Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ตลาดสับสนสัญญาณภาษีของทรัมป์
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆและปิดลงที่ 1,626.20 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 4.08 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.5 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิกว่า 2 พันล้านบาท ตลาดนิวยอร์กปิดตลาดปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ดัชนีดาวโจนส์ไม่เปลี่ยนแปลง หลังทรัมป์แถลงการปิดดีลการค้ากับจีน แต่ไม่มีสัญญาณยกเลิกการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,619 จุด ระหว่างการซื้อขายดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,632 – 1,637 จุด ดัชนีตลาดยังมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,643 จุด ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวขึ้นต่อเมื่อดัชนีสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป โดยดัชนีตลาดมีแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาขึ้นเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,660 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดสามารถปิดยืนเหนือ 1,632 จุด (มูลค่าการซื้อขายต่ำกว่า 6 หมื่นล้านบาท) และเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Tower Bottom จึงเป็นเสมือนสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,579 จุด ดัชนีกำลังมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,905 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,631 – 1,637 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,620 – 1,616 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
รักษาระดับการลงทุนไว้ที่ 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "oscillator"
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
รอปัจจัยหนุน
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,622.12 จุด ปรับลดลง 15.73 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.75 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มมีสัญญาณลบ ทำให้ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับฐานเพื่อรอปัจจัยหนุน สถาบันภายในประเทศกลับมาเป็นฝ่ายขายสุทธิ ขณะที่ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงตลอดกาล ความไม่แน่การเจรจาการค้าระหว่างจีและสหรัฐยังเป็นตัวแปรที่กดดันตลาด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงทดสอบแนวรับของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,619 จุด หลังดัชนีตลาดดีตัวเข้าแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement ที่ 1,643 จุด ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวขึ้นต่อเมื่อดัชนีสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป โดยดัชนีตลาดมีแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาขึ้นเป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,660 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดสามารถปิดยืนเหนือ 1,632 จุด (มูลค่าการซื้อขายต่ำกว่า 6 หมื่นล้านบาท) และเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Tower Bottom จึงเป็นเสมือนสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,579 จุด ดัชนีกำลังมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,905 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI กลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดเริ่มขาดทิศทาง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,627 – 1,632 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,617 – 1,610 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
รักษาระดับการลงทุนไว้ที่ 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
รอปัจจัยหนุน
แรงซื้อเริ่มกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หลังกนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25 เปอร์เซ็นต์ ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดส่งท้ายสัปดาห์ที่ 1,637.85 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 45.33 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 5.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดกำลังปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,640 จุด ต่างชาติยังมีทิศทางขายสุทธิ ขณะที่สถาบันในประเทศเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย หลังการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐมีสัญญาณสะดุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดสามารถปิดยืนเหนือ 1,632 จุด (มูลค่าการซื้อขายต่ำกว่า 6 หมื่นล้านบาท) และเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Tower Bottom จึงเป็นเสมือนสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,579 จุด ดัชนีกำลังมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,905 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเหนือแนวรับของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,579 จุด และเกิดรูปแบบสัญญาณกลับตัวเป็น Tower Bottom ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,660 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก สัญญาณ Modified Stochastic ปรับตัวเข้าเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,643 – 1,650 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,631 – 1,624 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
รักษาระดับการลงทุนไว้ที่ 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,660 จุด
แรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยดีดตัวขึ้นปิดที่ 1,640.88 จุด เพิ่มขึ้น 16.89 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,660 จุด สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ ขณะที่ต่างชาติขายสุทธิเล็กน้อย ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก ตลาดขานรับการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐใกล้บรรลุข้อตกลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทะลุแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ซึ่งจากนี้ไปเส้น MMA2 จะทำหน้าที่เป็นแนวรับเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลง ดัชนีตลาดกำลังทดสอบแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,640 จุด ดัชนีตลาดเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Tower Bottom ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,660 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดสามารถปิดยืนเหนือ 1,632 จุด (มูลค่าการซื้อขายต่ำกว่า 6 หมื่นล้านบาท) และเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Tower Bottom จึงเป็นเสมือนสัญญาณยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) ที่ 1,579 จุด ดัชนีกำลังมีทิศทางปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น (iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,905 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,640 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,648 – 1,654 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,632 – 1,627 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
