Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แรงซื้อเริ่มกลับเข้าตลาด
แรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน สื่อสารและแบงก์ หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยกลับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ดัชนีตลาดปิดที่ 1,654.92 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 8.24 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,670 จุด ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวัน 7 (เล็กน้อย 32 ล้านบาท) ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขึ้นเล็กน้อย ท่ามกลางข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐที่เริ่มผ่อนคลาย
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ สัปดาห์นี้หากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท/วัน อย่างต่อเนื่อง จะเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,590 จุด และดัชนีจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่เป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 1,800 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่างที่ 1,639 – 1,649 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง และตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลง และเป็นการพักตัวลงเป็นช่องว่างขาขึ้น (Filling the gap) สัญญาณทางเทคนิคัลที่เป็นบวกจะทำให้ดัชนีตลาดที่พักตัวลงปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,670 จุด
ดัชนีตลาดเริ่มสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low) เป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดกำลังเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,670 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,660 – 1,669 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,647 – 1,640 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ช่วงที่ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,610 จุด
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "oscillator"
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,650 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นปิโตเลียม หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยดีดตัวขึ้นปิดที่ 1,639.14 จุด เพิ่มขึ้น 22.21 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.96 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,650 จุด ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐเริ่มเดินไปในทางบวก หลังจีนงดตอบโต้การขึ้นภาษีของทรัมป์
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดในแดนบวก แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวเป็นแนวรับ หลังดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,610 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,642 – 1,650 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม
ดัชนีตลาดจะมีสัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกและเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้น เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นยืนปิดเหนือ 1,650 จุด และมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นและต่อเนื่อง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) และตัวลงทดสอบแนวรับของจุดต่ำของคลื่น iv) หลักการของปรับตัวลงสามารถลงลึกได้ถึงจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับคลื่น (ii) ที่ 1,590 จุด เมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,650 จุด และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 6 หมื่นล้านบาทอย่างต่อเนื่อง (อาจใช้จุดนี้เป็นจุด Buy Stop)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,650 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,646 – 1,653 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,522 – 1,508 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ช่วงที่ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,610 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
1,600 จุดแนวรับทางจิตวิทยา
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวออกด้านข้างแบบไร้ทิศทาง ตลาดขาดปัจจัยบวกที่จะหนุนตลาด แรงขายที่มีออกมากดดัชนีตลาดปิดที่ 1,616.93 จุด เพิ่มขึ้น 1.46 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 4.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับฐาน ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ตลาดได้รับแรงขับเคลื่อนจากหุ้นกลุ่มพลังงาน ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงจาก Inverted Yield Curve
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆหลังปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง ดัชนีตลาดแกว่งตัวเหนือแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Morning Doji Star และตามด้วย Hammer ดัชนีตลาดมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,650 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม
กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI จะทำให้สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) และตัวลงทดสอบแนวรับของจุดต่ำของคลื่น iv) หลักการของปรับตัวลงสามารถลงลึกได้ถึงจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับคลื่น (ii) ที่ 1,590 จุด เมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low) และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 6 หมื่นล้านบาทอย่างต่อเนื่อง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางพักตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,059 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,622 – 1,628 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,609 – 1,604 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,610 – 1,600 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวรับ 1,600 จุด
