Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขาดปัจจัยบวก
บรรยากาศการซื้อขายหลักทรัพย์ยังคงซบเซา ตลาดขาดปัจจัยบวกที่จะมาขับเคลื่อน แต่สัญญาณ Bullish Divergence ถือเป็นสัญญาณทางเทคนิคัลที่แสดงถึงปลายตลาดขาลง ดัชนีตลาดปิดที่ 1,537.78 จุด เพิ่ม 0.15 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.9 หมื่นล้านบาท ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดีที่ 29 ตลาดปิดในแดนบวกขานรับการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดไว้ที่ 0.00 – 0.25 เปอร์เซ็นต์ และคงนโยบายซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆ หลังดัชนีปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,530 จุด เกิดแท่งเทียนเป็น Harami ขาลงเป็นครั้งที่สองในเขตขายมากเกิน สัญญาณ DMI แสดงถึงการปรับตัวลง ขณะที่สัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ยอดที่สอง (กรณีที่เกิดยอดที่สามควรเข้าซื้อ) ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนียืนปิดเหนือแนวต้านของเส้น MMA2 ที่ 1,580 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,530 จุด และกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,529 จุด การนับคลื่นปรับ (Collective wave) จะต้องนับใหม่ เนื่องจากคลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping (ใช้ราคาปิดเป็นตัววิเคราะห์)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ สัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ยอดที่สอง กรณีที่เกิดยอดที่สามจะเป็นสัญญาณซื้อ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,547 – 1,558 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,529 – 1,519 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และในกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,535 จุด ควรปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดเพิ่มอีก 10 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "oscillator"
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
โควิดยังกดดันตลาด
ตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันจากยอดการติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กูรูคาดยอดการติดเชื้อโควิดในช่วง 4 – 6 สัปดาห์ข้างหน้าจะลดลงจากการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น ดัชนีตลาดปิดที่ 1,537.63 จุด ลดลง 7.47 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ติดตามสัญญาณ Bullish Divergence นักลงทุนต่างชาติเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธที่ 28 ดัชนีดาวโจนส์และแอสแอนด์พี 500 ปรับลดลง ขณะที่ดัชนีแนสแดคปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังเฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.00 – 0.25 เปอร์เซ็นต์ และเฟดยังคงมาตรการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้างในทางลง (Sideways down) ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,530 จุด สัญญาณ DMI แสดงถึงการปรับตัวลง ขณะที่สัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ยอดที่สอง (กรณีที่เกิดยอดที่สามควรเข้าซื้อ) สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก และภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนียืนปิดเหนือแนวต้านของเส้น MMA2 ที่ 1,574 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,530 จุด และกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,529 จุด การนับคลื่นปรับ (Collective wave) จะต้องนับใหม่ เนื่องจากคลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping (ใช้ราคาปิดเป็นตัววิเคราะห์)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับท่เป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง อย่างไรก็ดี ในภาวะตลาดหมี (Bear Market) การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI อาจเป็นแบบสามยอด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,547 – 1,558 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,529 – 1,519 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และในกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,535 จุด ควรปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดเพิ่มอีก 10 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ติดตามสัญญาณบวก
บรรยากาศการซื้อขายชะลอตัว เนื่องจากตลาดถูกกดดันจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดใกล้แตะ 20 เปอร์เซ็นต์ (เข็มแรก) ดัชนีตลาดปิดที่ 1,545.10 จุด ลดลง 7.26 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.95 หมื่นล้านบาท สถาบันภายในประเทศและนักลงทุนทั่วไปเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม ตลาดปิดบวกในกรอบแคบๆ หลังตัวเลขยอดขายบ้านต่ำกว่าประมาณการ ขณะที่นักลงทุนเฝ้าติดตามผลประกอบการของบริษัทขนาดใหญ่ที่จะประกาศผลประกอบการในสัปดาห์นี้ รวมถึงนโยบายอัตราดอกเบี้ยของเฟด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,530 จุด สัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก และภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนียืนปิดเหนือแนวต้านของเส้น MMA2 ที่ 1,574 จุด (จากเดิม 1,580 จุด)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,530 จุด และกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,529 จุด การนับคลื่นปรับ (Collective wave) จะต้องนับใหม่ เนื่องจากคลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping (ใช้ราคาปิดเป็นตัววิเคราะห์)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ Modified Stochastic กลับท่เป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง อย่างไรก็ดี ในภาวะตลาดหมี (Bear Market) การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI อาจเป็นแบบสามยอด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,556 – 1,565 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,537 – 1,529 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และในกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,535 จุด ควรปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดเพิ่มอีก 10 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับฐาน
