Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Filling the gap
แรงซื้อเก็งกำไรที่กลับเข้ามาหนุนดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง แต่แรงขายที่มีออกมาช่วงบ่ายกดดัชนีตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวลงปิดที่ 1,416.02 จุด ลดลง 8.37 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.95 หมื่นล้านบาท ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,383 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธ (23/12) ปิดตลาดมีทั้งบวกและลบ ดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีแนสแดคปรับตัวลดลง ตลาดถูกกดดันจากแรงขายทำกำไรระยะสั้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจยังไม่มีข้อสรุป
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นปิดช่องว่างขาลง (Filling the gap) ที่ 1,429 – 1,482 จุด แท่งเทียนปรากฏเงาส่วนบนขนาดยาว สะท้อนถึงแรงขายและเกิดแนวต้าน แรงขายที่มีออกมากดดัชนีฟิวเจอร์สปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 38% Fibonacci Retracement ที่ 1,383 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วมอยู่ที่ 1,368 – 1,405 จุด สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงปรับฐาน
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่นส่ง คลื่น 1 ที่ 1,503 จุด และจะมีทิศทางพักตัวลงเป็นคลื่นปรับคลื่น 2 ที่มีแนวรับอยู่ที่ 1,383 จุด, 1,346 จุด และ 1,308 จุดตามลำดับ
แนวรับที่ได้เกิดจากนำจุดต่ำที่ 1,187 จุด กับจุดสูงที่ 1,503 จุด มาวิเคราะห์ด้วยหลักการ Fibonacci Retracement
หมายเหตุ 61.8% FR = 1,383 จุด, 100% FR = 1,346 จุด และ 161.8% FR = 1,308 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,383 จุด กรณีที่จะกลับเข้าซื้อหุ้นด้วยสัญญาณ RSI ควรรอให้ปรับลดลงมาที่ระดับ 60 – 40 เปอร์เซ็นต์ (ค่าวันนี้อยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,432 – 1,444 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,401 – 1,388 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,410 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
ค้นหาในไอเดียสำหรับ "oscillator"
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ผวาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด
นักลงทุนต่างนำหุ้นออกเทขายเพื่อลดความเสี่ยง หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ แรงเทขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาดฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,401.78 จุด ลดลง 80.60 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.29 แสนล้านบาท สถาบันภายในประเทศและบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นฝ่ายเทขายหุ้น
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (21/12) ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวกขณะที่ดัชนีเอสแอนด์พี 500 และดัชนีแนสแดคปรับตัวลดลงเล็กน้อย ระหว่างการซื้อขายทั้ง 3 ดัชนีดิ่งลงแรงก่อนมีแรงซื้อกลับเข้ามา นักลงทุนผวาข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ในอังกฤษ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในยุโรปและโลกตามมา
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดทรุดตัวลงแบบมีช่องว่าง (Gap = 1,429 – 1,482 จุด) ซึ่งจากนี้ไปจะทำหน้าที่เป็นแนวต้านเมื่อดัชนีตลาดปรับตัวขึ้น หลังจากดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,503 จุด และแท่งเทียนเกิดสัญญาณตัวรูป Dark Two Crows ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาขึ้น สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,383 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วมอยู่ที่ 1,364 – 1,403 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีแนวโน้มจบคลื่นส่ง คลื่น 1 ที่ 1,503 จุด และจะมีทิศทางพักตัวลงเป็นคลื่นปรับคลื่น 2 ที่มีแนวรับอยู่ที่ 1,383 จุด, 1,346 จุด และ 1,308 จุดตามลำดับ
แนวรับที่ได้เกิดจากนำจุดต่ำที่ 1,187 จุด กับจุดสูงที่ 1,503 จุด มาวิเคราะห์ด้วยหลักการ Fibonacci Retracement
หมายเหตุ 61.8% FR = 1,383 จุด, 100% FR = 1,346 จุด และ 161.8% FR = 1,308 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,383 จุด กรณีที่จะกลับเข้าซื้อหุ้นด้วยสัญญาณ RSI ควรรอให้ปรับลดลงมาที่ระดับ 60 – 40 เปอร์เซ็นต์ (ค่าวันนี้อยู่ที่ 47 เปอร์เซ็นต์)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,415 – 1,430 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,383 – 1,369 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,410 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปัจจัยเสี่ยงภายนอก
ข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศ อาจส่งผลกดดันดัชนีตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ ดัชนีตลาดปิดส่งท้ายสัปดาห์ที่ 1,482.38 จุด ลดลง 1.51 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.17 แสนล้านบาท ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลที่กลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,410 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ (18/12) ปรับตัวลดลงเล็กน้อย แรงขายทำกำไรระยะสั้นทำให้ดัชนีที่ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงตลอดกาลมีโอกาสพักตัว ตลาดได้ซึมซับข่าววัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้พอสมควร