แรงขายที่มีออกมาฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงเป็นการเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดปิดที่ 1,615.47 จุด ลดลง 7.26 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.96 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง หลังผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐระยะสั้นสูงกว่าระยะยาว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำเกิดแท่งเทียนเป็น Bearish Candlestick หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด โดยดัชนีตลาดมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement อยู่ที่ 1,650 จุด และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านถัดไป
ตามหลักการของ Granville เมื่อดัชนีปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA แรงขายระยะสั้นจะทำให้ดัชนีตลาดพักตัวลง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) และตัวลงทดสอบแนวรับของจุดต่ำของคลื่น iv) หลักการของปรับตัวลงสามารถลงลึกได้ถึงจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับคลื่น (ii) ที่ 1,590 จุด เมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low) และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 6 หมื่นล้านบาทอย่างต่อเนื่อง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางพักตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,059 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,620 – 1,625 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,609 – 1,604 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,610 – 1,600 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แกว่งตัวในกรอบ 1,610 – 1,640 จุด
สงครามการค้าที่ส่อเค้าบานปลายในช่วงปลายสัปดาห์ ทำให้เกิดการตื่นขายหุ้นออกมาในช่วงเช้าก่อนที่จะมีแรงซื้อกลับเข้ามาในช่วงท้ายตลาด ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,622.73 จุด ลดลง 23.95 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.47 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กฟื้นตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังทรัมป์เผยการเจรจาการค้ากับจีนดำเนินไปในทางบวก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงจากพิษสงครามการค้า หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,642 – 1,650 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงทดสอบแนวรับที่ 1,609 จุด และมีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,590 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลที่เป็นบวกจะทำให้ดัชนีตลาดปรับขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,635 จุด
ตามหลักการของ Granville เมื่อดัชนีปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA แรงขายระยะสั้นจะทำให้ดัชนีตลาดพักตัวลง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) และตัวลงทดสอบแนวรับของจุดต่ำของคลื่น iv) หลักการของปรับตัวลงสามารถลงลึกได้ถึงจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับคลื่น (ii) ที่ 1,590 จุด เมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low) และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 6 หมื่นล้านบาทอย่างต่อเนื่อง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน โดยสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อเป็นรูป W-shape ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,630 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,628 – 1,635 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,616 – 1,610 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,610 – 1,600 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แรงกดดันจากสงครามการค้า
แรงซื้อที่มีเข้ามาในช่วงปลายสัปดาห์ หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดส่งท้ายสัปดาห์ที่ 1,646.68 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 15.28 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 5.79 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,642 – 1,650 จุด ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กดิ่งลงหลังจีนเปิดฉากทำสงครามการกับสหรัฐรอบใหม่เพื่อตอบโต้สหรัฐ ข้อพิพาททางการค้าจะส่งผลเชิงลบต่อตลาดหุ้นไทยช่วงต้นสัปดาห์
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) และตัวลงทดสอบแนวรับของจุดต่ำของคลื่น iv) หลักการของปรับตัวลงสามารถลงลึกได้ถึงจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับคลื่น (ii) ที่ 1,590 จุด เมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low) และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 6 หมื่นล้านบาทอย่างต่อเนื่อง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นทดสอบกรอบบนของช่องว่างขาลงที่ 1,650 จุด ซึ่งมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement เป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,650 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เป็นแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,667 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก แต่ระยะยาวยังขาดทิศทาง
ตามหลักการของ Granville เมื่อดัชนีปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA แรงขายระยะสั้นจะทำให้ดัชนีตลาดพักตัวลง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน โดยสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อเป็นรูป W-shape ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,650 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,657 – 1,664 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,640 – 1,633 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต รอจังหวะเพิ่มพอร์ตการลงทุนเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แกว่งตัวในกรอบ 1,620 – 1,642 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นไทยผันผวนในกรอบแคบๆ แรงขายที่มีออกมากดดัชนีตลาดปิดที่ 1,633.56 จุด ลดลง 4.68 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.69 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,642 – 1,650 จุด ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ 3.2 พันล้านบาท ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง นักลงทุนเฝ้ารอดูสัญญาณดอกเบี้ยจากเฟดในช่วงปลายสัปดาห์นี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่าง (Filling the gap) ขาลงที่ 1,642 – 1,650 จุด โดยมีแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,650 จุดเป็นแนวต้านร่วม เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) จะทำหน้าที่เป็นแนวต้านถัดไป