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์และอิเลคโทรนิค หนุนดัชนีปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,552.36 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลขัดแย้งกัน ทำให้ดัชนีตลาดระยะอยู่ในช่วงปรับฐาน สถาบันในประเทศกลับมาเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม ตลาดแกว่งตัวแคบๆแรงซื้อเริ่มชะลอตัวเนื่องจากผิดหวังตัวเลขการว่างงานที่สูงกว่าที่คาด นักลงทุนยังเฝ้าติดตามผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,557 – 1571 จุด โดยมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,573 – 1,574 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,530 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Harami ขาลง ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง สัญญาณ DMI เริ่มแสดงทิศทางปรับตัวลง สอดคล้องกับดัชนีตลาดที่สร้างสูงยกลงต่ำ (Lower High) ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,530 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,535 จุด และกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,529 จุด การนับคลื่นปรับ (Collective wave) จะต้องนับใหม่ เนื่องจากคลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ Modified Stochastic แลพ MACD เป็นลบ ขณะที่สัญญาณ RSI กลับมาเป็นบวก สัญญาณทางเทคนิคัลที่ขัดแย้งกัน จะทำให้ดัชนีแกว่งตัวออกด้านข้างแบบไร้ทิศทางเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,563 – 1,574 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,543 – 1,532 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และในกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,535 จุด ควรปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดเพิ่มอีก 10 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
เงินบาทอ่อนสร้างแรงกดดัน
ตลาดแกว่งตัวแคบๆแรงซื้อเริ่มกลับเข้ามา ขณะที่ตัวเลขการติดเชื้อโควิด-19 ปรับสูงขึ้น มาตรการล็อคดาวน์ทำให้นักลงทุนบางส่วนผวาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ ดัชนีตลาดปิดที่ 1,540.88 จุด เพิ่มขึ้น 2.02 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.36 หมื่น 7.36 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันพุธที่ 21 ตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากวันก่อน สัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐ กระตุ้นนักลงทุนเข้าซื้อหุ้นเกี่ยวกับการเดินทาง ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนออกมาสดใส
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,529 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Harami ขาลงในเขตขายมากเกิน สัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI แสดงถึงช่วงปลายตลาดขาลง สัญญาณ DMI เริ่มแสดงทิศทางปรับตัวลง สอดคล้องกับดัชนีตลาดที่สร้างสูงยกลงต่ำ (Lower High) เส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,574 – 1,575 จุด ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีปรับตัวขึ้นยืนปิดเหนือ 1,580 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,535 จุด และกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,529 จุด การนับคลื่นปรับ (Collective wave) จะต้องนับใหม่ เนื่องจากคลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,529 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,549 – 1,558 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,530 – 1,519 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และในกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,535 จุด ควรปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดเพิ่มอีก 10 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับฐานรอปัจจัยชี้นำ
แนวโน้มการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น สร้างความวิตกว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบ ต่างชาติและกองทุนเทขายหุ้นต่อเนื่อง ดัชนีตลาดปิดที่ 1,538.86 จุด ลดลง 17.15 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.29 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,529 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคารที่ 20 กรกฎาคม ตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นจากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นที่เกี่ยวข้องการเดินทางและพลังงาน หลังจากราคาทรุดตัวในวันก่อน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ หลังดัชนีทรุดตัวลงแบบมีช่องว่างขาลง (Low Price Gapping Play) ที่ 1,557 – 1,571 จุด ซึ่งจากนี้ไปจะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน โดยมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,576 จุด สัญญาณ DMI เริ่มแสดงทิศทางปรับตัวลง ดัชนีระยะสั้นจึงมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,538 จุด และ 1,529 จุด ตามลำดับ สัญญาณทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นบวกเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดเหนือ 1,580 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,535 จุด และกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,529 จุด การนับคลื่นปรับ (Collective wave) จะต้องนับใหม่ เนื่องจากคลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,529 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,549 – 1,558 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,530 – 1,519 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และในกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,535 จุด ควรปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดเพิ่มอีก 10 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