รักษาระดับการลงทุนไว้ที่ 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขาดความเชื่อมั่น
ดัชนีตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวลงปิดที่ 1,623.99 จุด ปรับลดลง 2.88 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.2 หมื่นล้านบาท ตลาดไม่ตอบรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของกนง. สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีสามารถยืนปิดเหนือ 1,632 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป สถาบันภายในประเทศกลับมาเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ขณะที่ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย หลังมีข่าวว่าการลงนามทางการค้าระหว่างสี จิ้นผิงและทรัมป์อาจเลื่อนไปเดือนธันวาคม
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆหลังปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่ 1,632 จุด แต่ไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้ ระยะสั้นหากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,632 จุดด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป จะเป็นสัญญาณยืนยันการเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นของดัชนีตลาด และเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Tower Bottom และดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,660 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) ลงเป็นคลื่น (ii) โดยคลื่น (ii) ต้องปรับลดลงไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) ที่ 1,546 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,632 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,640 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,629 – 1,634 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,617 – 1,613 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
รักษาระดับการลงทุนไว้ที่ 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ยืน 1,632 จุด แนวโน้มไปต่อ
แรงขายทำกำไรที่มีออกมากดดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆและปิดที่ 1,626.87 จุด เพิ่มขึ้น 4.62 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ระยะสั้นหากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,632 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 6 หมื่นล้านบาทจะเป็นสัญญาณปรับตัวขึ้นต่อ สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มนำที่ซื้อสุทธิ ขณะที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิ ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย ตลาดยังคงตอบรับการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐที่คืบหน้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่ 1,632 จุด ดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวรับของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,625 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,632 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป และดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่ 1,660 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) ลงเป็นคลื่น (ii) โดยคลื่น (ii) ต้องปรับลดลงไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) ที่ 1,546 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,632 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,640 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,632 – 1,639 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,620 – 1,615 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,590 จุด รักษาระดับการลงทุนไว้ที่ 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะปรับฐาน
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงปิดที่ 1,592.52 จุด ลดลง 8.97 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.84 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับฐาน ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ดัชนี S&P 500 สร้างราคาปิดสูงใหม่ตลอดกาล ตลาดขานรับตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่ง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) ลงเป็นคลื่น (ii) โดยคลื่น (ii) ต้องปรับลดลงไม่ต่ำกว่าจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) ที่ 1,546 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่น (ii) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,625 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงหลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของจุดต่ำเก่าที่ 1,609 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงและมีเส้นแนวโน้มขาลงเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,625 จุด ตามหลักการของ Granville เมื่อดัชนีตลาดปรับตัวลดลงไกลจากเส้น MA ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเข้าหาเส้น MA แต่เมื่อปรับตัวเข้าใกล้ก็จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับตัวลดลง ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,073 – 1,078 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,062 – 1,057 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือครองหุ้นด้วยความระมัดระวัง และหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,590 จุด ควรปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 20 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะพักตัว
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มแบงก์และโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นในแดนบวก แต่แรงขายในหุ้นกลุ่ม ICT ฉุดดัชนีตลาดปิดลงที่ 1,601.49 จุด ปรับลดลง 0.34 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน ต่างชาติกลับมาเป็นฝ่ายขายสุทธิ ขณะที่สถาบันเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง นักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอดูบทสรุปการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเล็กน้อย ดัชนีตลาดมีทิศทางแกว่งตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับฐาน ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,630 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป และมีจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด และ 1,579 จุดเป็นแนวรับ
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 1,579 จุด ต่ำกว่าจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด ทำให้การนับคลื่น Elliott wave จะต้องปรับการนับใหม่ โดยคลื่น (i) จบที่ 1,748 จุด และดัชนีตลาดที่ปรับลงมาทำจุดต่ำที่ 1,579 จุด กำลังปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,630 จุดด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,607 – 1,613 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,596 – 1,589 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือครองหุ้นด้วยความระมัดระวัง และหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,590 จุด ควรปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 20 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะพักฐาน
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคารหนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นในแดนบวก แต่ตลาดถูกถ่วงจากแรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ดัชนีตลาดปิดที่ 1,601.83 จุด เพิ่มขึ้น 10.62 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.64 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก สถาบันภายในประเทศและต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิในทางเดียวกัน ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ดัชนี S&P 500 ทำราคาปิดสูงสุดตลอดกาล หลังเฟดปรับดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25 เปอร์เซ็นต์ เป็นการปรับลดครั้งที่ 3 ในรอบปี
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,579 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Hammer สะท้อนถึงการเกิดแนวรับ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงของการปรับฐาน ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นตามหลักการของ Granville
ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,630 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 1,579 จุด ต่ำกว่าจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด ทำให้การนับคลื่น Elliott wave จะต้องปรับการนับใหม่ โดยคลื่น (i) จบที่ 1,748 จุด และดัชนีตลาดที่ปรับลงมาทำจุดต่ำที่ 1,579 จุด กำลังปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,630 จุดด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,607 – 1,613 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,596 – 1,589 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือครองหุ้นด้วยความระมัดระวัง และหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,590 จุด ควรปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 20 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับฐาน
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นขนาดใหญ่โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,591.81 จุด ลดลง 5.27 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดปรับตัวลงเล็กน้อย นักลงทุนรอดูทิศทางดอกเบี้ยของเฟด และการลงนามการค้าขั้นแรกระหว่างจีนและสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง เป็นการปรับตัวขึ้นตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดปรับตัวลงทำจุดต่ำที่ 1,579 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Hammer สะท้อนถึงการเกิดแนวรับ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงของการปรับฐาน
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 1,579 จุด ต่ำกว่าจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด ทำให้การนับคลื่น Elliott wave จะต้องปรับการนับใหม่ โดยคลื่น (i) จบที่ 1,748 จุด และดัชนีตลาดที่ปรับลงมาทำจุดต่ำที่ 1,579 จุด กำลังปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,630 จุดด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,599 – 1,605 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,585 – 1,579 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือครองหุ้นด้วยความระมัดระวัง และหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,590 จุด ควรปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 20 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล
ข่าวการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐขั้นแรกใกล้บรรลุข้อตกลง หนุนบรรยากาศการลงทุนกลับมาคึกคัก แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,596.48 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.20 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.99 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล มีแนวต้านสำคัญอยู่ที่ 1,630 จุด ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ หลังจากซื้อสุทธิ 2 วันต่อเนื่อง ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงตลอดกาล เป็นการขานรับการเจรจาการค้าใกล้ลงนาม และตลาดคาดหวังว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยในสัปดาห์นี้
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงต่ำกว่าแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด ระหว่างการซื้อขายดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 1,579 จุด แรงซื้อที่มีเข้ามาทำให้แท่งเทียนเกิดเป็น Hammer ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ซึ่งเป็นไปตามหลักการ Granville โดยดัชนีตลาดยังอยู่ในช่วงของการปรับฐาน
จากกราฟรายวัน ระหว่างการซื้อขายดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 1,579 จุด ต่ำกว่าจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด ทำให้การนับคลื่น Elliott wave จะต้องปรับการนับใหม่ โดยคลื่น (i) จบที่ 1,748 จุด และดัชนีตลาดที่ปรับลงมาทำจุดต่ำที่ 1,579 จุด กำลังปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลงที่ 1,630 จุดด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,603 – 1,610 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,590 – 1,585 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือครองหุ้นด้วยความระมัดระวัง และหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,590 จุด ควรปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 20 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สถาบันภายในประเทศทุบหุ้น