ตามหลักการของ Granville เมื่อดัชนีปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA แรงขายระยะสั้นจะทำให้ดัชนีตลาดพักตัวลง
ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสเกิดการปรับในสามลักษณะ คือ
1. ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,608 จุด จากนั้นดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นด้วยมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดสร้างจุดยกสูง
2. ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด ตลาดเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Double Bottom ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
3. ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่าแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด
จากกราฟรายวัน จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) และตัวลงทดสอบแนวรับของจุดต่ำของคลื่น iv) หลักการของปรับตัวลงสามารถลงลึกได้ถึงจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน โดยสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อเป็นรูป W-shape ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,642 – 1,650 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,640 – 1,647 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,628 – 1,622 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,642 – 1,650 จุด
แรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ส่งผลให้บรรยากาศการซื้อขายกลับมาคึกคัก ดัชนีตลาดปิดที่ 1,638.24 จุด เพิ่มขึ้น 12.67 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.68 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,642 – 1,650 จุด ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิครั้งแรกในรอบ 8 วัน ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวก ขานรับผลประกอบการไตรมาสสองของหุ้นกลุ่มค้าปลีกที่สดใส
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดกำลังแกว่งตัวเข้าหาช่องว่าง (Filling the gap) ขาลงที่ 1,642 – 1,650 จุด โดยมีแนวต้าน 1,650 จุด ซึ่งเป็นแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement เป็นแนวต้านร่วม และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เป็นแนวต้านถัดไป
ตามหลักการของ Granville เมื่อดัชนีปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA แรงขายระยะสั้นจะทำให้ดัชนีตลาดพักตัวลง
ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสเกิดการปรับในสามลักษณะ คือ
1. ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,608 จุด จากนั้นดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นด้วยมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดสร้างจุดยกสูง
2. ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด ตลาดเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Double Bottom ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
3. ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่าแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) และตัวลงทดสอบแนวรับของจุดต่ำของคลื่น iv) หลักการของปรับตัวลงสามารถลงลึกได้ถึงจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน โดยสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อเป็นรูป W-shape ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,642 – 1,650 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,642 – 1,650 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,632 – 1,620 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
พักตัวลง
แรงขายทำไรที่มีออกมาฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาปิดที่ 1,625.57 จุด ลดลง 11.69 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.68 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวกแต่ระยะยาวเป็นลบ ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับฐาน ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสที่จะเกิด 3 แนวทาง ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลงจากแรงขายทำกำไรระยะสั้น นักลงทุนเฝ้าติดตามสัญญาณดอกเบี้ยจากในช่วงปลายสัปดาห์นี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ หลังดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดช่องว่าง (Filling the gap) ขาลงที่ 1,642 – 1,650 จุด ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสเกิดการปรับในสามลักษณะ คือ
1. ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,608 จุด จากนั้นดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นด้วยมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดสร้างจุดยกสูง
2. ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด ตลาดเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Double Bottom ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
3. ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่าแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) และตัวลงทดสอบแนวรับของจุดต่ำของคลื่น iv) หลักการของปรับตัวลงสามารถลงลึกได้ถึงจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน โดยสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อเป็นรูป W-shape ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,632 – 1,637 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,620 – 1,612 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตการลงทุนเหลือ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,642 – 1,650 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นไทยกลับมาปิดในแดนบวก หลังตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ดัชนีตลาดปิดที่ 1,637.26 จุด เพิ่มขึ้น 5.86 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.78 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,642 – 1,650 จุด ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฟื้นตัว ตลาดกำลังติดสัญญาณลดดอกเบี้ยของเฟดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดช่องว่าง (Filling the gap) ขาลงที่ 1,642 – 1,650 จุด หลังดัชนีตลาดดิ่งลงไปทำจุดต่ำที่ 1,590 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Morning Doji Star ร่วมกับการเกิดสัญญาณขายมาก สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางแกว่งตัวขึ้นก่อนที่จะพักตัวลง