โควิดเดลต้าขย่มตลาดหุ้นไทย
ตัวเลขการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อ อาจนำไปสู่มาตรการล็อคดาวน์เต็มรูปแบบ อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศ นักลงทุนต่างนำหุ้นออกเทขาย ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,556.01 จุด ลดลง 18.36 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.67 หมื่นล้านบาท นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นลบทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,535 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม ตลาดทรุดลงแรงตามแรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นขนาดใหญ่ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น สร้างความวิตกให้กับนักลงทุนที่วิตกว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและทรุดตัวลงแบบมีช่องว่างขาลง (Low Price Gapping Play) ที่ 1,557 – 1,571 จุด ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นต้าน โดยมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,576 – 1,577 จุด สัญญาณ DMI เริ่มแสดงทิศทางปรับตัวลง และมีจุดต่ำเก่าทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,535 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นบวกเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดเหนือ 1,580 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,535 จุด และกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,529 จุด การนับคลื่นปรับ (Collective wave) จะต้องนับใหม่ เนื่องจากคลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ Modified Stochastic เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นบวก แต่ระยะกลาง - ระยะยาวเป็นลบ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,563 – 1,574 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,549 – 1,540 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และในกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,535 จุด ควรปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสดเพิ่มอีก 10 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,576 จุด
การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ขยายตัว บวกกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศ ล้วนเป็นปัจจัยคุกคามต่อบรรยากาศการลงทุน ดัชนีตลาดปิดที่ 1,574.37 จุด เพิ่มขึ้น 2.36 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ที่ 16 ตลาดปรับตัวลดลงจากแรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี สวนทางกับตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใส
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่างขาลง (Low Price Gapping Play) ที่ 1,563 – 1,576 จุด โดยมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,578 – 1,581 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก (สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อ) ดัชนีตลาดจะยืนยันการเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,600 จุด และในกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,561 จุด ดัชนีตลาดจะพักตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,535 จุด
สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape ถือเป็นสัญญาณซื้อเพื่อเก็งกำไรที่ดี
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,535 จุด และกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,529 จุด การนับคลื่นปรับ (Collective wave) จะต้องนับใหม่ เนื่องจากคลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก (สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape เหมาะที่จะซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น) ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะยาวยังขาดทิศทาง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,585 – 1,594 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,563 – 1,554 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ลุ้นยืน 1,582 จุด
บรรยากาศการซื้อขายหุ้นไทยเป็นไปแบบไร้ทิศทาง หุ้นกลุ่มนำตลาดเผชิญทั้งแรงซื้อและแรงขาย ดัชนีตลาดปิดที่ 1,572.01 จุด เพิ่มขึ้น 2.31 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.3 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก และจะยืนยันทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,600 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันพฤหัสบดี 15 ปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดลง นโยบายอัตราดอกเบี้ยและวงเงินซื้อคืนพันธบัตรของเฟดยังไม่เปลี่ยนแปลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Low Price Gapping Play) ที่ 1,563 – 1,576 จุด โดยมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,579 – 1,582 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก (สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อ) ดัชนีตลาดจะยืนยันการเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,600 จุด และในกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,576 จุด ดัชนีตลาดจะพักตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,535 จุด
สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape ถือเป็นสัญญาณซื้อเพื่อเก็งกำไรที่ดี