สถาบันภายในประเทศเทขายหุ้นกลุ่มแบงก์และพลังงานในช่วงปลายสัปดาห์ ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,593.28 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับลดลง 38.15 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 5.68 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นลบ ระยะสั้นหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,590 จุด ดัชนีตลาดจะมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางเทคนิคัลเพิ่มขึ้นและอาจต้องปรับพอร์ตเพื่อถือเงินสด ตลาดอาจต้องฝากความหวังกับการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐขั้นแรก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ กรณีที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่า 1,590 จุด จะต้องยกเลิกการนับคลื่นปรับ คลื่น ii) โดยดัชนีตลาดที่ปรับตัวลงจะยังเป็นคลื่นปรับ คลื่น (ii) ที่มีแนวรับสำคัญอยู่ที่ 1,546 จุด ดัชนีตลาดต้องไม่ปรับตัวลงปิดต่ำกว่าแนวรับนี้
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำต่อเนื่องเป็นวันที่สอง หลังจากดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,590 จุด ดัชนีตลาดสร้างจุดสูงยกลงต่ำ (Lower High) ทำให้ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง
ดัชนีตลาดมีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับสำคัญอยู่ที่ 1,546 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,590 จุด และมีแนวรับสำคัญอยู่ที่ 1,546 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,605 – 1,613 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,585 – 1,577 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือครองหุ้นด้วยความระมัดระวัง และหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,590 จุด ควรปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 20 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สถาบันทุบ ต่างชาติช้อน
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์และหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,620.97 จุด ปรับลดลง 10.49 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางเป็นขาขึ้นดัชนีตลาดควรปิดยืนเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง สถาบันภายในประเทศเทขายสุทธิกว่า 4.5 พันล้านบาท ขณะที่ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิกว่า 2.8 พันล้านบาท ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีกลับมาหนุนตลาด ขณะที่นักลงทุนผิดหวังผลประกอบการของหุ้น 3M
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำหลังดัชนีดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลง โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป และจะเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Inverted Head and Shoulders ซึ่งมี Measuring Target อยู่ที่ 1,680 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่ 1,603 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,748 จุด
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,748 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงพักตัว และจะยืนยันการปรับตัวขึ้นต่อเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,625 – 1,631 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,614 – 1,609 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence หรือเข้าซื้อช่วงที่ราคาอ่อนตัวลงระหว่างการซื้อขาย
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
เศรษฐกิจโลก เบร็กซิท ปัจจัยกดดันตลาด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,631.46 จุด เพิ่มขึ้น 10.68 จุด มูลค่าการซื้อขาย 3.88 หมื่นล้านบาท (มูลค่าการซื้อขายลดลง) สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นลบ ขณะที่ระยะกลางขึ้นไปเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,643 จุด สถาบันภายในประเทศและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นฝ่ายซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับมาปิดบวก ท่ามกลางความกังวลถึงการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ รวมไปถึงเบร็กซิทที่ขาดความแน่นอน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวเข้าแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลง โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม ระยะสั้นหากดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป ดัชนีตลาดจะเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Inverted Head and Shoulders ซึ่งถือเป็นสัญญาณกลับตัวที่มีนัยสำคัญ และดัชนีตลาดจะมี Measuring Target ขึ้นไปที่ 1,680 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่ 1,603 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,748 จุด
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,748 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงพักตัว และจะยืนยันการปรับตัวขึ้นต่อเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,637 – 1,640 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,626 – 1,620 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence หรือเข้าซื้อช่วงที่ราคาอ่อนตัวลงระหว่างการซื้อขาย
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แรงขายระยะสั้น
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,620.78 จุด ลดลง 10.65 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงพักตัว ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ ร่วมกับนักลงทุนทั่วไป ผลประกอบการไตรมาสสามที่ออกมาแข็งแกร่ง หนุนตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ขณะที่นักลงทุนเฝ้ารอดูผลการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำหลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลง โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวรับอยู่ที่ 1,610 จุด
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่ 1,603 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,748 จุด
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,748 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เริ่มกลับมาเป็นลบ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,625 – 1,630 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,616 – 1,610 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence หรือเข้าซื้อช่วงที่ราคาอ่อนตัวลงระหว่างการซื้อขาย