จากหลักการของ Granville ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะเผชิญแรงขายและดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเพื่อปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) และตัวลงทดสอบแนวรับของจุดต่ำของคลื่น iv) หลักการของปรับตัวลงสามารถลงลึกได้ถึงจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน โดยสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อเป็นรูป W-shape ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทดสอบช่องว่างขาลงที่ 1,642 – 1,650 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,643 – 1,650 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,631 – 1,625 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตการลงทุนเหลือ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ถือเงินสดเพิ่ม 20 เปอร์เซ็นต์ช่วงที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น เนื่องการเกิด Inverted Yield Curve
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขึ้นเพื่อปรับฐาน
แรงซื้อที่กลับเข้ามาหนุนดัชนีตลาดปลายสัปดาห์ปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,631.40 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวลดลง 19.24 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 7.56 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,642 – 1,650 จุด ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับมาฟื้นตัวหลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรขยับเพิ่มขึ้น ท่ามกลางข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) และตัวลงทดสอบแนวรับของจุดต่ำของคลื่น iv) หลักการของปรับตัวลงสามารถลงลึกได้ถึงจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงทดสอบแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,590 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก แท่งเทียนเกิดเป็น Morning Doji Star ในเขตขายมากเกิน ระยะสั้นดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวขึ้นปิดช่องว่าง (Filling the gap) ขาลงที่ 1,642 – 1,650 จุด โดยมีเส้น MMA2 เป็นแนวต้านร่วม
จากหลักการของ Granville ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะเผชิญแรงขายและดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเพื่อปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน โดยสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อเป็นรูป W-shape ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทดสอบช่องว่างขาลงที่ 1,642 – 1,650 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,640 – 1,650 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,620 – 1,615 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตการลงทุนเหลือ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ถือเงินสดเพิ่ม 20 เปอร์เซ็นต์ช่วงที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น เนื่องการเกิด Inverted Yield Curve
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Spinning Bottom
สัญญาณเศรษฐกิจโลกถดถอย กดดันให้นักลงทุนนำหุ้นออกเทขาย ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงปิดที่ 1,604.03 จุด ลดลง 15.42 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1 แสนล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน แรงซื้อที่กลับเข้าเก็งกำไร จะหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเป็นวันที่ 4 (ยอดขายสุทธิ 1.19 หมื่นล้านบาท) ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง สัญญาณเศรษฐกิจถดถอย จะเป็นแรงกดดันต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงทดสอบแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Spinning Bottom ในเขตขายมากเกิน กราฟแท่งเทียนสะท้อนถึงการต่อสู้ระหว่างแรงซื้อกับแรงขายที่มีพละกำลังพอๆกัน ราคาปิดของวันถัดไปจะบ่งบอกถึงทิศทางดัชนีตลาดที่จะเกิดตามมา หากดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงต่อ แต่ถ้าดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง ดัชนีตลาดระยะสั้นจะปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล เข้าหาแนวต้านที่ 1,620 จุด
ดัชนีตลาดปรับตัวลดลง ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD Histogram เกิดจุดต่ำใหม่ แสดงว่าดัชนีตลาดตลาดยังมีแนวโน้มปรับตัวลง สัญญาณปลายตลาดขาลงจะเกิดเมื่อสัญญาณ RSI เกิดเป็น Bullish Divergence
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่น (ii) เนื่องจากคลื่น (ii) สามารถปรับลดลงลึก 61.8% Fibonacci Retracement หรือลึกใกล้จุดเริ่มต้นของคลื่น (i) แต่คลื่น (ii) ต้องปรับตัวลงไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,613 – 1,620 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,596 – 1,590 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตการลงทุนเหลือ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต ถือเงินสดเพิ่ม 20 เปอร์เซ็นต์ช่วงที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น เนื่องการเกิด Inverted Yield Curve
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตลาดหุ้นผวาสัญญาณเศรษฐกิจถดถอย
นักลงทุนตื่นนำหุ้นออกเทขาย หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี ต่ำกว่า 2 ปี ส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับลดลง 3 เปอร์เซ็นต์ คาดผลกระทบทางจิตวิทยาจะกดดันตลาดหุ้นไทยในวันนี้ เมื่อวานดัชนีตลาดปิดที่ 1,619.45 จุด ลดลง 0.78 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.1 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบและเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเมื่อดัชนีตลาดหลุดแนวรับของช่องแนวโน้มขาขึ้น ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สาม