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,540 จุด และกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,529 จุด การนับคลื่นปรับ (Collective wave) จะต้องนับใหม่ เนื่องจากคลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก (สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape เหมาะที่จะซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น) ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะยาวยังขาดทิศทาง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,580 – 1,587 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,563 – 1,555 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับฐานรอสัญญาณบวก
บรรยากาศการซื้อขายหุ้นไทยเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง แรงซื้อกับแรงขายสลับออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ดัชนีตลาดปิดที่ 1,569.70 จุด ลดลง 1.29 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.25 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธที่ 14 กรกฎาคม ปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง ตลาดเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย แม้ประธานเฟดจะส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยและคงวงเงินที่จะซื้อพันธบัตร แม้ตัวเลขเงินเฟ้อจะขยายตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Low Price Gapping Play) ที่ 1,563 – 1,576 จุด โดยมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,579 – 1,582 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก (สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อ) ดัชนีตลาดจะยืนยันการเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,600 จุด และในกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,576 จุด ดัชนีตลาดจะพักตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,535 จุด
สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape ถือเป็นสัญญาณซื้อเพื่อเก็งกำไรที่ดี
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,540 จุด และกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,529 จุด การนับคลื่นปรับ (Collective wave) จะต้องนับใหม่ เนื่องจากคลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก (สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape เหมาะที่จะซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น) ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะยาวยังขาดทิศทาง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,578 – 1,587 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,561 – 1,552 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขาดปัจจัยบวก
บรรยากาศการลงทุนในช่วงต้นสัปดาห์ ตลาดขาดปัจจัยบวกที่จะกระตุ้นนักลงทุนให้กลับเข้าตลาด การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และการล็อคดาวน์บางจังหวัด กดดันให้ดัชนีตลาดปิดที่ 1,549.84 จุด ลดลง 2.25 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน แรงซื้อเก็งกำไรจะหุ้นดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน นักลงทุนทั่วไปยังเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม ตลาดปิดในแดนบวกจากมุมมองว่าผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนจะสดใส แต่นักลงทุนยังเฝ้าติดตามตัวเลขเงินเฟ้อและถ้อยแถลงประธานเฟดต่อสภาคองเกรสในสัปดาห์นี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Low Price Gapping Play) ที่ 1,576 – 1,563 จุด ซึ่งเป็นสัญญาณลงต่อเนื่อง (Continuation pattern) ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับอยู่ที่ 1,529 จุด และ 1,510 จุด ตามลำดับ ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน ดัชนีมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,579 – 1,583 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,600 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,540 จุด และกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,529 จุด การนับคลื่นปรับ (Collective wave) จะต้องนับใหม่ เนื่องจากคลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,558 – 1,567 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,540 – 1,529 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,565 จุด ควรปรับพอร์ตลงอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้พอร์ตลงทุนเหลือ 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อถือเงินสดเพิ่ม
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ผวาล็อกดาวน์
การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19ในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้มีการประเมินว่ารัฐบาลอาจต้องประกาศล็อคดาวน์ประเทศ สร้างความตื่นตระหนกให้กับตลาด นักลงทุนต่างนำหุ้นออกเทขาย ฉุดดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,543.67 จุด ลดลง 32.93 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.1 แสนล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,565 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม ตลาดปรับตัวลดลงติดลบ ตลาดกังวลว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ บวกกับตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการสูงกว่าที่คาด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงแบบมีช่องว่าง (Low Price Gapping Play) ที่ 1,576 – 1,563 จุด ดัชนีปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,540 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวทำหน้าที่เป็นแนวต้าน ระยะสั้นก่อนที่จะปรับตัวลงต่อ ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,529 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,540 จุด และกรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,529 จุด การนับคลื่นปรับ (Collective wave) จะต้องนับใหม่ เนื่องจากคลื่น (iv) ซ้อนทับกับคลื่น (i) ไม่เป็นไปตามหลักการ Overlapping