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
รอปัจจัยบวก
ตัวเลขเศรษฐกิจจีนที่ออกมาต่ำสุดในรอบ 27 ปี กดดันเศรษฐกิจให้ชะลอตัว แรงขายที่มีออกมาในช่วงปลายสัปดาห์ ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวลงปิดที่ 1,631.43 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.43 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 5.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 6 หมื่นล้านบาท ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลง การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนสร้างแรงกดดันต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดทุน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่ 1,603 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,748 จุด
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,748 จุด+/-
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลง หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลง โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม กรณีที่ดัชนีตลาดพักตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,620 จุด หากดัชนีตลาดสามารถดีดตัวกลับมาปิดเหนือ 1,643 จุดและมูลค่าการซื้อขายหนาแน่น ดัชนีตลาดมีโอกาสเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Inverted Head and Shoulders
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,636 – 1,640 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,626 – 1,620 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence หรือเข้าซื้อช่วงที่ราคาอ่อนตัวลงระหว่างการซื้อขาย
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,643 จุด
แรงขายทำกำไรระยะสั้นฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดในแดนลบ ดัชนีตลาดปิดที่ 1,632.80 จุด ลดลง 1.66 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,643 จุด ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือแนวต้านนี้ นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ขณะที่ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิ ผลประกอบการไตรมาสสามของสหรัฐและการบรรลุข้อตกลงแบร็กซิทระหว่างอังกฤษและอียู ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนกลับมาคึกคัก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดอ่อนตัวลงปิดต่ำหลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของเส้นแนวโน้มขาลง โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดจะยืนยันทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 6 หมื่นล้านบาทขึ้นไป ระยะสั้นดัชนีตลาดมีแนวรับอยู่ที่ 1,624 จุด
การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI และ MACD Histogram เสมือนเป็นสัญญาณเตือนในช่วงปลายตลาดขาลง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่ 1,603 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,748 จุด
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,748 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก และการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI เสมือนเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,643 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,093 – 1,097 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,627 – 1,621 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence หรือเข้าซื้อช่วงที่ราคาอ่อนตัวลงระหว่างการซื้อขาย
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
1,643 จุดวัดใจ
แรงซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวกที่ 1,634.46 จุด เพิ่มขึ้น 7.45 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.8 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,643 จุด สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลดลงเล็กน้อย หลังยอดค้าปลีกปรับลดลงในรอบ 7 เดือน บวกกับการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐยังไม่ราบรื่น ขณะที่ผลประกอบการไตรมาสสามที่ออกมาดี
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,635 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม และมีเส้นแนวโน้มขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,643 จุด ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้น เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 6 หมื่นล้านบาท
เกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI และ MACD Histogram เสมือนเป็นสัญญาณเตือนในช่วงปลายตลาดขาลง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่ 1,603 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,643 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,748 จุด
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,748 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก และการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI เสมือนเป็นสัญญาณปลายตลาดขาลง ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,643 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,639 – 1,645 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,629 – 1,624 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence หรือเข้าซื้อช่วงที่ราคาอ่อนตัวลงระหว่างการซื้อขาย
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,650 จุด
แรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,626.00 จุด เพิ่มขึ้น 18.50 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.16 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก สัญญาณ Bullish Divergence แสดงถึงปลายตลาดขาลง ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,650 จุด สถาบันภายในประเทศกลับมาเป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับลดลงเล็กน้อย นักลงทุนชะลอการซื้อขายเพื่อรอดูบทสรุปการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่ 1,603 จุด เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,645 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ก่อนที่ดัชนีตลาดจะปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น iii) ที่มีเป้าหมายอยู่ที่ 1,750 จุด
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,748 จุด+/-