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้านทางเทคนิคัลที่ 1,487 จุด ต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 แท่งเทียนเกิดเป็นสตาร์ ในเขตซื้อมากเกิน สัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,410 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วมอยู่ที่ 1,403 จุด ดัชนีตลาดระยะกลางเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายถัดไปอยู่ที่ 1,487 จุด และ 1,673 จุด ตามลำดับ
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ สัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนถึงความเสี่ยงที่ดัชนีตลาดจะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,410 – 1,400 จุด กรณีที่จะกลับเข้าซื้อหุ้นด้วยสัญญาณ RSI ควรรอให้ปรับลดลงมาที่ระดับ 60 – 40 เปอร์เซ็นต์ (ค่าวันนี้อยู่ที่ 75 เปอร์เซ็นต์)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,490 – 1,503 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,471 – 1,460 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,410 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แรงซื้อ VS แรงขาย
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวขึ้นทดสอบแนวต้านทางเทคนิคัลที่ 1,487 จุด แรงขายที่มีออกมากดดัชนีตลาดอ่อนตัวลงปิดที่ 1,483.89 จุด เพิ่มขึ้น 1.80 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.12 แสนล้านบาท ต่างชาติกลับมาขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเตือนให้ระวังถึงความเสี่ยงระยะสั้น ระยะยาวดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาลง
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสหัสบดี (17/12) ดัชนีดาวโจนส์ เอสแอนด์พี 500 และแนสแดคปรับตัวขึ้นทำจุดปิดตลอดกาล ดัชนีตลาดได้รับแรงหนุนจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณจะใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินและอัดฉีดเม็ดเงินผ่านการเข้าซื้อพันธบัตร ตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้านทางเทคนิคัลที่ 1,487 จุด ต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 แท่งเทียนเกิดเป็น Shooting Star ในเขตซื้อมากเกิน สัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,410 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วมอยู่ที่ 1,398 จุด ดัชนีตลาดระยะกลางเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายถัดไปอยู่ที่ 1,487 จุด และ 1,673 จุด ตามลำดับ
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบ และสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนถึงความเสี่ยงที่ดัชนีตลาดจะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,410 – 1,400 จุด กรณีที่จะกลับเข้าซื้อหุ้นด้วยสัญญาณ RSI ควรรอให้ปรับลดลงมาที่ระดับ 60 – 40 เปอร์เซ็นต์ (ค่าวันนี้อยู่ที่ 76 เปอร์เซ็นต์)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,490 – 1,503 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,471 – 1,460 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,410 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แนวต้านระยะสั้น 1,487 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้านทางเทคนิคัลที่ 1,487 จุด แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด กดดัชนีตลาดอ่อนตัวลงปิดที่ 1,482.09 จุด เพิ่มขึ้น 4.88 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.06 แสนล้านบาท ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 สัญญาณทางเทคนิคัลที่กลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,410 – 1,400 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธ (16/12) ตลาดปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง ดัชนีดาวโจนส์ตัวลดลงเล็กน้อย ขณะที่ดัชนีเอสแอนด์พี 500 และแนสแดคปรับตัวเพิ่มขึ้น ดัชนีแนสแดคทำจุดปิดสูงสุดตลอดกาล โดยได้รับแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้านทางเทคนิคัลที่ 1,487 จุด ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,410 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วมอยู่ที่ 1,392 จุด ดัชนีตลาดระยะกลางเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายถัดไปอยู่ที่ 1,487 จุด และ 1,673 จุด ตามลำดับ
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบ และสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนถึงความเสี่ยงที่ดัชนีตลาดจะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,410 – 1,400 จุด กรณีที่จะกลับเข้าซื้อหุ้นด้วยสัญญาณ RSI ควรรอให้ปรับลดลงมาที่ระดับ 60 – 40 เปอร์เซ็นต์ (ค่าวันนี้อยู่ที่ 75 เปอร์เซ็นต์)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,490 – 1,500 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,471 – 1,460 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,410 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ช่วงพักตัว
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยพักตัว ดัชนีตลาดปิดที่ 1,477.21 จุด เพิ่มขึ้น 1.08 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.17 หมื่นล้านบาท ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ ขณะที่สถาบันภายในประเทศยังคงขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นอยู่ในช่วงพักตัว