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,529 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,553 – 1,563 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,529 – 1,510 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,565 จุด ควรปรับพอร์ตลงอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้พอร์ตลงทุนเหลือ 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อถือเงินสดเพิ่ม
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ข่าวเก็บภาษีซื้อขายหุ้นทุบตลาด
ข่าวการเก็บภาษีซื้อขายหุ้นจากนักลงทุนรายย่อย สร้างแรงกดดันในทางลบต่อบรรยากาศการลงทุน ดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,576.60 จุด ลดลง 14.83 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.2 หมื่นล้านบาท (ก่อนหน้านี้มูลค่าการซื้อขายลดลงต่ำกว่า 7 หมื่นล้านบาท)
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธที่ 7 กรกฎาคม ตลาดปิดในแดนบวกหลังธนาคารกลางสหรัฐฯออกมายอมรับว่าอัตราเงินเฟ้อมาเร็วกว่าที่คาด ทำให้เฟดอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเข้าซื้อพันธบัตร ซึ่งจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลุดแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางที่ 1,592 จุด ซึ่งจากนี้ไปจะทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมกับเส้น MMA2 สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างในทิศทางลง (Sideways down) ดัชนีตลาดมีแนวรับอยู่ที่ 1,565 จุด และ 1,550 จุด ตามลำดับ ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,600 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น (iv) และจะยืนยันการจบคลื่นปรับที่ 1,565 จุด เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นยืนปิดเหนือ 1,600 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (v) โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,673 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic เริ่มกลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,585 – 1,594 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,565 – 1,555 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนหุ้นอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
บรรยากาศซบเซา
ดัชนีตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยบวก ปัญหาการฉีดวัคซีนที่ไม่เป็นไปตามกำหนดสร้างความกังวลให้กับตลาด ดัชนีตลาดปิดที่ 1,591.43 จุด เพิ่มขึ้น 12.15 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 6.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคารที่ 6 กรกฎาคม ดัชนีดาวโจนส์และแนสแดคปรับตัวลดลงจากแรงขายทำกำไรระยะสั้นหลังดัชนีปรับตัวขึ้นมาก แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีหนุนดัชนีแนสแดคปรับตัวขึ้นทำจุดสูงตลอดกาลที่ 14,687 จุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลาง โดยมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,592 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสแกว่งตัวออกด้านข้าง สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก และจะยืนการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,600 จุด ดัชนีตลาดมีแนวรับอยู่ที่ 1,565 จุด และ 1,550 จุด ตามลำดับ ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น (iv) และจะยืนยันการจบคลื่นปรับที่ 1,565 จุด เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (v) โดยมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,673 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก (สัญญาณ Modified Stochastic เกิดรูปแบบ W-shape ถือเป็นสัญญาณซื้อที่ดี) ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะยาวยังขาดทิศทาง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,600 – 1,610 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,580 – 1,572 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนหุ้นอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
บรรยากาศการซื้อขายซบเซา
บรรยากาศการซื้อขายหุ้นในวันจันทร์เป็นไปอย่างซบเซา แรงซื้อที่มีเข้ามาหนุนดัชนีตลาดปิดบวกที่ 1,579.28 จุด เพิ่มขึ้น 3.79 จุด มูลค่าลดลงเหลือ 5.8 หมื่น สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับฐาน นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการซื้อขายวันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม เพื่อชดเชยวันชาติสหรัฐฯวันที่ 4 กรกฎาคม
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,564 จุด โดยมีแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาขึ้นอยู่ที่ 1,590 จุด เส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,583 – 1,592 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มแกว่งตัวออกด้านข้าง ดัชนีตลาดมีแนวรับอยู่ที่ 1,565 จุด และ 1,550 จุด ตามลำดับ ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น (iv) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,550 จุด ดัชนีตลาดไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่า 1,547 จุด ตามหลักการ Overlapping คลื่น (iv) จะไม่ซ้อนทับกับคลื่น (i)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,565 จุด แรงซื้อเก็งกำไรจะหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นสลับกับการพักตัว (กรณีที่สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อ จะมีรูปแบบ W-shape ซึ่งถือเป็นสัญญาณซื้อที่ดี)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,583 – 1,597 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,569 – 1,559 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนหุ้นอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
โควิดกดดันตลาด
