Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ยังมีความเสี่ยง
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,491.24 จุด ปรับลดลง 14.30 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.55 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,455 จุด ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดี (20/2) ดิ่งลงแรงระหว่างการซื้อขาย ก่อนที่จะลดช่วงลบในท้ายตลาด สัญญาณทางเทคนิคัลและการเกิด Inverted Yield Curve เตือนถึงความเสี่ยงที่จะเกิดตามมา
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงหลุดแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,491 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปรับฐาน เนื่องจากดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง
ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,455 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,496 – 1,502 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,486 – 1,480 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือ 1,520 จุด
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "oscillator"
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวรับ 1,495 จุด
แรงขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องในหุ้นกลุ่มนำตลาด โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,504.54 จุด ลดลง 8.14 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.87 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุด ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 2,479 ล้านบาท สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก ผลประกอบการของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหนุน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่าง (Filling the gap) เป็นสัญญาณปรับตัวขึ้นเพื่อลง ตามสัญญาณ Low Price Gapping Play ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุด
ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 999.90 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,510 – 1,517 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,500 – 1,495 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือ 1,520 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปิดช่องว่างก่อนปรับตัวลง
แรงขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,513.68 จุด ลดลง 13.57 จุด มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 4.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นมีแนวโน้มพักตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุด ต่างชาติและสถาบันภายในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กมีสัญญาณพักตัว นักลงทุนหวั่นการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 จะกระทบเศรษฐกิจในวงกว้าง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวลงแบบมีช่องว่าง (Low Price Gapping Play) ซึ่งเป็นสัญญาณลงต่อเนื่อง (Continuation pattern) ดัชนีจะปรับตัวขึ้นปิดช่องว่าง (Filling the gap) ก่อนที่จะปรับตัวลงต่อ การเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง สะท้อนถึงดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงตามหลักการของ Granville
ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ RSI กลับมาเป็นลบ สัญญาณทางเทคนิคัลที่ขัดแย้งกันจะทำให้ดัชนีแกว่งตัวแบบไร้ทิศทาง
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,518 – 1,523 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,507 – 1,500 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนเหนือ 1,520 จุด
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะพักตัว
ดัชนีตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยบวก ส่งผลให้บรรยากาศการซื้อขายซบเซา ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและปิดลงที่ 1,527.25 จุด เพิ่มขึ้น 0.95 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.2 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 1,522 – 1,542 จุด นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดทำการ เนื่องในวัน Presidents’ Day การระบาดของเชื้อ Covid-19 เริ่มมีแนวโน้มไปในทางบวก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) ภายในกรอบ 1,522 – 1,542 จุด โดยมีกรอบล่างของช่องว่างขาลงที่ 1,546 จุด และเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,546 จุด จากหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ
ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,546 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,532 – 1,539 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,520 – 1,513 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตถือเงินสด 10 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ดัชนีตลาดหลุดแนวรับที่ 1,520 จุด จากพอร์ตเดิมอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระวังหลุดแนวรับที่ 1,522 จุด
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,526 จุด ลดลง 6.47 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.18 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลแสดงถึงดัชนีแกว่งตัวออกด้านข้าง ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงหากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,522 จุด ต่างชาติเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดวันศุกร์ (14/2) แบบไร้ทิศทาง ตลาดได้รับแรงหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง นักลงทุนติดตามตัวเลขการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) ภายในกรอบ 1,522 – 1,542 จุด โดยมีกรอบล่างของช่องว่างขาลงที่ 1,546 จุด และเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,547 จุด จากหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ
ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,455 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,546 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,532 – 1,539 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,520 – 1,513 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตถือเงินสด 10 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่ดัชนีตลาดหลุดแนวรับที่ 1,520 จุด จากพอร์ตเดิมอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้านทางเทคนิคัล
ตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยบวกเข้าหนุนตลาด กดดันให้เกิดแรงขายออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดปรับตัวลงปิดที่ 1,532.77 จุด ลดลง 7.07 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.6 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,550 จุด ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ จับตาทิศทางหุ้นรับเหมาก่อสร้างหลังงบประมาณปี 2563 ผ่านวาระ 3
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,550 จุด จากหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ
ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,456 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,539 – 1,546 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,527 – 1,523 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะสั้นระวังแนวต้านที่ 1,550 จุด
แรงซื้อที่กลับมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยกลับขึ้นมาปิดที่ 1,539.84 จุด เพิ่มขึ้น 15.91 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.48 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,550 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลง ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธที่ 12/2 ดัชนีหลักปรับตัวขึ้นสร้างจุดสูงใหม่ตลอดกาล ตลาดได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มยาและพลังงาน และตัวเลขผู้ติดเชื่อ Covid-19 ลดลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง (Sideways) สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วมอยู่ที่ 1,550 จุด จากหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ
ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,456 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,546 – 1,553 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,533 – 1,527 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับฐาน
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หลังแบงก์ชาติส่งสัญญาณปรับโครงสร้างค่าธรรมเนียม ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,523.93 จุด ลดลง 11.31 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.26 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ดัชนีตลาดอยู่ในช่วงปรับฐาน สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 548 ล้านบาท ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคาร (11/2) ปิดตลาดเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเล็กน้อย ประธานเฟดชี้เร็วเกินไปที่จะสรุปว่าโคโรนาไวรัสสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจอเมริกา
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick หลังดัชนีปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) ที่ 1,546 – 1,569 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม แท่งเทียนเกิดเป็น Stalled pattern สะท้อนถึงการเกิดแนวต้าน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,541 จุด ตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ
ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,456 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,530 – 1,536 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,517 – 1,511 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ปรับพอร์ตถือเงินสดเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ หากดัชนีตลาดไม่สามารถยืนปิดเหนือ 1,517 จุด พอร์ตการลงทุนจะเหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ขาดแรงหนุน
ท่ามกลางภาวะตลาดที่ขาดปัจจัยบวก ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆ และปิดลงที่ 1,535.24 จุด ลดลง 0.55 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.0 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล ก่อนที่จะปรับฐาน ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (11/2) ปิดตลาดในแดนบวก จากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้น Amazon และ Microsoft หนุนดัชนีกลับมาปิดในแดนบวก
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม แท่งเทียนเกิดเป็น Stalled pattern สะท้อนถึงการเกิดแนวต้าน ตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน โดยมีจุดต่ำเก่าที่ 1,495 จุดเป็นแนวรับ
ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดมีทิศทางการจบคลื่น III ที่ 1,848 จุด จากนั้นดัชนีตลาดแกว่งตัวลงไปตามช่องแนวโน้มขาลงระยะยาวเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) แบบ A-B-C-D-E โดยดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับของแนวโน้มขาลงที่ 1,456 จุด ซึ่งจะเป็นเป้าหมายของคลื่น IV, E
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,546 – 1,569 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,540 – 1,546 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,527 – 1,522 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Stalled Pattern
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาดเริ่มชะลอตัว แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้ามีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,535.79 จุด เพิ่มขึ้น 1.65 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.9 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก ขานรับข่าวจีนสดภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐ และการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสอยู่ในวงจำกัด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม แท่งเทียนเกิดเป็น Stalled pattern สะท้อนถึงการเกิดแนวต้าน ตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน
ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง
จากกราฟรายสัปดาห์ แม้ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4) ในหลักการ Overlapping ของคลื่นเอลเลียต คลื่น 4) ต้องไม่ซ้อนทับกับคลื่น 1) ที่ 1550 จุด สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดปิดที่ 1,514 จุด ทำให้คลื่นที่ปรับตัวลงไม่เป็นไปตามหลักการของ Overlapping ซึ่งจะทำให้ต้องมีการปรับการนับคลื่นใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามทฤษฎีของคลื่นเอลเลียต
ภาพรายสัปดาห์ล่าสุด แสดงถึงการปรับการคลื่นเอลเลียตใหม่เพื่อให้สองคล้องกับหลักการของการนับคลื่นเอลเลียต
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,546 – 1,569 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,540 – 1,546 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,527 – 1,522 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,546 – 1,569 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นไทยดีดตัวขึ้นปิดในแดนบวก ขานรับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25 เปอร์เซ็นต์ ลงเหลือ 1 เปอร์เซ็นต์ แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,534.14 จุด เพิ่มขึ้น 14.76 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.7 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นก่อนที่จะปรับฐาน ต่างชาติเดินหน้าขายสุทธิ ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังมีข่าวว่าจีนสามารถพัฒนายาต้านโคโรนาไวรัส
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่สอง หลังดัชนีตลาดปรับตัวลงทดสอบแนวรับของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,505 จุด แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นในกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด โดยมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลงเป็นแนวต้านร่วม ตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA2 ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน
ระยะกลางดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง
จากกราฟรายสัปดาห์ แม้ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4) ในหลักการ Overlapping ของคลื่นเอลเลียต คลื่น 4) ต้องไม่ซ้อนทับกับคลื่น 1) ที่ 1550 จุด สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดปิดที่ 1,514 จุด ทำให้คลื่นที่ปรับตัวลงไม่เป็นไปตามหลักการของ Overlapping ซึ่งจะทำให้ต้องมีการปรับการนับคลื่นใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามทฤษฎีของคลื่นเอลเลียต
ภาพรายสัปดาห์ล่าสุด แสดงถึงการปรับการคลื่นเอลเลียตใหม่เพื่อให้สองคล้องกับหลักการของการนับคลื่นเอลเลียต
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,546 – 1,569 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลงเพื่อปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,540 – 1,546 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,527 – 1,522 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
เพิ่มพอร์ตการลงทุนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
สัญญาณบวกเริ่มกลับมา
หลังจากที่นักลงทุนเริ่มผ่อนคลายการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส นักลงทุนเริ่มกลับเข้าตลาดทุน แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,519.38 จุด เพิ่มขึ้น 23.32 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.86 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นบวก โดยดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดตลาดในแดนบวก จากแรงหนุนของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และนักลงทุนเริ่มคลายความกังวลการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นปิดในแดนบวก หลังดัชนีตลาดปรับตัวลดลงทดสอบแนวรับของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,505 จุด ตามหลักการของ Granville ดัชนีตลาดจะปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ที่เรียงตัวแบบตลาดขาลง โดยมีช่องว่างขาลงที่ 1,546 – 1,569 จุด เป็นแนวต้านร่วม ดัชนีตลาดระยะสั้นแม้จะมีทิศทางปรับตัวขึ้น แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ แม้ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4) ในหลักการ Overlapping ของคลื่นเอลเลียต คลื่น 4) ต้องไม่ซ้อนทับกับคลื่น 1) ที่ 1550 จุด สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดปิดที่ 1,514 จุด ทำให้คลื่นที่ปรับตัวลงไม่เป็นไปตามหลักการของ Overlapping ซึ่งจะทำให้ต้องมีการปรับการนับคลื่นใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามทฤษฎีของคลื่นเอลเลียต
ภาพรายสัปดาห์ล่าสุด แสดงถึงการปรับการคลื่นเอลเลียตใหม่เพื่อให้สองคล้องกับหลักการของการนับคลื่นเอลเลียต
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI กลับมาเป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ MACD เป็นลบ สัญญาณทางเทคนิคัลที่ขัดแย้งกัน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นแกว่งตัวแบบไร้ทิศทาง
สัญญาณ Modified Stochastic มีแนวโน้มที่จะเกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape เป็นการซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,525 – 1,532 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,513 – 1,507 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape หรือสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
หลุดแนวรับ 1,500 จุด
แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงหลุดแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,500 จุด ลงมาปิดที่ 1,496.06 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.3 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตขายมาเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงหรือปรับฐาน ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กฟื้นตัวขึ้นปิดในแดนบวก จากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ท่ามกลางความวิตกถึงการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสในประเทศจีน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำหลุดแนวรับของช่องแนวโน้มที่ 1,505 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาลง สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีภระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลระหว่างการซื้อขาย แต่จะเป็นการปรับตัวขึ้นเพื่องหรือเพื่อปรับฐานออกไปอีกระยะหนึ่ง
จากกราฟรายสัปดาห์ แม้ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4) ในหลักการ Overlapping ของคลื่นเอลเลียต คลื่น 4) ต้องไม่ซ้อนทับกับคลื่น 1) ที่ 1550 จุด สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดปิดที่ 1,514 จุด ทำให้คลื่นที่ปรับตัวลงไม่เป็นไปตามหลักการของ Overlapping ซึ่งจะทำให้ต้องมีการปรับการนับคลื่นใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามทฤษฎีของคลื่นเอลเลียต
ภาพรายสัปดาห์ล่าสุด แสดงถึงการปรับการคลื่นเอลเลียตใหม่เพื่อให้สองคล้องกับหลักการของการนับคลื่นเอลเลียต
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,006 – 1,011 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 995 – 990 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape หรือสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระวังหลุด 1,500 จุด
ข่าวการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสอู่ฮั่นที่ขยายวงกว้าง ส่งผลให้เกิดแรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดส่งท้ายสัปดาห์ที่ 1,514.14 จุด ทั้งสัปดาห์ดัชนีตลาดปรับลดลง 55.41 จุด มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยวันละ 6.2 หมื่นล้านบาท ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,500 จุด ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กดิ่งลงแรง ข่าวการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสในวงกว้าง สร้างความกังวลให้กับนักลงทุน ดาวโจนส์ดิ่งกว่า 600 จุด ดัชนี VIX Index ชี้ถึงดัชนี S&P 500 เสี่ยงที่จะปรับตัวลงแรง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายสัปดาห์ แม้ดัชนีตลาดจะมีทิศทางปรับตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 4) ในหลักการ Overlapping ของคลื่นเอลเลียต คลื่น 4) ต้องไม่ซ้อนทับกับคลื่น 1) ที่ 1550 จุด สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีตลาดปิดที่ 1,514 จุด ทำให้คลื่นที่ปรับตัวลงไม่เป็นไปตามหลักการของ Overlapping ซึ่งจะทำให้ต้องมีการปรับการนับคลื่นใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามทฤษฎีของคลื่นเอลเลียต
ภาพที่ 2 แสดงถึงการปรับการคลื่นเอลเลียตใหม่เพื่อให้สองคล้องกับหลักการของการนับคลื่นเอลเลียต
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำ หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,535 จุด เป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) ที่ 1,546 – 1,569 จุด เป็นการปิดแบบ Incomplete Filling The Gap เป็นสัญญาณถึงการปรับตัวลงต่อ โดยมีกรอบล่างของช่องแนวโน้มขาลงเป็นแนวรับ และมีแนวรับทางจิตวิทยาที่ 1,500 จุด เป็นแนวรับร่วม
เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาลง ยืนยันว่าดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง ที่มีแนวรับทางจิตวิทยาอยู่ที่ 1,500 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวก (สัญญาณ Modified Stochastic จะเกิดสัญญาณซื้อที่ดี เมื่อมีรูปเป็น W-shape) ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,521 – 1,528 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,507 – 1,500 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape หรือสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับฐาน
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ทำให้ดัชนีตลาดแกว่งแคบๆและปิดลงที่ 1,523.99 จุด ลดลง 0.60 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.37 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเริ่มกลับมาเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัลเพื่อปรับฐาน ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ขณะที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กกลับมาปิดในแดนบวก หลังปรับตัวลดลงในช่วงแรก แรงซื้อที่มีเข้าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หนุนดัชนีกลับมาสดใสในช่วงท้ายตลาด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวเหนือแนวรับของช่องแนวโน้มขาลงที่ 1,510 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Inverted Hammer และ Hammer ในเขตขายมากเกิน ภาวะขายมากเกินจะกระตุ้นแรงซื้อกลับเข้าเก็งกำไร หนุนให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวขึ้นทางเทคนิคัล กึ่งกลางลำตัวของแท่งเทียน Bearish Candlestick จะทำหน้าที่เป็นแนวต้านอยู่ที่ 1,536 จุด
เส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เรียงตัวแบบตลาดขาลง ยืนยันว่าดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง ที่มีแนวรับทางจิตวิทยาอยู่ที่ 1,500 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดพักตัวลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) ลงเป็นคลื่น 4) ตามหลักการ คลื่น 4) ต้องไม่ซ้อนทับกับคลื่น 1) ตามกฎ Overlapping วิกฤติเศรษฐกิจ งบประมาณที่ล่าช้า และการระบาดของโคโรนาไวรัส ทำให้รูปแบบของคลื่นเอลเลียตขาดความชัดเจนและแน่นอน
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นบวก (สัญญาณ Modified Stochastic จะเกิดสัญญาณซื้อที่ดี เมื่อมีรูปเป็น W-shape) ขณะที่สัญญาณ RSI และ MACD เป็นลบ ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,531 – 1,536 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,519 – 1,513 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
พอร์ตการลงทุนอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มน้ำหนักการลงทุน 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อรูป W-shape หรือสัญญาณ RSI เกิดสัญญาณ Bullish Divergence