ReutersReuters

JAPAN:โพลล์คาดญี่ปุ่นจะแทรกแซงตลาดที่ี 155 เยน,BOJ จะขึ้นดบ.อีก

โตเกียว--22 เม.ย.--รอยเตอร์

  • รอยเตอร์ได้สำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ในวันที่ 10-17 เม.ย. และได้เปิดเผยผลสำรวจออกมาในวันศุกร์ หลังจากดอลลาร์/เยนเพิ่งพุ่งขึ้นแตะ 154.79 เยนในวันอังคารที่ 16 เม.ย. ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดรอบ 34 ปี หรือจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 โดยผลสำรวจระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ 91% ของโพลล์คาดว่า ทางการญี่ปุ่นจะเข้ามาแทรกแซงตลาดในอนาคตเพื่อสกัดกั้นเยนไม่ให้ดิ่งลงต่อไป ทั้งนี้ เมื่อนักเศรษฐศาสตร์ได้รับคำถามว่า ทางการญี่ปุ่นจะเข้ามาแทรกแซงตลาดที่ระดับใด นักเศรษฐศาสตร์ 16 จาก 21 ราย หรือ 76% ของโพลล์ ก็ตอบว่าทางการญี่ปุ่นจะเข้ามาแทรกแซงตลาดเมื่อดอลลาร์พุ่งขึ้นสู่ 155 เยน, 2 ราย (หรือราว 9.5% ของโพลล์) ตอบว่า 156 เยน, 1 รายตอบว่า 157 เยน และ 2 รายตอบว่า 158 เยน

  • นักเศรษฐศาสตร์ราว 2 ใน 3 ของโพลล์คาดว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้ แต่นักเศรษฐศาสตร์แสดงความเห็นแตกต่างกันไปต่อประเด็นที่ว่า บีโอเจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งเมื่อใด หลังจากบีโอเจเพิ่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี สู่ 0.0-0.1% ในการประชุมวันที่ 18-19 มี.ค. และบีโอเจได้ยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบในการประชุมครั้งนั้น โดยผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นอีกด้วยว่า บีโอเจไม่มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแข็งกร้าวในระยะใกล้ เพื่อจะได้ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ทุกรายคาดการณ์ตรงกันว่า บีโอเจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นเดือนมิ.ย. แต่นักเศรษฐศาสตร์ 21 จาก 61 ราย หรือ 34% ของโพลล์คาดว่า บีโอเจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ 0.20% หรือ 0.25% ในไตรมาสเดือนก.ค.-ก.ย.

  • ชิยุกิ ทาคามัตสึ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทประกันชีวิตฟุโกกุ มิวชวลกล่าวว่า บีโอเจมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ค. ถ้าหากการคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคปรับสูงขึ้น และเธอกล่าวเสริมว่า "บีโอเจจะมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นในการบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ ในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นปรับขึ้นค่าแรงในอัตราสูงกว่า 5%" ทั้งนี้ บีโอเจตั้งเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ 2% ในขณะที่ญี่ปุ่นรายงานในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐาน ซึ่งครอบคลุมราคาพลังงานแต่ไม่รวมราคาอาหารสด ปรับขึ้น 2.6% ในเดือนมี.ค.เมื่อเทียบรายปี โดยชะลอตัวลงจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 2.8% ในเดือนก.พ. ทางด้านนักลงทุนคาดการณ์กันว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นจะยังคงอยู่สูงกว่าเป้าหมายต่อไปเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งจะเปิดโอกาสให้บีโอเจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้

  • นักเศรษฐศาสตร์ 17 จาก 55 ราย หรือ 31% ของโพลล์คาดว่า บีโอเจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ 0.20% หรือ 0.25% ในไตรมาสเดือนต.ค.-ธ.

    ค. ในขณะที่มีนักเศรษฐศาสตร์ 5 ราย ซึ่งได้แก่นักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทไอเอ็นจี ไฟแนนเชียล มาร์เก็ตส์, เจพี มอร์แกน, สถาบันวิจัยเมอิจิ ยาสุดะ, บริษัทประกันชีวิตฟุโกกุ มิวชวล และบริษัททีแอนด์ดี แอสเซท แมเนจเมนท์ คาดว่า บีโอเจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ 0.25% ในไตรมาสสาม และจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ 0.50% ในไตรมาสเดือนต.ค.-ธ.ค. ทั้งนี้ ค่ากลางของโพลล์คาดว่า เพดานของกรอบเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยเผื่อเรียกช่วงข้ามคืน ซึ่งอยู่ที่ 0.10% ในปัจจุบัน จะปรับขึ้นสู่ 0.25% ในไตรมาสสี่ และจะปรับขึ้นสู่ 0.50% ในช่วงปลายปี 2025

  • นักเศรษฐศาสตร์ 36 รายคาดการณ์เดือนที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งถัดไปของบีโอเจ โดยนักเศรษฐศาสตร์ 36% ของโพลล์คาดว่า บีโอเจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งถัดไปในเดือนต.ค. 2024, 31% คาดว่าจะเป็น "ปี 2025 หรือหลังจากนั้น" และ 19% คาดว่าจะเป็นเดือนก.ค. 2024 ทั้งนี้ โมเอะ นาคาฮามะ นักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจอิโตชูกล่าวว่า "บีโอเจมีแนวโน้มที่จะยืนยันได้ว่า ค่าแรงปรับขึ้นต่อไป และสิ่งนี้ส่งผ่านไปยังราคาในภาคบริการในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ที่บีโอเจจะบรรลุเป้าหมายในการทำให้อัตราเงินเฟ้อมีเสถียรภาพอยู่ที่ 2%"--จบ--

Eikon source text

(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปลและเรียบเรียง)

((jit.phokaew@thomsonreuters.com; โทร 08-7689-6043;

เข้าสู่ระบบหรือสร้างบัญชีฟรีถาวรเพื่ออ่านข่าวนี้