ยอดติดเชื้อโควิดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างความกังวลให้กับนักลงทุน นักลงทุนบางส่วนนำหุ้นออกขายเพื่อถือเงินสดลดความเสี่ยง ดัชนีตลาดปิดที่ 1,578.49 จุด ลดลง 15.26 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,565 จุด แรงซื้อเก็งกำไรจะหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล เป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ที่ 2/7 ตลาดปิดในแดนบวก ขานรับตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่ง และเฟดยังคงอัตราดอเบี้ยต่ำแม้ตัวเลขเงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลุดแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางที่ 1,585 จุด ซึ่งจากนี้ไปจะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน เส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,583 – 1,593 จุด สัญญาณ DMI ยังขาดทิศทางที่ชัดเจน ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,565 จุด และ 1,550 จุด ตามลำดับ ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,600 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Collective wave) คลื่น (iv) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,550 จุด ดัชนีตลาดไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่า 1,547 จุด ตามหลักการ Overlapping คลื่น (iv) จะไม่ซ้อนทับกับคลื่น (i)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,565 จุด แรงซื้อเก็งกำไรจะหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นสลับกับการพักตัว
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,587 – 1,597 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,569 – 1,559 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนหุ้นอยู่ที่ 60 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
พักตัวเพื่อรอสัญญาณ
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง ตลาดขาดปัจจัยบวกที่จะกระตุ้นแรงซื้อ ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังเป็นปัจจัยลบที่คอยกดดันตลาดหุ้นไทย ดัชนีตลาดปิดที่ 1,593.75 จุด เพิ่มขึ้น 5.96 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.1 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นบวกเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,600 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดีที่ 1/7 ตลาดปิดในแดนบวกขานรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ บวกกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟดยังคงอยู่
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,583 จุด โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,583 จุด และมีจุดต่ำเก่าทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,565จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,600 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,642 จุด กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,605 จุด ดัชนีตลาดจะพักตัวอยู่ช่วงคลื่นปรับ (Collective wave) จากคลื่น (iii) พักตัวลงเป็นคลื่น (iv) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,568 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นลบ ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน (สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป V-shape)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,603 – 1,613 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,584 – 1,572 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตการลงทุนหุ้นเหลือ 60 เปอร์เซ็นต์
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แกว่งแบบไร้ทิศทาง
บรรยากาศการซื้อขายหลักทรัพย์ยังเป็นไปแบบไร้ทิศทาง หุ้นกลุ่มนำตลาดมีทั้งซื้อและขาย ดัชนีตลาดปิดที่ 1,587.79 จุด ลดลง 3.64 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.3 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเกิดสัญญาณในเขตขายมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน ต่างชาติเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทประจำวันพุธดี 30/6 ปิดตลาดมีทั้งบวกและลบ ดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 ปิดบวกเล็กน้อย ขณะที่แนสแดคปรับตัวลดลง นักลงทุนเฝ้าติดตามตัวเลขการจ้างงานที่จะประกาศในวันศุกร์นี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงและมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,583 จุด โดยมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางเป็นแนวรับร่วมอยู่ที่ 1,583 จุด และมีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,565 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างแบบไร้ทิศทาง กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,565 จุด ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวลง ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,642 จุด กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,605 จุด ดัชนีตลาดจะพักตัวอยู่ช่วงคลื่นปรับ (Collective wave) จากคลื่น (iii) พักตัวลงเป็นคลื่น (iv) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,568 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,597 – 1,606 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,579 – 1,570 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตการลงทุนหุ้นเหลือ 60 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,605 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ชะลอดูทิศทาง
