SINGER : Case Study ทำตามระบบก็รอดแล้ววันนี้วงการหุ้นไทย เกิดดราม่าระหว่างกูรูวัยกลางคน กับกูรูรุ่นใหญ่ ออกมาฉะคารมกันอย่างเมามัน
แต่ ถ้าเรามองข้ามดราม่าไป มาลองดูกราฟเฉยๆ แล้วเรียนรู้พฤติกรรมราคาของมัน น่าจะมีประโยชน์ไปเสพดราม่าเยอะ
เอาง่ายๆ ตามหลักการที่ผมดูนะ คือ ถ้าหุ้นหรือสินทรัพย์ใดๆ เป็นขาขึ้นในภาพใหญ่ มันจะมีสองเงื่อนไขนี้
1) ราคาจะต้องวิ่งอยู่เหนือ EMA18 Timeframe Weekly
2) ระบบ Trend Following ต่างๆ จะเขียว เช่น ระบบ MACD ตัดศูนย์ขึ้นมา
และระบบจะเสียทรงขาขึ้นใหญ่ก็ต่อเมื่อ
1) ราคากลับมาปิดแท่งสัปดาห์ต่ำกว่า EMA18 Weekly
2) เสียโครงสร้างในภาพใหญ่ เช่น ปิดแท่งสัปดาห์ต่ำกว่า Low ก่อนหน้าที่เราเห็นชัดๆ
3) ระบบ Trend Following ต่างๆ จะแดง เช่น ระบบ MACD ตัดศูนย์ลงไป
ถ้าเรามีหลักใหญ่ๆ แค่นี้ เราก็จะพบว่า ... หุ้น Singer มันกลับตัวเป็นขาขึ้นมาตั้งแต่ราวๆ พ.ค. 2020
และหลังจากนั้น มันก็ขึ้นมาตลอด จนมาเสียทรงขาขึ้นช่วง 4 ก.ค. 2022 ที่ผ่านมา
โดยการขึ้นรอบนี้ ถ้าเราเข้าตามระบบ ก็จะได้กำไรไปราวๆ 343% ของ Position ที่เราได้เข้าไว้นั่นเอง
แต่ก็นั่นแหละ ในชีวิตจริง ตอนที่กราฟเริ่มขึ้น ระบบเขียว คนก็มักจะไม่เชื่อว่ามันจะขึ้นจริง ( และบางทีสำหรับหุ้นไทย เราก็ไม่รู้ด้วยว่า พี่เขาจะมาลากตัวนี้จริงๆ หรือเปล่า )
กว่าจะรู้ตัวว่ามันขึ้น ก็โน่น แถวๆ ยอดกันไปแล้ว ตอนสื่อลงหนักๆ เพื่อนฝูงออกมาอวดกำไร กูรูเชียร์กันเยอะๆ นั่นแหละ
แล้วคนส่วนใหญ่ก็จะแห่ไปเข้าแถวๆ ยอดนั่นเอง..
ปัญหาของคนที่เข้าช้า ก็สุดแสนจะคลาสสิค ใช้ได้กับทุกตลาด นั่นก็คือ
พอกราฟเริ่มลง ระบบแดง คนก็มักจะไม่เชื่อว่ามันจะลงจริง ไปมองแค่ว่า เดี๋ยวมันก็แค่ย่อ แล้วก็ไปต่อ เหมือนทุกที ที่ผ่านมาน่ะแหละ
สุดท้ายก็ใช้ท่า "ไม่ขายไม่ขาดทุน" "ถือยาวเพราะเงินเย็น" "แค่ย่อเดี๋ยวก็ไปต่อ" ฯลฯ
แล้วก็อย่างที่เห็น... ถัวกันจนลงมาถึงก้น ใครใช้ margin ก็เละเทะ เรียบร้อย ตามระเบียบ
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า... ตลาด มันโหดร้าย การไปซื้อตอนที่สิ่งใดๆ ขึ้นมานานๆ แล้ว และคนกาวๆ กันเยอะๆ เชียร์กันเยอะๆ อวดกำไรกันเยอะๆ.. มันจะเป็นจุดที่เสียเปรียบเสมอ
ก็เก็บเรื่องนี้กันไว้เตือนใจกันนะครับ สำหรับคนที่โดน .. ส่วนคนที่ไม่โดน ก็เก็บเคสกันไว้เตือนใจเช่นกัน