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดช่องว่าง (Filling the gap) ขาลงที่ 1,642 – 1,650 จุด แรงขายที่มีออกมาในช่วงท้ายตลาดฉุดดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,599 จุด โดยมีแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุดเป็นแนวรับร่วม และมีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,546 จุด
ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง
จากกราฟรายวัน จากการที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,672 จุด ทำให้ต้องปรับการนับคลื่นเอลเลียตใหม่ เนื่องจากหลักการกำหนดว่าคลื่น iv) ต้องไม่ซ้อนทับกับคลื่น i) ที่ 1,672 จุด และในกรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงแรงลงมาทำจุดต่ำที่ 1,620 จุด ตามหลักการที่คลื่น (ii) สามารถปรับตัวลงใกล้จุดเริ่มต้นของคลื่น (i) ที่ 1,546 จุด แต่ต้องไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น (i)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,627 – 1,635 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,612 – 1,605 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
นักเก็งกำไรระยะสั้นควรรอให้สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape แต่นักลงทุนที่ซื้อขายเป็นรอบ ควรรอสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แนวรับถัดไป 1,600 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังคงถูกกดดันทั้งจากปัจจัยภายในและนอกประเทศ แรงเทขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง ฉุดดัชนีตลาดดิ่งลงปิดที่ 1,620.23 จุด ลดลง 30.41 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐานอยู่ในกรอบ 1,600 – 1,620 จุด ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ตลาดหุ้นนิวยอร์กดีดตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังสหรัฐเลื่อนการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนจากวันที่ 1 กันยายน เป็น 15 ธันวาคม
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงหลุดแนวรับของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางที่ 1,628 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Long Bearish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,632 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,599 จุด ซึ่งเป็นแนวรับใกล้กับแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,600 จุด และมีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,546 จุด
ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร จะหนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง
จากกราฟรายวัน จากการที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,672 จุด ทำให้ต้องปรับการนับคลื่นเอลเลียตใหม่ เนื่องจากหลักการกำหนดว่าคลื่น iv) ต้องไม่ซ้อนทับกับคลื่น i) ที่ 1,672 จุด และในกรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงแรงลงมาทำจุดต่ำที่ 1,620 จุด ตามหลักการที่คลื่น (ii) สามารถปรับตัวลงใกล้จุดเริ่มต้นของคลื่น (i) ที่ 1,546 จุด แต่ต้องไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น (i)
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,632 – 1,642 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,612 – 1,600 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
นักเก็งกำไรระยะสั้นควรรอให้สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape แต่นักลงทุนที่ซื้อขายเป็นรอบ ควรรอสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับฐาน
เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวบวกความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ กดดันให้นักลงทุนนำหุ้นออกเทขาย ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,650.64 จุด ลดลง 14.48 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง บรรยากาศการซื้อขายถูกกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงจากคลื่น iii) ลงเป็นคลื่น iv) ตามหลักการ Overlapping คลื่น iv) จะไม่ซ้อนทับกับคลื่น i) ดังนั้น คลื่น iv) ไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่ากว่า 1,672 จุด ซึ่งเป็นจุดปิดของคลื่น i) ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐานก่อนที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น v) หรือคลื่น (iii),v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
การที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,672 จุด ทำให้รูปแบบของคลื่นเอลเลียตที่เกิดผิดปกติ
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเพื่อปิดช่องว่าง (Filling the gap) เป็นการปิดแบบ Incomplete ดัชนีกำลังปรับลดลงเข้าหาเป้าหมาย 261.8% Fibonacci Projection ที่ 1,650 จุด หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือแนวรับนี้ได้ ดัชนีตลาดจะปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของกรอบล่างของช่องแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,628 จุด
ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI ปรับตัวเข้าสู่เขตขายมากเกิน ซึ่งจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,660 – 1,666 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,643 – 1,637 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
นักเก็งกำไรระยะสั้นควรรอให้สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape แต่นักลงทุนที่ซื้อขายเป็นรอบ ควรรอสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แกว่งตัวอยู่ในกรอบ 1,662 – 1,683 จุด