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดเหนือแนวต้านที่ 1,625 จุด หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงไปทำจุดต่ำที่ 1,603 จุดถึงสองครั้ง และเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI และ MACD Histogram เสมือนเป็นสัญญาณเตือนในช่วงปลายตลาดขาลง
ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง โดยมีเส้นแนวโน้มขาลงเป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดจะยืนยันการปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารยืนปิดเหนือ 1,645 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นบวก การเกิดสัญญาณ Bullish Divergence ของ RSI และ MACD Histogram เป็นเสมือนสัญญาณที่ชี้ว่าดัชนีตลาดกำลังอยู่ในช่วงปลายตลาดขาลง และใช้เป็นจุดเข้าซื้อ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,635 – 1,641 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,620 – 1,613 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับฐานรอสัญญาณบวก
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด กดดัชนีตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวลงปิดที่ 1,607.50 จุด ลดลง 8.68 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.1 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก แต่ระยะกลางขึ้นไปเป็นลบ ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิร่วมกับนักลงทุนทั่วไป ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,625 จุด ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปิดตลาดในแดนบวก หลังตลาดมองว่าการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐจะคืบหน้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,061 จุด หลังดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่างขาลง (Gap) ที่ 1,617 – 1,624 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,625 จุด และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านถัดไป ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,647 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่จุดต่ำเก่าเป็นเป้าหมายอยู่ที่ 1,590 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับและปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,647 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ดังนั้น ดัชนีตลาดจากนี้ไปไม่ปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,620 จุด
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,748 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเป็นบวก แต่ระยะกลางขึ้นไปขาดทิศทางที่ชัดเจน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,612 – 1,617 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,603 – 1,599 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,625 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในช่วงท้ายตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ดัชนีตลาดปิดที่ 1,616.18 จุด เพิ่มขึ้น 4.01 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.2 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,625 จุด บริษัทหลักทรัพย์เป็นกลุ่มนำซื้อสุทธิ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นแตะ 30.32 บาท/ดอลลาร์ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังมีข่าวว่าจีนพร้อมจะทำข้อตกลงบางส่วนกับสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ระหว่างการซื้อขายดัชนีตลาดปรับลงทดสอบแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,603 จุด แรงซื้อที่มีเข้ามาในช่วงท้ายตลาดหนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก สัญญาณทางเทคนิคัลที่กลับมาเป็นบวกหนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,625 จุด และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านถัดไป ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,647 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่จุดต่ำเก่าเป็นเป้าหมายอยู่ที่ 1,590 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับและปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,647 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ดังนั้น ดัชนีตลาดจากนี้ไปไม่ปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,620 จุด
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,748 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD ยังเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,625 จุด แต่ระยะยาวดัชนีตลาดยังขาดความชัดเจน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,621 – 1,627 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,610 – 1,605 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับฐาน
ตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยบวกทั้งในและต่างประเทศที่จะหนุนดัชนี แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,612.17 จุด ลดลง 1.54 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 3.65 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 หลังการเจรจาการค้าระหว่างจีนและสหรัฐมีแนวโน้มยืดเยื้อ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ หลังดัชนีตลาดดีดตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,625 จุด เป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปิดช่องว่างขาลง (Gap) ที่ 1,617 – 1,624 จุด และมีจุดต่ำเก่าเป็นแนวรับอยู่ที่ 1,603 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,625 จุด และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านถัดไป ดัชนีตลาดจะเปลี่ยนทิศทางปรับตัวขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น ii) ที่จุดต่ำเก่าเป็นเป้าหมายอยู่ที่ 1,590 จุด ดัชนีตลาดจะยืนยันการจบคลื่นปรับและปรับตัวขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) เมื่อดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,650 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและต่อเนื่อง ดังนั้น ดัชนีตลาดจากนี้ไปไม่ปรับตัวลงปิดต่ำกว่า 1,620 จุด
จากความยาวของคลื่น i) และคลื่น ii) ในขณะนี้ จะมีเป้าหมาย 161.8% Fibonacci Projection ของคลื่น iii) อยู่ที่ 1,748 จุด+/-
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อ (ระยะสั้น) รูป W-shape ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,635 จุด ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะยาวยังขาดทิศทาง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,072 – 1,076 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,062 – 1,058 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต และรอซื้อเพิ่มเมื่อเกิดสัญญาณ Bullish Divergence