บรรยากาศการซื้อขายหุ้นไทยส่งท้ายสัปดาห์ยังไร้ทิศทาง การติดเชื้อโควิด การเมืองและการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังเป็นปัจจัยกดดันการลงทุน ดัชนีตลาดปิดที่ 1,582.67 จุด ลดลง 3.55 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.8 หมื่นล้านบาท ต่างชาติและนักลงทุนทั่วไปเป็นฝ่ายขายสุทธิ ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ที่ 25/6 ดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 ปิดตลาดในแดนบวก ขณะที่ดัชนีปิดตลาดในแดนลบ นักลงทุนมีมุมมองในทางบวกต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังการฉีดวัคซีน แม้ตลาดจะถูกคุกคามด้วยตัวเลขเงินเฟ้อ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางที่ 1,575 จุด และมีจุดต่ำเก่าทำหน้าที่เป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,569 จุด และมีเส้น MMA2 ทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,596 จุด สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวลง หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,569 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,642 จุด กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,605 จุด ดัชนีตลาดจะพักตัวอยู่ช่วงคลื่นปรับ (Collective wave) จากคลื่น (iii) พักตัวลงเป็นคลื่น (iv) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,568 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ สัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,592 – 1,601 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,572 – 1,562 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตการลงทุนหุ้นเหลือ 60 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,605 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ไม่ควรหลุด 1,573 จุด
บรรยากาศการซื้อขายหุ้นไทยวันพฤหัสฯยังเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง แรงขายที่มีออกมาในกลุ่มนำตลาดกดดัชนีตลาดปรับตัวลดลง แม้ตัวเลขการผลิตและการส่งออกรถยนต์จะขยายตัว ดัชนีตลาดปิดที่ 1,585.72 จุด ลดลง 6.36 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.9 หมื่นล้านบาท ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 665 ล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,573 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดีที่ 24/6 ตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นขานรับข่าวทำเนียบขาวบรรลุข้อตกลงกับสภาคองเกรสในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานในสหรัฐฯ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,582 จุด และมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางเป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,573 จุด ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางเป็นตลาดขาลงหากดัชนีไม่สามารถยืนปิดเหนือแนวรับนี้ได้ สัญญาณ DMI เริ่มมีสัญญาณของการปรับตัวลง ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,642 จุด กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,605 จุด ดัชนีตลาดจะพักตัวอยู่ช่วงคลื่นปรับ (Collective wave) จากคลื่น (iii) พักตัวลงเป็นคลื่น (iv) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,568 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ สัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรระยะสั้น หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน (สัญญาณซื้อของ Modified Stochastic ที่ดีควรมีรูปเป็น W-shape) ดัชนีตลาดระยะสั้นยังมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,573 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,595 – 1,605 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,576 – 1,568 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตการลงทุนหุ้นเหลือ 60 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,605 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
โควิด การเมือง จีดีพี กดดันตลาดหุ้น
ดัชนีตลาดหุ้นไทยถูกรุมเร้าด้วยปัจจัยลบรอบด้าน จากการแพร่ระบาดของโควิด แบงก์ชาติปรับลดจีดีพีลงเหลือ 1.8 เปอร์เซ็นต์ และการเคลื่อนไหวทางการเมือง ฉุดดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,592.08 จุด ลดลง 7.15 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.8 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลแสดงว่าดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,573 จุด ภาวะขายมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปรับฐาน
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันวันพุธที่ 23/6 ดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวลดลง ขณะที่แนสแดคปิดตลาดในแดนบวก ตลาดยังกังวลถึงต้นทุนการผลิตและตัวเลขเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้น แม้ประธานเฟดจะยืนยันว่าจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพราะตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่สอง หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่าง (Filling the gap) ขาลงที่ 1,601 – 1,612 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่ 1,598 – 1,582 จุด และมีเส้นแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,573 จุด ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวลงระยะกลางหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือแนวรับนี้ได้ สัญญาณ DMI ขาดทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวออกด้านข้างแบบไร้ทิศทาง (Trendless)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,642 จุด กรณีที่ดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,605 จุด ดัชนีตลาดจะพักตัวอยู่ช่วงคลื่นปรับ (Collective wave) จากคลื่น (iii) พักตัวลงเป็นคลื่น (iv) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,568 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,582 – 1,573 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้ามา ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลสลับกับการปรับตัวลง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,602 – 1,610 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,582 – 1,573 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตการลงทุนหุ้นเหลือ 60 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,605 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity