์จราว 6.4 พันล้านดอลลาร์ระหว่างปี 2020-2023 แล้ว ขณะที่ประเทศที่จ่ายค่าเซอร์ชาร์จเหล่านี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา

  • รายงานก่อนหน้านี้จากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและนโยบายพบว่า คาดว่าไอเอ็มเอฟจะคิดค่าเซอร์ชาร์จราว 9.8 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 5 ปีข้างหน้า ขณะที่ผู้วิจารณ์นโยบายระบุว่า ค่าเซอร์ชาร์จดังกล่าวไม่ได้เร่งการชำระเงินให้เร็วขึ้น แต่กลับลงโทษประเทศที่ประสบกับขีดจำกัดด้านสภาพคล่องอยู่แล้ว, เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาด้านหนี้ และเบี่ยงเบนทรัพยากรที่หาได้ยาก ซึ่งอาจจะถูกนำไปใช้หนุนประเทศที่มีสถานะย่ำแย่

  • ประเทศต่างๆ อาทิ ยูเครน, อียิปต์, อาร์เจนตินา, บาร์บาโดส และปากีสถานจ่ายค่าเซอร์ชาร์จมากที่สุด ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 90% ของรายได้จากเซอร์ชาร์จของไอเอ็มเอฟ โดยค่าเซอร์ชาร์จนี้ ซึ่งเรียกเก็บนอกเหนือไปจากอัตราพื้นฐานที่ชันมากขึ้นของไอเอ็มเอฟ นับเป็นแหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุดแหล่งเดียวของไอเอ็มเอฟ โดยมีสัดส่วน 50% ของรายได้ทั้งหมดในปี 2023

  • ข้อมูลจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศในปีนี้พบว่า ระดับหนี้ทั่วโลกแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 313 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2023 ขณะที่สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ซึ่งบ่งชี้ความสามารถของประเทศหนึ่งในการชำระคืนหนี้ พุ่งแตะระดับสูงสุดใหม่เช่นกัน--จบ--

Eikon source text

เข้าสู่ระบบหรือสร้างบัญชีฟรีถาวรเพื่ออ่านข่าวนี้