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มปตท.และธนาคารพาณิชย์ ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,662.12 จุด ลดลง 4.32 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.26 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ระยะสั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 1,662 – 1,683 จุด ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับมาปิดในแดนบวก หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเริ่มนิ่ง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลังดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,674 จุด แต่ไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มปรับตัวเข้าหาเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ซึ่งเป็นไปตามหลักการของ Granville และมีกึ่งกลางลำตัวของ Bullish Candlestick เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,662 จุด
ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐานหรือแกว่งตัวออกด้านข้างภายในกรอบ 1,662 – 1,683 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงจากคลื่น iii) ลงเป็นคลื่น iv) ตามหลักการ Overlapping คลื่น iv) จะไม่ซ้อนทับกับคลื่น i) ดังนั้น คลื่น iv) ไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่ากว่า 1,672 จุด ซึ่งเป็นจุดปิดของคลื่น i) ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐานก่อนที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น v) หรือคลื่น (iii),v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
ข้อสังเกต การที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,672 จุด ทำให้รูปแบบของคลื่นเอลเลียตมีความเสี่ยงทางเทคนิคัล
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน แรงซื้อที่กลับเข้าเก็งกำไรหนุนให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่ระยะกลาง - ระยะยาวยังขาดทิศทาง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,670 – 1,675 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,660 – 1,653 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
นักเก็งกำไรระยะสั้นควรรอให้สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape แต่นักลงทุนที่ซื้อขายเป็นรอบ ควรรอสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แกว่งตัวอยู่ในกรอบ 1,662 – 1,683 จุด
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์หลังกนง.ปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25 เปอร์เซ็นต์ ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยลงมาปิดที่ 1,669.44 จุด (ระหว่างการซื้อขายดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,681 จุด) ปรับลดลง 2.04 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.43 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน แรงซื้อเก็งกำไรที่กลับเข้าจะหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 1,662 – 1,683 จุด ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบกรอบล่างของช่องว่างที่ 1,683 จุด โดยมีช่องแนวโน้มขาลงระยะสั้นเป็นแนวต้านร่วม แรงขายทำกำไรระยะสั้น ฉุดดัชนีตลาดหลุดแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,673 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Spinning Bottom สะท้อนถึงการต่อสู้ระหว่างแรงซื้อกับแรงขาย กึ่งกลางลำตัวของ Bullish Candlestick ทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,662 จุด
ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐานหรือแกว่งตัวออกด้านข้างภายในกรอบ 1,662 – 1,683 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงจากคลื่น iii) ลงเป็นคลื่น iv) ตามหลักการ Overlapping คลื่น iv) จะไม่ซ้อนทับกับคลื่น i) ดังนั้น คลื่น iv) ไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่ากว่า 1,672 จุด ซึ่งเป็นจุดปิดของคลื่น i) ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐานก่อนที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น v) หรือคลื่น (iii),v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
ข้อสังเกต การที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,672 จุด ทำให้รูปแบบของคลื่นเอลเลียตมีความเสี่ยงทางเทคนิคัล
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน แรงซื้อที่กลับเข้าเก็งกำไรหนุนให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่ระยะกลาง - ระยะยาวยังขาดทิศทาง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,675 – 1,681 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,664 – 1,657 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
นักเก็งกำไรระยะสั้นควรรอให้สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape แต่นักลงทุนที่ซื้อขายเป็นรอบ ควรรอสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,683 จุด
แรงซื้อที่กลับเข้ามาหลังดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงทดสอบแนวรับที่ 1,650 จุด หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,671.48 จุด เพิ่มขึ้น 5.49 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร ดัชนีตลาดสัปดาห์นี้มีแนวโน้มแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 1,662 – 1,683 จุด ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังนักลงทุนคลายความวิตกสงครามค่าเงินหยวน หลังค่าเงินหยวนกลับมาแข็งค่า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นหลังดัชนีตลาดทรุดตัวลงทดสอบเป้าหมาย 261.8% Fibonacci Projection ที่ 1,650 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Piercing pattern ในเขตขายมากเกิน แรงซื้อกลับเข้ามาหนุนดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,683 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดจะพักตัวลงเพื่อปรับฐาน ช่องว่างบริเวณ 1,683 – 1,693 จุดจะทำหน้าที่เป็นแนวต้าน และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วม กึ่งกลางลำตัวของ Bullish Candlestick จะทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,662 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงจากคลื่น iii) ลงเป็นคลื่น iv) ตามหลักการ Overlapping คลื่น iv) จะไม่ซ้อนทับกับคลื่น i) ดังนั้น คลื่น iv) ไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่ากว่า 1,672 จุด ซึ่งเป็นจุดปิดของคลื่น i) ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐานก่อนที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น v) หรือคลื่น (iii),v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
ข้อสังเกต การที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,672 จุด ทำให้รูปแบบของคลื่นเอลเลียตมีความเสี่ยงทางเทคนิคัล
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic และ RSI ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน ซึ่งจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรหนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเข้าหาแนวต้านที่ 1,680 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,679 – 1,684 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,666 – 1,657 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
นักเก็งกำไรระยะสั้นควรรอให้สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape แต่นักลงทุนที่ซื้อขายเป็นรอบ ควรรอสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวรับ 1,650 จุด
ตลาดหุ้นทั่วโลกตื่นนำหุ้นออกเทขาย หลังจีนปรับลดค่าเงินหยวนเพื่อตอบโต้ทรัมป์ที่ประกาศรีดภาษีสินค้านำเข้าจากจีนรอบใหม่ นักลงทุนผวาสงครามการค้าจะทวีความรุนแรง ดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,665.99 จุด ลดลง 18.72 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.8 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มนำขายสุทธิ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาเป้าหมายที่ 1,650 จุด และมีแนวรับของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางอยู่ที่ 1,624 จุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,656 จุด หลังจากปรับตัวขึ้นระหว่างการซื้อขายขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,683 จุดแต่ไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้ แท่งเทียนเป็น Bearish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวเป็นแนวต้านเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น ดัชนีตลาดมีเป้าหมาย 261.8% Fibonacci Projection เป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,650 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้ามา หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลง
ตลาดมีแนวรับของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะกลางอยู่ที่ 1,624 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงจากคลื่น iii) ลงเป็นคลื่น iv) ตามหลักการ Overlapping คลื่น iv) จะไม่ซ้อนทับกับคลื่น i) ดังนั้น คลื่น iv) ไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่ากว่า 1,672 จุด ซึ่งเป็นจุดปิดของคลื่น i) ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐานก่อนที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น v) หรือคลื่น (iii),v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
ข้อสังเกต การที่ดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,672 จุด ทำให้รูปแบบของคลื่นเอลเลียตมีความเสี่ยงทางเทคนิคัล
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดมีการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลงต่อหรือปรับฐานต่อไม่อีกระยะหนึ่ง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,672 – 1,681 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,656 – 1,650 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
นักเก็งกำไรระยะสั้นควรรอให้สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape แต่นักลงทุนที่ซื้อขายเป็นรอบ ควรรอสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวรับ 1,672 จุด
สงครามการค้าและปัญหาในประเทศกดดันดัชนีตลาดหุ้นไทยให้เกิดการตื่นขาย ดัชนีตลาดปิดส่งท้านสัปดาห์ที่ 1,684.71 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับลดลง 33.26 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 6.07 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน แรงซื้อที่กลับเข้ามาจะหนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,672 จุด ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับลดลง หลังทรัมป์ขู่รีดภาษีสินค้านำเข้าจากจีนรอบใหม่
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงจากคลื่น iii) ลงเป็นคลื่น iv) ตามหลักการ Overlapping คลื่น iv) จะไม่ซ้อนทับกับคลื่น i) ดังนั้น คลื่น iv) ไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่ากว่า 1,672 จุด ซึ่งเป็นจุดปิดของคลื่น i) ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐานก่อนที่จะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่น v) หรือคลื่น (iii),v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,673 จุด แรงซื้อที่มีเข้ามาในช่วงท้ายหนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่างที่ 1,683 – 1,693 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเพื่อปิดช่องว่าง (Filling the gap) ก่อนที่จะปรับตัวลงต่อหรือปรับฐานออกไปอีกระยะหนึ่ง โดยดัชนีตลาดมีแนวรับ 61.8 % Fibonacci Retracement ที่ 1,656 จุดเป็นแนวรับถัดไป
นักเก็งกำไรระยะสั้นควรรอให้สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape แต่นักลงทุนที่ซื้อขายเป็นรอบ ควรรอสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน (สัญญาณ Modified Stochastic จะเกิดสัญญาณซื้อระยะสั้น ควรเกิดรูปแบบ W-shape) ดัชนีตลาดระยะสั้นยังอยู่ในช่วงปรับฐานสลับกับการปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,691 – 1,699 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,673 – 1,670 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
นักเก็งกำไรระยะสั้นควรรอให้สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape แต่นักลงทุนที่ซื้อขายเป็นรอบ ควรรอสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สงครามการค้ารอบใหม่
ดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงตามทิศทางตลาดหุ้นนิวยอร์ก หลังเฟดส่งสัญญาณจะไม่ลดดอกเบี้ยในปีนี้อีก สร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุน แรงเทขายที่มีออกมาในตลาดหุ้น ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,699.75 จุด ลดลง 12.22 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.46 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน ซึ่งจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,683 – 1,693 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลงแรงต่อเนื่องเป็นวันที่สอง หลังทรัมป์ขู่ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ มูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์ เริ่ม 1 กันยายน นี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,699 จุด และปรับลงไปทำจุดต่ำที่ 1,694 จุด ระยะสั้นหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,696 จุด ดัชนีตลาดจะปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของช่องว่างขาขึ้นที่ 1,683 – 1,693 จุด
การปรับตัวลดลงสร้างจุดต่ำใหม่ของ MACD Histogram แสดงว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวลง ภาวะขายมากเกินซึ่งจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้ามา และหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐานต่อไปอีกระยะหนึ่ง
สำหรับนักลงทุนที่ซื้อขายทำกำไรเป็นรอบ ควรกลับเข้าซื้อหุ้นคืนเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงจากคลื่น iii) ลงเป็นคลื่น iv) โดยดัชนีตลาดแกว่งตัวออกด้านข้างภายในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1,716 – 1,748 จุด และมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,706 จุด และ 1,696 จุด ตามลำดับ ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น v) หรือคลื่น (iii),v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ สัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,705 – 1,711 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,693 – 1,687 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
สัญญาณทางเทคนิคัลทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นลบในเขตขายมากเกิน ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน และกลับเข้าซื้อหุ้นคืนสำหรับนักลงทุนที่ขายทำกำไรเป็นรอบออกไป เมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตลาดหุ้นนิวยอร์กดิ่ง
สถาบันในประเทศกลับมาเป็นเรือธงซื้อสุทธิในตลาดหุ้น หนุนให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,711.97 จุด เพิ่มขึ้น 5.48 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน แรงซื้อที่กลับเข้ามาจะหนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ระยะสั้นดัชนีตลาดอาจพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,696 จุด สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลงหลังเฟดส่งสัญญาณว่ายังไม่ใช่ดอกเบี้ยขาลง แม้เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25 เปอร์เซ็นต์
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลุดแนวรับที่ 1,714 จุด และเคลื่อนตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลง โดยมีแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement เป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,696 จุดเป็นแนวรับร่วม ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
สำหรับนักลงทุนที่ซื้อขายทำกำไรเป็นรอบ ควรกลับเข้าซื้อหุ้นคืนเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงจากคลื่น iii) ลงเป็นคลื่น iv) โดยดัชนีตลาดแกว่งตัวออกด้านข้างภายในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1,716 – 1,748 จุด และมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,706 จุด และ 1,696 จุด ตามลำดับ ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น v) หรือคลื่น (iii),v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ สัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,718 – 1,725 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,704 – 1,700 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
สัญญาณทางเทคนิคัลทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นลบในเขตขายมากเกิน ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน และกลับเข้าซื้อหุ้นคืนสำหรับนักลงทุนที่ขายทำกำไรเป็นรอบออกไป เมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวรับ 1,696 จุด
นโยบายค่าโดยสารรถไฟ ผลประกอบการไตรมาสสองและปัจจัยภายนอก กดดันให้เกิดแรงขายออกมาในหุ้น ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,706.46 จุด ลดลง 11.48 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.56 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,696 จุด สลับกับแรงซื้อที่มีเข้ามาเป็นระยะ ต่างชาติซื้อสุทธิเล็กน้อย ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง หลังมีสัญญาณว่าการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอาจไม่คืบหน้า ขณะที่ยอดขายบ้านรอโอนและความเชื่อมั่นผู้บริโภคดีเกินคาด นักลงทุนติดตามการปรับลดดอกเบี้ยของเฟด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลุดแนวรับที่ 1,714 จุด และเคลื่อนตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลง ดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,706 จุด และมีแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement เป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,696 จุด ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน
สำหรับนักลงทุนที่ซื้อขายทำกำไรเป็นรอบ ควรกลับเข้าซื้อเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงพักตัวลงจากคลื่น iii) ลงเป็นคลื่น iv) โดยดัชนีตลาดแกว่งตัวออกด้านข้างภายในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1,716 – 1,748 จุด และมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,706 จุด และ 1,696 จุด ตามลำดับ ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น v) หรือคลื่น (iii),v) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,820 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ สัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกิน จะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,711 – 1,718 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,700 – 1,693 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คงระดับพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
สัญญาณทางเทคนิคัลทางเทคนิคัลจะกลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน และกลับเข้าซื้อหุ้นคืนสำหรับนักลงทุนที่ขายทำกำไรเป็นรอบออกไป เมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI