Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สัญญาณซื้อรูป W-shape
แรงขายที่มีออกมาทั้งสัปดาห์ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,605.96 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับลดลง 37.80 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยลดลงเหลือวันละ 4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน สัญญาณ Modified Stochastic มีแนวโน้มจะเกิดสัญญาณซื้อรูปแบบ W-shape นักลงทุนทั่วไปยังเป็นกลุ่มที่ซื้อสุทธิต่อเนื่อง ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐที่แข็งแกร่ง หนุนตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดแกว่งตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่จุดต่ำเก่าเป็นเป้าหมายอยู่ที่ 1,590 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับและปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ดังนั้น ดัชนีตลาดจากนี้ไปไม่ปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,620 จุด
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,748 จุด+/-
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำและปรับตัวลงต่ำกว่าแนวรับที่ 1,609 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด ปริมาณการซื้อขายลดลง ทำให้ดัชนีตลาดที่ปรับตัวลงมีโอกาสเกิดเทคนิคัลรีบาวน์ โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน
สัญญาณ Modified Stochastic มีแนวโน้มที่จะเกิดสัญญาณซื้อเพื่อเก็งกำไรรูป W-shape โดยมีเป้าหมายทำกำไรระยะสั้นอยู่ที่ 1,635 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ สัญญาณ Modified Stochastic จะเกิดสัญญาณซื้อที่ดีควรเป็นรูป W-shape
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,610 – 1,615 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,600 – 1,595 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "oscillator"
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
รอปัจจัยชี้นำ
แรงซื้อที่กลับเข้ามาในช่วงบ่าย หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยกลับขึ้นมาปิดที่ 1,610.69 จุด ลดลง 2.95 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 3.78 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน สถาบันภายในประเทศและต่างชาติเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับมาปิดในแดนบวก ด้วยความหวังว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยลงอีกครั้ง หลังตัวเลขภาคบริการไม่สดใส
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,608 จุด และมีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,590 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวต้านต้าน ดัชนีตลาดกำลังเคลื่อนตัวเข้าหาแนวปลายยอดของสามเหลี่ยม
ตามหลักการของ Granville เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ดัชนีตลาดมีโอกาสที่จะพักตัวลง และจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,650 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่ 1,620 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง (ดังนั้น ดัชนีตลาดจากนี้ไปไม่ปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,620 จุด) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii)
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,764 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ สัญญาณ Modified Stochastic จะเกิดสัญญาณซื้อที่ดีควรเป็นรูป W-shape
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,615 – 1,620 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,606 – 1,600 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตลาดหุ้นทั่วโลกผวาหลังทรัมป์สร้างวิบัติใหม่
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,613.64 จุด ลดลง 10.54 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 4.2 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,608 – 1,590 จุด นักลงทุนทั่วไปยังเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ นิวยอร์กดิ่งลงแรงหลังทรัมป์เปิดสงครามการค้ารอบใหม่กับอียู
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงหลุดแนวรับที่ 1,624 จุด และกำลังปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,608 จุด และ 1,590 จุด ตามลำดับ โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวต้านต้าน ดัชนีตลาดกำลังเคลื่อนตัวเข้าหาแนวปลายยอดของสามเหลี่ยม
ตามหลักการของ Granville เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ดัชนีตลาดมีโอกาสที่จะพักตัวลง และจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,657 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่ 1,620 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,657 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง (ดังนั้น ดัชนีตลาดจากนี้ไปไม่ปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,620 จุด) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii)
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,764 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ สัญญาณ Modified Stochastic จะเกิดสัญญาณซื้อที่ดีควรเป็นรูป W-shape
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,619 – 1,624 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,607 – 1,602 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
รอดูสัญญาณ Bullish Divergence
ข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว การไถ่ถอนทรัมป์ออกจากประธานาธิบดีสหรัฐ ตอกย้ำให้บรรยากาศการลงทุนซบเซา ดัชนีตลาดหุ้นไทยเผชิญแรงขายต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ฉุดดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,624.09 จุด ลดลง 13.13 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,608 จุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดิ่งลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) แต่ไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้ สัญญาณทางเทคนิคัลที่เป็นลบทำให้ดัชนีตลาดกำลังปรับตัวลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement เป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,624 จุด และมีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,608 จุด
ตามหลักการของ Granville เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ดัชนีตลาดมีโอกาสที่จะพักตัวลง และจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,657 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่ 1,620 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,657 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง (ดังนั้น ดัชนีตลาดจากนี้ไปไม่ปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,620 จุด) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii)
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,764 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ สัญญาณ Modified Stochastic จะเกิดสัญญาณซื้อที่ดีควรเป็นรูป W-shape
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,630 – 1,635 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,618 – 1,612 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับฐานเพื่อรอปัจจัยหนุน
สถาบันในประเทศและต่างชาตินำหุ้นออกขายหลังมีการทำราคาปิดประจำไตรมาส (Window Dressing) ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดที่ 1,637.22 จุด ลดลง 6.54 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 4.3 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ดัชนีตลาดปรับฐานเพื่อขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,650 จุด และจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,657 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทกลับมาปิดบวก หลังกระทรวงการคลังสหรัฐออกมาปฏิเสธการจำกัดเงินลงทุนในจีนและการถอดหุ้นจีนออกจากตลาดสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,635 จุด และมีแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement เป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,624 จุด ดัชนีตลาดพักตัวลงหลังปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ดัชนีตลาดจะยืนยันทิศทางการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,657 จุด
ตามหลักการของ Granville เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ดัชนีตลาดมีโอกาสที่จะพักตัวลง และจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,657 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่ 1,620 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,657 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง (ดังนั้น ดัชนีตลาดจากนี้ไปไม่ปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,620 จุด) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii)
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,764 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,650 จุด สัญญาณ Modified Stochastic จะเกิดสัญญาณซื้อที่ดีควรเป็นรูป W-shape
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,643 – 1,648 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,630 – 1,624 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทรัมป์ความเสี่ยงที่ต้องระวัง
แรงซื้อที่มีเข้ามาเพื่อทำราคาปิดประจำไตรมาส (Window Dressing) ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดส่งท้ายที่ 1,643.76 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.56 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงเหลือ 4.7 หมื่นล้านบาท ต่างชาติมีแนวโน้มขายสุทธิต่อเนื่อง แม้ค่าเงินบาทจะแข็งค่า ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,660 จุด ด้วยมูลค่าที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ขณะที่อารมณ์ของทรัมป์ที่ผันผวนจะยังเป็นตัวแปรที่กดดันเศรษฐกิจโลก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่ 1,620 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,660 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง (ดังนั้น ดัชนีตลาดจากนี้ไปไม่ปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,620 จุด) ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii)
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,764 จุด+/-
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 หลังดัชนีตลาดปรับตัวลดลงทดสอบแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,624 จุด ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ดัชนีตลาดจะยืนยันทิศทางการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,660 จุด
ตามหลักการของ Granville เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ดัชนีตลาดมีโอกาสที่จะพักตัวลง และจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,660 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,650 จุด สัญญาณ Modified Stochastic จะเกิดสัญญาณซื้อที่ดีควรเป็นรูป W-shape
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,650 – 1,657 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,636 – 1,630 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แกว่งตัว 1,625 – 1,660 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มสื่อสารและพลังงาน – สาธารณูปโภค หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,636.75 จุด เพิ่มขึ้น 8.37 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.68 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,650 จุด ต่างชาติมาซื้อสุทธิเล็กน้อย 318 ล้านบาท ความไม่แน่นอนในการเจรจาการค้ากับจีนและปัญหาการเมืองสหรัฐกดดันตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) ดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,635 จุด โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) และดัชนีตลาดจะยืนยันทิศทางการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,660 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
ตามหลักการของ Granville เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ดัชนีตลาดมีโอกาสที่จะพักตัวลง และจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,660 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,624 จุด หากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,590 จุด แสดงว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ขึ้นเป็นคลื่น iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,770 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,650 จุด สัญญาณ Modified Stochastic จะเกิดสัญญาณซื้อที่ดีควรเป็นรูป W-shape
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,640 – 1,646 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,630 – 1,624 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Harami ขาลง
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆและปิดลงที่ 1,628.38 จุด ลดลง 2.12 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.48 หมื่นล้านบาท แรงซื้อเริ่มกลับเข้ามาในหุ้นรายตัว สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อพักฐาน นักลงทุนทั่วไปและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก ขานรับการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐใกล้ข้อยุติ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,624 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Harami ขาลงในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน ดัชนีตลาดมีจุดต่ำเก่าทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,608 จุด ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน ดัชนีตลาดจะยืนยันทิศทางการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,660 จุด และมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นอย่างต่อเนื่อง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,624 จุด หากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,590 จุด แสดงว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ขึ้นเป็นคลื่น iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,770 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic เริ่มกลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,634 – 1,640 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,623 – 1,618 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
การเมืองสหรัฐกดดันตลาด
แรงซื้อเก็งกำไรกำไรที่มีเข้ามาหลังดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลง 4 วันต่อเนื่อง ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,630.50 จุด เพิ่มขึ้น 7.71 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.95 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน แรงซื้อเก็งกำไรหนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลก่อนที่จะปรับฐานตามมา นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ข่าวสภาสหรัฐยื่นถอดถอนทรัมป์และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกันยายนที่ลดลง กดดันตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลงปิดในแดนลบ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงทดสอบแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,624 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Harami ขาลงในเขตขายมาเกิน ภาวะขายมากเกินกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน ดัชนีตลาดมีจุดต่ำเก่าทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,608 จุด ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน ดัชนีตลาดจะยืนยันทิศทางการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,665 จุด และมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นอย่างต่อเนื่อง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,624 จุด หากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,590 จุด แสดงว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ขึ้นเป็นคลื่น iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,770 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,636 – 1,644 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,624 – 1,618 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ผวาการเจรจาการค้าไม่คืบหน้า
แรงเทขายที่มีอออกมาในหุ้นกลุ่มสื่อสารและธนาคารพาณิชย์ ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยทรุดตัวลงปิดที่ 1,622.79 จุด ลดลง 13.41 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.48 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปรับฐาน นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง นักลงทุนหวั่นการเจรจาการค้าไม่คืบหน้า หลังตัวแทนจีนยกเลิกการเยือนฟาร์มสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่าแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,624 จุด โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,608 จุดเป็นแนวรับถัดไป ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน ดัชนีตลาดจะยืนยันทิศทางการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,665 จุด และมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นอย่างต่อเนื่อง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,624 จุด หากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,590 จุด แสดงว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ขึ้นเป็นคลื่น iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,770 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับขึ้นเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,628 – 1,633 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,617 – 1,609 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
เจรจาการค้าสะดุด
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาดพลังงาน สื่อสารและแบงก์ ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,636.20 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับลดลง 25.76 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 6.47 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมากเกิน ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement ที่ 1,624 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตัวแทนการค้าจีนยกเลิกการเยือนฟาร์มสหรัฐ สะท้อนถึงการเจรจาการค้าไม่บรรลุข้อตกลง ส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,624 จุด หากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,590 จุด แสดงว่าดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) ขึ้นเป็นคลื่น iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,770 จุด+/-
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,635 จุด และมีแนวรับ 61.8% Fibonacci Retracement เป็นแนวรับถัดไปอยู่ที่ 1,624 จุด ภาวะขายมากเกินกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไรหนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน ดัชนีตลาดจะยืนยันทิศทางการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,665 จุด และมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นอย่างต่อเนื่อง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวลงเข้าเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล โดยดัชนีตลาดยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,624 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,641 – 1,647 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,630 – 1,624 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้น
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มปตท.และสื่อสาร ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,640.66 จุด ลดลง 13.48 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,635 – 1,624 จุด ตามลำดับ สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย นักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอดูผลการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงแรงหลังดัชนีตลาดหลุดแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับ 50.0% และ 61.8 Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,635 จุด และ 1,624 จุด ตามลำดับ และมีจุดต่ำเก่าทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,609 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลที่เป็นลบทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีความเสี่ยง
ชะลอการเข้าซื้อเพื่อรอดูสัญญาณ Bullish Divergence
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Divergence หลังดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องแนวโน้มที่ 1,684 – 1,699 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) และมีแนวรับ 50.0% Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,635 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,635 – 1,624 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,646 – 1,654 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,635 – 1,628 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
เฟดส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มปตท. ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,654.14 จุด ลดลง 9.79 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.45 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 – 1,640 จุด ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ลดดอกเบี้ยลง 0.25% หลังตัวเลขเศรษฐกิจและการส่งออกชะลอตัวผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงหลุดแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ดัชนีตลาดกำลังปรับตัวลงทดสอบแนวรับของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้น และมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,645 จุดเป็นแนวรับร่วม สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 – 1,640 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Divergence หลังดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องแนวโน้มที่ 1,684 – 1,699 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) และมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,645 จุด และมีช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นเป็นแนวรับร่วม
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 – 1,640 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,660 – 1,666 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,647 – 1,642 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ช่วงที่ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
รอปัจจัยชี้นำ
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้างต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ตลาดขาดปัจจัยใหม่ๆเข้ามาหนุนตลาด ดัชนีตลาดปิดที่ 1,663.93 จุด เพิ่มขึ้น 1.00 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.3 หมื่นล้านบาท ปัจจัยทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังการโจมตีแหล่งผลิตน้ำมันซาอุดิอาระเบียเริ่มผ่อนคลาย ราคาน้ำมันดิบที่ถีบตัวสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้างเหนือแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวลงเข้าหาแนวรับของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นที่ 1,650 จุด และมีช่องว่างขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,684 – 1,699 จุด ดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้น ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวขึ้นต่อเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,680 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Divergence หลังดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องแนวโน้มที่ 1,684 – 1,699 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) และมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,645 จุด และมีช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นเป็นแนวรับร่วม
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,668 – 1,673 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,658 – 1,654 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ช่วงที่ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แกว่งตัวลงเข้าหาแนวรับ 1,650 จุด
แรงขายที่มีออกมาในช่วงบ่ายกดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,662.93 จุด เพิ่มขึ้น 0.97 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.14 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 – 1,640 จุด ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 1,069 ล้านบาท ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง ท่ามกลางราคาน้ำมันดิบที่ถีบตัวสูงขึ้น หลังแหล่งผลิตซาอุดิอาระเบียโดนถล่มด้วยโดรน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) หลังดัชนีตลาดดีดตัวเข้าหาแนวต้านของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้น และมีแนวต้านที่เกิดจากช่องว่างขาลงเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,684 – 1,699 จุด ดัชนีตลาดระยะมีทิศทางพักตัวลงเข้าหาแนวรับของช่องแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,650 จุด โดยดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Divergence หลังดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องแนวโน้มที่ 1,684 – 1,699 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) และมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,645 จุด และมีช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นเป็นแนวรับร่วม
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 – 1,640 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,668 – 1,673 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,655 – 1,647 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ช่วงที่ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวรับ 1,650 จุด
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มสื่อสารและธนาคารพาณิชย์ ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงปิดที่ 1,661.96 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับลดลง 8.10 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 5.98 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้น - ระยะกลางเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 – 1,640 จุด ต่างชาติยังมีแนวโน้มขาสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง ตลาดผ่อนคลายจากความกังวลจากข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐไปในทางที่ดีขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์และรายวัน ดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท/วัน อย่างต่อเนื่อง จะเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,590 จุด และดัชนีจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่เป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 1,800 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่า 1,640 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Divergence หลังดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องแนวโน้มที่ 1,684 – 1,699 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) และมีแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement (1590/1679 จุด) ที่ 1,645 จุด และมีช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นเป็นแนวรับร่วม
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 – 1,640 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,667 – 1,673 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,655 – 1,647 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ช่วงที่ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
บรรยากาศการลงทุนเริ่มเป็นบวก
ตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับมาปิดในแดนบวก หลังจีนระงับการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐและสหรัฐเริ่มผ่อนคลายการคว่ำบาตรอิหร่าน คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยจะได้รับอานิสงส์ในทางบวก เมื่อวานดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,674.03 จุด เพิ่มขึ้น 8.10 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.12 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,684 จุด ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 1.4 พันล้านบาท
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เป็นแนวรับ แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มแบงก์และปิโตรเคมี หนุนดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,684 – 1,699 จุด มูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ โดยดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้นเพื่อทดสอบแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,700 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท/วัน อย่างต่อเนื่อง จะเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,590 จุด และดัชนีจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่เป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 1,800 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่า 1,640 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,680 – 1,687 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,669 – 1,663 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ช่วงที่ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงระหว่างการซื้อขาย
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
พักตัวลงเข้าหาแนวรับ 1,650 จุด
แรงขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องแม้จะมีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,665.93 จุด ลดลง 5.29 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.8 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีทิศทางพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด ต่างชาติเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและหุ้นฟอร์ดเป็นตัวฉุดตลาด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นที่ 1,679 จุด โดยมีช่องว่างขาลงที่ 1,684 – 1,699 จุดเป็นแนวต้านร่วม สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะกระตุ้นแรงขายออกมาฉุดดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,645 จุด (1590/1679)
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท/วัน อย่างต่อเนื่อง จะเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,590 จุด และดัชนีจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่เป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 1,800 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่า 1,640 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน แรงขายทำกำไรฉุดดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,670 – 1,677 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,660 – 1,655 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ช่วงที่ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
พักตัวเพื่อเดินหน้า
บรรยากาศการซื้อขายหุ้นไทยเริ่มชะลอตัว ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและปิดลงที่ 1,671.22 จุด เพิ่มขึ้น 1.16 จุด มูลค่าการซื้อขายชะลอตัวเหลือ 4.65 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิ ขณะที่สถาบันในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย การเจรจาข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐมีทิศทางที่เป็นบวกเพิ่มมากขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่ 1,666 จุด หลังดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นที่ 1,679 จุด โดยมีช่องว่างขาลงที่ 1,684 – 1,699 จุดเป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด ดัชนีตลาดระยะสั้นไม่ควรปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,640 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท/วัน อย่างต่อเนื่อง จะเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,590 จุด และดัชนีจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่เป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 1,800 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่า 1,640 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,676 – 1,682 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,666 – 1,660 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ช่วงที่ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
พักตัวเข้าหาแนวรับ 1,650 จุด
แรงขายที่มีออกมาในช่วงบ่ายวันศุกร์ฉุดดัชนีตลาดอ่อนตัวลง ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,670.06 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 15.14 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 5.7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ต่างชาติมีแนวโน้มขายสุทธิต่อเนื่อง ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง หลังประธานเฟดแจงเศรษฐกิจสหรัฐยังเติบโต ท่ามกลางตัวเลขการจ้างงานที่ชะลอตัวและข้อพิพาททางการค้ายังไร้ข้อยุติ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท/วัน อย่างต่อเนื่อง จะเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,590 จุด และดัชนีจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่เป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 1,800 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่า 1,640 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำหลังดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นที่ 1,680 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นแต่มูลค่าการซื้อขายลดลง ดัชนีตลาดที่ปรับตัวขึ้นจึงเป็นการปรับขึ้นเพื่อลง ดัชนีตลาดมีทิศทางพักตัวเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด และมีแนวรับที่เกิดจากช่องแนวโน้มขาขึ้นอยู่ที่ 1,640 จุด
ดัชนีตลาดจะเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น ดัชนีระยะสั้นไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่าแนวรับที่ 1,640 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายสัปดาห์ สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,675 – 1,684 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,663 – 1,658 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ช่วงที่ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
จีนและสหรัฐกลับเข้าโต๊ะเจรจาการค้า
ตลาดหุ้นกลับมาปิดในแดนบวกหลังจีนและสหรัฐตกลงกลับมาเจรจาการค้าในเดือนตุลาคม ดัชนีตลาดหุ้นไทยดีดตัวขึ้นปิดที่ 1,669.79 จุด เพิ่มขึ้น 11.15 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.98 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะกลาง - ยาวเป็นบวก ขณะที่สัญญาณระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นจะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะสั้น โดยดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น สถาบันภายในประเทศและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นฝ่ายซื้อสุทธิ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้น ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,670 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Hanging Man ในเขตซื้อมากเกิน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,680 จุด และมีช่องว่างขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,684 – 1,699 จุด
ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายทำกำไรออกมา จึงควรระวังดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ เพราะจะเป็นสัญญาณว่าดัชนีตลาดระยะสั้นจะปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 – 1,640 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท/วัน อย่างต่อเนื่อง จะเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,590 จุด และดัชนีจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่เป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 1,800 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่า 1,640 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ โดยดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้น - ระยะกลาง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,675 – 1,681 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,663 – 1,658 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ช่วงที่ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,650 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขานรับข่าวบวกจากฮ่องกง
ดัชนีตลาดหุ้นไทยดีดตัวขึ้นในช่วงบ่าย หลังผู้บริหารฮ่องกงแสดงท่าทีถอนกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,658.64 จุด เพิ่มขึ้น 16.39 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.47 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,670 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก ขานรับความเห็นของเฟดที่มองเศรษฐกิจสหรัฐในเชิงบวก ท่ามกลางข้อพิพาททางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐยังไร้ข้อยุติ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดช่องว่าง (Filling the gap) ที่ 1,639 – 1,647 จุด ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นไปตามช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นและมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 50.0% Fibonacci Retracement ที่ 1,670 จุด โดยมีช่องแนวโน้มขาขึ้นและช่องว่างในอดีตทำหน้าที่เป็นแนวต้านถัดไปอยู่ที่ 1,683 – 1,693 จุด ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายออกมาเป็นระยะส่งผลให้ดัชนีตลาดพักตัวก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท/วัน อย่างต่อเนื่อง จะเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,590 จุด และดัชนีจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่เป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 1,800 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่า 1,640 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะกระตุ้นแรงขายออกมาเป็นระยะ โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,670 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,664 – 1,670 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,652 – 1,647 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ช่วงที่ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,647 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะพักตัว
ตลาดเริ่มมากังวลผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ แรงขายทำกำไรระยะสั้นกดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,642.25 จุด ปรับลดลง 11.86 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.17 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะสั้น ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,630 จุด ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ มาตรการตอบโต้ภาษีทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ ส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนลบ และดัชนี PMI ของสหรัฐเดือนสิงหาคมลดลงต่ำกว่า 50 แสดงถึงภาคการผลิตสหรัฐเริ่มถดถอย
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ตามหลักการของ Granville และ Tasuki Gap ดัชนีตลาดจะปรับลดลงเพื่อปิดช่องว่าง (Filling the gap) ที่ 1,639 – 1,647 จุด โดยมีช่องแนวโน้มขาขึ้นระยะสั้นทำหน้าที่เป็นแนวรับที่ 1,630 จุด หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือแนวรับนี้ได้ ดัชนีตลาดจะพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,608 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด และมูลค่าการซื้อขายมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท/วัน อย่างต่อเนื่อง จะเป็นสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,590 จุด และดัชนีจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่เป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่ 1,800 จุด ระยะสั้นดัชนีตลาดไม่ควรปรับลดลงปิดต่ำกว่า 1,630 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก โดยสัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะกระตุ้นแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,647 – 1,652 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,636 – 1,630 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 70 เปอร์เซ็นต์ ช่วงที่ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,639 จุด