วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ SET ช่วงสั้นอาจแกว่งชะลอหลังปรับขึ้นแรง
ประเมินข่าวการเก็บภาษีทางการค้าช่วงนี้เป็นเรื่องของการกดดันเพื่อต่อรอง ขณะที่มาตรการจริงๆอาจจะมาในช่วงตั้งแต่ เม.ย.เป็นต้นไป แม้จะมีรายงานข่าวเกี่ยวกับการอาจเรียกเก็บภาษีนำเข้าในช่วงนี้ แต่เรามองเป็นการกดดันเพื่อต่อรอง
โดยพุ่งเป้าไปยังประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพิงการส่งออกมายังสหรัฐฯ สูง อย่างเม็กซิโกและแคนาดา ซึ่งมีการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในระดับ 78-83% ของการส่งออกรวม ขณะที่มูลค่าคิดเป็น 20-27% ของ GDP ทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จ หรืออย่างน้อยสามารถปรับปรุงเงื่อนไขทางการค้าได้ง่าย โดยประเทศในกลุ่มเสี่ยงถัดมาคือ เวียดนาม, ไต้หวัน และไทย ทั้งนี้การปรับปรุงเงื่อนไขทางการค้าในภาพรวม น่าจะเกิดหลังผลการศึกษาของหน่วยงานของรัฐบาลกลางซึ่งจะแล้วเสร็จไม่เกิน 1 เม.ย.
คาดไม่มีเซอร์ไพรซ์เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสำคัญ ดังนั้นตลาดจะโฟกัสที่ผลประกอบการเป็นหลัก: ช่วง 2 สัปดาห์ข้างหน้า มีประชุมธนาคารกลางที่สำคัญ ได้แก่ 1) ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) 24 ม.ค. คาดขึ้นดอกเบี้ย 2) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) 29 ม.ค. ตลาดคาดคงดอกเบี้ย (แต่ทิศทางหลักยังเป็นการลดดอกเบี้ย รอบต่อไปประมาณ เม.ย. 68) และ 3) ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) 29 ม.ค. ตลาดคาดคงดอกเบี้ย (โดยทิศทางหลักเป็นการลดดอกเบี้ย ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นในช่วง พ.ค.-มิ.ย. 68) ทั้งนี้จะเห็นว่า 3 เดือนข้างหน้า ดอกเบี้ยนโยบายจะมีผลต่อตลาดไม่มาก ทำให้นักลงทุนจะกลับมาโฟกัสกับผลประกอบการเป็นหลัก ด้านสหรัฐฯ แม้ผลประกอบการดี แต่ด้วย Valuation ที่สูงทำให้อาจต้องระวัง de-rating หากกำไรไม่เด่นอย่างที่นักลงทุนคาด ขณะที่ในประเทศกำไรกลุ่มที่เกี่ยวกับการบริโภคในประเทศมีแนวโน้มออกมาดี ยังเป็นปัจจัยหนุนการฟื้นตัวรายกลุ่ม
องค์ประกอบหุ้นรายตัว (Market breadth) ดีขึ้นหนุนการฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่การลงทุนเน้นกลุ่มกำไรดี และเก็งกำไรเน้นกลุ่มที่อยู่โซนต่ำ ที่ราคาหุ้นสะท้อนปัจจัยลบไปแล้ว หรืองบกำลังจะดีขึ้น : จำนวนหุ้นที่ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 20 วันสูงขึ้น หุ้นใน SET50 ที่มีแนวโน้มเชิงบวก (MACD บวกทั้งรายวันและสัปดาห์) เพิ่มเป็น 11 หุ้น หรือ 22% หนุนการฟื้นตัวของ SET และหนุนบรรยากาศเลือกเก็งกำไร
ภาพรวมกลยุทธ์ ยังมองเป้าแกว่งตัวขึ้น แถว 1,370-1,400 จุด ระยะสั้นอาจแกว่งหลังขึ้นมาใกล้เป้าแรก ยังมองกลุ่มผลประกอบการดี ใน 4Q67-1Q68 มีความน่าสนใจ โดยเราชอบ หุ้นในกลุ่มท่องเที่ยว, การแพทย์, สื่อสาร, ค้าปลีก และอาหาร (เครื่องดื่มและเนื้อสัตว์) ขณะที่คาดธนาคาร และการเงิน จะเป็นกลุ่มช่วยประคองบรรยากาศโดยรวม กลุ่มโรงไฟฟ้าใหญ่และหุ้นปันผลสูงเริ่มกลับมาน่าสนใจจากผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลง
แนวรับ: 1,350-1,354 แนวต้าน : 1,365-1,380 จุด
สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
หุ้นแนะนำ (* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ นักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาเข้าซื้อ)
• BCP (39) : ผลการดำเนินงานได้แรงหนุนจาก synergy ของโรงกลั่น BSRC และในปี 2568 จะมีแรงหนุนจากน้ำมันอากาศยานยั่งยืน (SAF) ตัดขาดทุน 33 บาท • CBG* (85): ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง และการสร้างโรงงานที่พม่าบวกต่อการแย่งส่วนแบ่งการตลาด ตัดขาดทุน 70 บาท • BTG (21) : คาดกำไร 4Q67F เพิ่มขึ้นทั้ง qoq และ yoy จากต้นทุนการผลิตที่ปรับลดลง ส่งผลให้อัตรากำไรยังปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ตัดขาดทุน 17.50 บาท • HANA* (28): ราคาต่ำสุดในรอบ 3 ปี และลดลง 50% จาก high ปี 2567 แม้ consensus คาดกำไร -15% YoY แต่ FCF yield ในระดับ 15-17% สูงเป็นลำดับต้นๆของหุ้นไทย ขณะที่ซื้อขายเพียง 14x PER และ 0.74x PBV ตัดขาดทุน 23 บาท
ประเด็นที่น่าสนใจ
- "ทรัมป์" ขู่คว่ำบาตรรัสเซียครั้งใหม่ หากไม่บรรลุข้อตกลงยุติสงครามยูเครน - เที่ยวตรุษจีน สะพัด 4 หมื่นล้าน นักท่องเที่ยวจีนแรงไม่ตกคาดทั้งปี 8 ล้านคน - กสทช. ไฟเขียวเกณฑ์ให้ทุนสื่อ หนุนผลิตคอนเทนต์คุณภาพสูง ดัน Soft Power - ก.ล.ต. เตือนผู้ถือหุ้นกู้ JCK212A ใช้สิทธิประชุม 27 ม.ค. โหวตยืดหนี้-เพิ่มดอกเบี้ย - คลังจ่อชงกฎหมายไฟแนนเชียลฮับเข้าครม.ต้นเดือนกุมภาพันธ์ดันไทยเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค เปิดกว้างดึง 8 ธุรกิจการเงิน ให้สิทธิประโยชน์มากกว่ากฎหมาย EEC - บทวิเคราะห์วันนี้ : IRPC แนะนำ ซื้อ เป้า 1.50 บาท/ LH แนะนำ ถือ เป้า 5.40 บาท/ SPRC แนะนำ ซื้อ เป้า 9.00 บาท/ ERW แนะนำ ซื้อ เป้า 4.60 บาท
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
23 ม.ค. – JP Balance of Trade (Dec)/ รายงานตัวเลขการส่งออกไทย (Dec)