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคาร (15/12) ตลาดปิดตลาดในแดนบวก หลังนักลงทุนมีความหวังว่าสภาคองเกรสสหรัฐฯจะสามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในไม่ช้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆ หลังดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,487 จุด แท่งเทียนเกิดสัญญาณกลับตัวแบบ Dark Two Crow ในเขตซื้อมากเกิน ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาขึ้น ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,410 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วมอยู่ที่ 1,386 จุด ดัชนีตลาดระยะกลางเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายถัดไปอยู่ที่ 1,487 จุด และ 1,673 จุด ตามลำดับ
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบ และสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนถึงความเสี่ยงที่ดัชนีตลาดจะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,410 – 1,400 จุด กรณีที่จะกลับเข้าซื้อหุ้นด้วยสัญญาณ RSI ควรรอให้ปรับลดลงมาที่ระดับ 60 – 40 เปอร์เซ็นต์ (ค่าวันนี้อยู่ที่ 75 เปอร์เซ็นต์)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 956 – 967 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 938 – 928 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,410 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
Dark Two Crows
แรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,476.13 จุด ลดลง 6.54 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.07 แสนล้านบาท ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,410 – 1,400 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (14/12) ปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง ดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวลดลง ขณะที่ดัชนีแนสแดคปรับตัวเพิ่มขึ้น ตลาดถูกกดดันจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐที่ทวีความรุนแรง แม้ FDA จะอนุมัติการใช้งานวัคซีนของไฟเซอร์
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,503 จุด ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 แท่งเทียนเกิดเป็น Dark Two Crow ในเขตซื้อมากเกิน ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาขึ้น ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,410 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วมอยู่ที่ 1,380 จุด ดัชนีตลาดระยะกลางเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายถัดไปอยู่ที่ 1,487 จุด และ 1,673 จุด ตามลำดับ
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบ และสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนถึงความเสี่ยงที่ดัชนีตลาดจะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,410 – 1,400 จุด กรณีที่จะกลับเข้าซื้อหุ้นด้วยสัญญาณ RSI ควรรอให้ปรับลดลงมาที่ระดับ 60 – 40 เปอร์เซ็นต์ (ค่าวันนี้อยู่ที่ 74 เปอร์เซ็นต์)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,487 – 1,495 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,464 – 1,454 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,410 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะสั้นพักตัว
แรงขายทำกำไรระยะสั้นส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวน และปิดที่ 1,482.67 จุด เพิ่มขึ้น 3.75 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.23 แสนล้านบาท ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินทำให้ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัว
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ (11/12) ปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง ดาวโจนส์ปิดบวกขณะที่เอสแอนด์พี 500 และแนสแดคปิดลบ นักลงทุนกังวลถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯในสภาคองเกรสไม่คืบหน้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 1,500 จุด ขึ้นทำจุดสูงที่ 1,503 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Star ในเขตซื้อมากเกิน และเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาขึ้น ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,410 จุด โดยมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วมอยู่ที่ 1,373 จุด ดัชนีตลาดระยะกลางเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายถัดไปอยู่ที่ 1,487 จุด และ 1,673 จุด ตามลำดับ
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 – 1,410 จุด กรณีที่จะกลับเข้าซื้อหุ้นด้วยสัญญาณ RSI ควรรอให้ปรับลดลงมาที่ระดับ 60 – 40 เปอร์เซ็นต์ (ค่าวันนี้อยู่ที่ 77 เปอร์เซ็นต์)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,490 – 1,503 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,472 – 1,460 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,410 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้านที่ 1,487 จุด
ต่างชาติเดินหน้าซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,478.92 จุด เพิ่มขึ้น 29.09 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.23 แสนล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะส่งผลให้ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัว ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,487 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคาร (8/12) ปิดตลาดในแดนบวก ดัชนีแนสแดคและเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงตลอดกาล ตลาดได้รับแรงหนุนจากความก้าวหน้าของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ดัชนีดีดตัวทะลุแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,454 จุด ขึ้นมาทำจุดสูงที่ 1,484 จุด และปิดที่ 1,478 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Long Bullish Candlestick ที่มีแนวรับอยู่ที่ 1/3 และ 2/3 ของความยาวของลำตัว ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนให้ระวังถึงความเสี่ยงช่วงปลายตลาดขาขึ้น ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นอยู่ที่ 1,366 จุด ดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านอยู่ที่ 1,487 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายถัดไปอยู่ที่ 1,487 จุด และ 1,673 จุด ตามลำดับ
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 – 1,400 จุด กรณีที่จะกลับเข้าซื้อหุ้นด้วยสัญญาณ RSI ควรรอให้ปรับลดลงมาที่ระดับ 60 – 40 เปอร์เซ็นต์ (ค่าวันนี้อยู่ที่ 77 เปอร์เซ็นต์)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,487 – 1,504 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,468 – 1,458 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,400 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปัจจัยเสี่ยงทางเทคนิคัล
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,449.83 จุด เพิ่มขึ้น 11.51 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.27 หมื่นล้านบาท ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลกลับมาเป็นบวก แต่ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีมีโอกาสพักตัวลง โดยดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (7/12) ปิดตลาดแบบไร้ทิศทาง ดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวลดลง ขณะที่แนสแดคปรับตัวขึ้นทำจุดสูงใหม่ตลอดกาล นักลงทุนกลับมากังวลถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวเพิ่มขึ้น
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง ทะลุแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,444 จุด ขึ้นมาทำจุดสูงที่ 1,454 จุด กำลังทดสอบแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,454 จุด แท่งเทียนปรากฏเงาส่วนบนในเขตซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนถึงความเสี่ยงช่วงปลายตลาดขาขึ้น ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับของเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้นอยู่ที่ 1,358 จุด ก่อนที่ดัชนีตลาดประปรับตัวขึ้นเข้าหาเป้าหมายที่ 1,487 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 – 1,400 จุด กรณีที่จะกลับเข้าซื้อหุ้นด้วยสัญญาณ RSI ควรรอให้ปรับลดลงมาที่ระดับ 60 – 40 เปอร์เซ็นต์ (ค่าวันนี้อยู่ที่ 73 เปอร์เซ็นต์)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,460 – 1,473 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,438 – 1,430 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,400 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ลุ้นทดสอบแนวรับ 1,346 จุด
แรงขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องในหุ้นกลุ่มนำตลาด กดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงปิดที่ 1,417.95 จุด ลดลง 2.92 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.8 หมื่นล้านบาท ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 1,002 ล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,346 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธ (2/12) ติดตลาดแบบไร้ทิศทาง ดาวโจนส์และเอสแอนด์พี 500 ปิดตลาดในแดนบวก ขณะที่แนสแดคปรับลดลง ตลาดยังคาดหวังถึงความก้าวหน้าในวัคซีนป้องกันโควิด-19
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นปิดช่องว่าง (Filling the gap) ขาลงที่ 1,429 – 1,431 จุด เป็นวันที่ 2 เป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงต่อ เนื่องจากเป็นสัญญาณลงต่อเนื่อง (Continuation pattern) สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะกระตุ้นแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีแนวโน้มพักตัวลงเข้าหาแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement (1187 จุด/1444 จุด) ที่ 1,346 จุด ซึ่งมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้น ทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วม ก่อนที่ดัชนีตลาดประปรับตัวขึ้นเข้าหาเป้าหมายที่ 1,487 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ แรงขายทำกำไรระยะสั้น จะส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,346 จุด กรณีที่จะกลับเข้าซื้อหุ้นด้วยสัญญาณ RSI ควรรอให้ปรับลดลงมาที่ระดับ 60 – 40 เปอร์เซ็นต์ (ค่าวันนี้อยู่ที่ 68 เปอร์เซ็นต์)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,429 – 1,437 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,408 – 1,397 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,400 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
จำหน่ายจ่ายแจก
แรงซื้อและแรงขายที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆและปิดลงที่ 1,420.87 จุด เพิ่มขึ้น 12.56 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.8 หมื่นล้านบาท ต่างชาติและสถาบันในประเทศกลับมาซื้อสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน แรงซื้อขายเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสแกว่งตัวผันผวนในลักษณะจำหน่ายจ่ายแจก (Distribution) ก่อนที่จะปรับตัวลง
แรงซื้อที่มีเข้ามาในตลาดหุ้นนิวยอร์กวันอังคาร (2/12) หนุนดัชนีปรับตัวขึ้น ดัชนี S&P 500 และดัชนีแนสแดคปรับตัวขึ้นทำจุดปิดสูงใหม่ตลอดกาล ท่ามกลางความเสี่ยงจากปัจจัยทางเทคนิคัล
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆขึ้นปิดช่องว่าง (Filling the gap) ขาลงที่ 1,429 – 1,431 จุด เป็นการปรับตัวขึ้นเพื่อลงต่อ เนื่องจากเป็นสัญญาณลงต่อเนื่อง (Continuation pattern) สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะกระตุ้นแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีแนวโน้มพักตัวลงเข้าหาแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement (1187 จุด/1444 จุด) ที่ 1,346 จุด ซึ่งมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้น ทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วม ก่อนที่ดัชนีตลาดประปรับตัวขึ้นเข้าหาเป้าหมายที่ 1,487 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ แรงขายทำกำไรระยะสั้น จะส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,346 จุด กรณีที่จะกลับเข้าซื้อหุ้นด้วยสัญญาณ RSI ควรรอให้ปรับลดลงมาที่ระดับ 60 – 40 เปอร์เซ็นต์ (ค่าวันนี้อยู่ที่ 69 เปอร์เซ็นต์)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,430 – 1,444 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,408 – 1,397 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,400 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
พักตัวเข้าหาแนวรับ 1,346 จุด
แรงขายทำกำไรที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยดิ่งลงปิดที่ 1,408.31 จุด ลดลง 29.47 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.2 แสนล้านบาท ต่างชาติและสถาบันในประเทศเป็นฝ่ายขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบ แรงขายที่มีออกมาส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,346 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (30/11) ปรับตัวลดลงจากแรงขายทำกำไรระยะสั้น แต่เดือนพฤศจิกายนเป็นเดือนที่ดีสำหรับตลาดหุ้นนิวยอร์ก ที่ปรับตัวขึ้นกว่า 10 เปอร์เซ็นต์
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำเป็นการปรับลดลงแบบมีช่องว่าง (Gap) แท่งเทียนเกิดเป็น Bearish Candlestick (กึ่งกลางลำตัวทำหน้าที่เป็นแนวต้าน) ตามหลังแท่งเทียน Dark Cloud Cover และ Hanging Man แรงขายทำกำไรระยะสั้น จะส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement (1187 จุด/1444 จุด) ที่ 1,346 จุด ซึ่งมีเส้น MMA2 ที่เรียงตัวแบบตลาดขาขึ้น ทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วม ก่อนที่ดัชนีตลาดประปรับตัวเข้าหาเป้าหมายที่ 1,487 จุด
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI เป็นลบ แรงขายทำกำไรระยะสั้น จะส่งผลให้ดัชนีตลาดปรับลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,346 จุด กรณีที่จะกลับเข้าซื้อหุ้นด้วยสัญญาณ RSI ควรรอให้ปรับลดลงมาที่ระดับ 60 – 40 เปอร์เซ็นต์ (ค่าวันนี้อยู่ที่ 67 เปอร์เซ็นต์)
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,419 – 1,430 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,397 – 1,386 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,400 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
1,454 จุด จุดเสี่ยงระยะสั้น
ดัชนีตลาดหุ้นไทยประจำวันศุกร์ (27/11) แกว่งตัวขึ้นแคบๆ แรงซื้อและแรงขายมีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ดัชนีตลาดปิดที่ 1,437.78 จุด เพิ่มขึ้น 4.22 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.73 หมื่นล้านบาท ต่างชาติขายสุทธิเล็กน้อยต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดถูกกดดันจากแรงขายทำกำไรระยะสั้น
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ (27/11) ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย จากแรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มค้าปลีก ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ในช่วงเทศกาลวันหยุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวแคบๆเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,454 จุด แท่งเทียนเกิดเป็นสตาร์และทำจุดสูงที่ 1,444 จุด ดัชนีตลาดเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น MMA2 และดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low) ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนให้ระวังถึงช่วงปลายตลาดขาขึ้น ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,339 จุด (แนวรับ 38.2% Fibonacci Retracement 1187/1344 จุด) ก่อนที่จะปรับตัวขึ้น
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวสลับกับการปรับตัวขึ้น เนื่องจากดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,446 – 1,454 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,428 – 1,416 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,400 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวต้าน 1,454 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มนำตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,433.56 จุด เพิ่มขึ้น 17.84 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8 หมื่นล้านบาท ต่างชาติกลับมาขายสุทธิครั้งแรกในรอบ 5 วัน ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัว ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,454 จุด สลับกับการพักตัว ดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพฤหัสบดี (26/11) ปิดทำการ เนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวขึ้นปิดในแดนบวก และมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านของจุดสูงที่ 1,432 จุด และมีจุดสูงเก่าที่ 1,454 จุดเป็นแนวต้านถัดไป แท่งเทียนเกิดเป็น Dark Cloud Cover และ Harami Cross ขาขึ้น ดัชนีพักตัวลงเพื่อปิดช่องว่าง (Filling the gap) ที่ 1,389 – 1,422 จุด ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนให้ระวังถึงช่วงปลายตลาดขาขึ้น ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง การเรียงตัวของเส้น MMA2 และดัชนีตลาดที่สร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low) เครื่องมือทางเทคนิคัลชี้ว่าดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวสลับกับการปรับตัวขึ้น เนื่องจากดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,443 – 1,454 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,420 – 1,407 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,400 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ปรับฐาน
แรงซื้อและแรงขายทำกำไรระยะสั้นที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆและปิดที่ 1,415.72 จุด เพิ่มขึ้น 14.09 จุด มูลค่าการซื้อขาย 1.17 แสนล้านบาท ต่างชาติเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดพักตัว โดยดัชนีตลาดยังแกว่งตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธ (25/11) ดัชนีดาวโจนส์และดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับลดลง ขณะที่ดัชนีแนสแดคปรับตัวเพิ่มขึ้น ดาวโจนส์เผชิญแรงขายทำกำไรหลังดัชนีปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 30,000 จุด
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวผันผวน หลังดัชนีปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,432 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Dark Cloud Cover และ Harami Cross ขาขึ้น ดัชนีพักตัวลงเพื่อปิดช่องว่าง (Filling the gap) ที่ 1,389 – 1,422 จุด ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI เตือนให้ระวังถึงช่วงปลายตลาดขาขึ้น ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง ซึ่งจะเป็นการปรับตัวลงก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น MMA2 และดัชนีตลาดที่สร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low) เครื่องมือทางเทคนิคัลชี้ว่าดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวสลับกับการปรับตัวขึ้น เนื่องจากดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,432 – 1,443 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,400 – 1,387 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,400 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทำกำไรระยะสั้น
แรงขายทำกำไรระยะสั้นที่มีออกมาในหุ้นกลุ่มนำตลาด ฉุดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงปิดที่ 1,401.63 จุด ลดลง 18.80 จุด มูลค่าการซื้อขายกว่า 1 แสนล้านบาท สถาบันภายในประเทศเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัว โดยดัชนีตลาดยังเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคาร (24/11) ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวกและทำจุดสูงตลอดกาล ตลาดขานรับความก้าวหน้าในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 สร้างความหวังว่าเศรษฐกิจปี 2564 จะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง และความชัดเจนในด้านการเมืองสหรัฐฯ สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดสูงปิดต่ำหลังดัชนีดีดตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,432 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Dark Cloud Cover เป็นการปรับตัวลงเพื่อปิดช่องว่าง (Filling the gap) ที่ 1,389 – 1,422 จุด ซึ่งจะเป็นการปรับตัวลงก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ สอดคล้องกับการเรียงตัวของเส้น MMA2 และดัชนีตลาดที่สร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low) เครื่องมือทางเทคนิคัลชี้ว่าดัชนีตลาดยังคงเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,973 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic เป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวสลับกับการปรับตัวขึ้น เนื่องจากดัชนีตลาดเคลื่อนตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,415 – 1,429 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,389 – 1,375 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,400 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
เป้าหมายแรก 1,454 จุด
แรงซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องในหุ้นกลุ่มพลังงาน แบงก์ สื่อสารและโรงไฟฟ้า หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,420.43 จุด เพิ่มขึ้น 31.09 จุด มูลค่าการซื้อขายกว่า 1 แสนล้านบาท นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ขายสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวก ทำให้ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,454 จุด แต่ภาวะซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีมีโอกาสพักตัว ระยะกลาง – ระยะยาวดัชนีตลาดยังมีทิศทางเป็นบวก
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (23/11) ตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นขานรับความก้าวหน้าของวัคซีนป้องกันโควิด-19 และข่าวว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน จะเลือกน่งเจเน็ต เยลเลนให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดดีดตัวขึ้นแบบมีช่องว่าง (Gap) ที่ 1,389 – 1,422 จุด ดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง แท่งเทียนเป็น Bullish Candlestick แท่งที่สอง มีกึ่งกลางลำตัวทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,408 จุด การเปิดขึ้นแบบมีช่องว่างจะทำให้ดัชนีตลาดพักตัวลงเพื่อปิดช่องว่าง (Filling the gap) ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,454 จุด ดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low) ขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงถึงดัชนีตลาดมีทิศทางเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มขาขึ้น
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,487 จุด, 100% FP = 1,673 จุด และ 161.8% FP = 1,975 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวเข้าหาแนวรับที่ 1,389 - 1,422 จุด ก่อนปรับตัวขึ้นต่อ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,437 – 1,454 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,408 – 1,397 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,390 -1,400 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
แบงก์หนุนตลาด
แรงซื้อที่มีเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์และพลังงาน ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,389.34 จุด เพิ่มขึ้น 19.92 จุด มูลค่าการซื้อขาย 9.05 หมื่นล้านบาท นักลงทุนรายบุคคลเป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิ สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะกระตุ้นแรงขายออกมา ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,340 จุด
การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐฯที่ทวีความรุนแรง สร้างความวิตกว่าสหรัฐฯอาจกลับไปใช้มาตรการล็อกดาวน์ กระตุ้นให้เกิดแรงขายออกมา ส่งผลให้ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันศุกร์ (20/11) ปรับตัวลดลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง แท่งเทียนเกิดเป็น Bullish Candlestick ที่มีกึ่งกลางลำตัวทำหน้าที่เป็นแนวรับอยู่ที่ 1,379 จุด ดัชนีทะลุแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,375 จุด ภาวะซื้อมากเกินภาวะซื้อมากเกินและการเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI ซึ่งเป็นสัญญาณปลายตลาดขาขึ้น ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,340 จุด และมีเส้น MMA2 เป็นแนวรับร่วม ดัชนีตลาดจะมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,426 จุด, 100% FP = 1,612 จุด และ 161.8% FP = 1,911 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวเข้าหาแนวรับที่ 1,340 - 1,321 จุด ก่อนปรับตัวขึ้นต่อ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,400 – 1,413 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,378 – 1,368 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,340 -1,321 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ระยะสั้นเสี่ยง
แรงซื้อที่มีเข้ามาช่วงปลายตลาด หนุนดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นปิดที่ 1,364.59 จุด เพิ่มขึ้น 14.78 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.68 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัว ระยะกลางดัชนีตลาดมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันพุธ (18/11) ตลาดปรับตัวลดลงหลังดัชนีดีดตัวขึ้นสร้างจุดสูงใหม่ ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence กดดันให้เกิดแรงขายออกมา ส่งผลให้ดัชนีระยะสั้นมีโอกาสพักตัวลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดเปิดต่ำปิดสูง ดัชนีตลาดปรับตัวเข้าหาแนวต้านของจุดสูงเก่าที่ 1,365 จุด และมีช่องว่างขาลงที่ 1,382 – 1,396 จุด เป็นแนวต้านร่วม ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence ของ RSI ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวสลับกับการปรับตัวขึ้น ดัชนีตลาดจะมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,426 จุด, 100% FP = 1,612 จุด และ 161.8% FP = 1,911 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวเข้าหาแนวรับที่ 1,321 จุด ก่อนปรับตัวขึ้นต่อ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,374 – 1,386 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,353 – 1,341 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,321 – 1,310 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
ทดสอบแนวรับ 1,327 จุด
แรงขายจากภาวะซื้อมากเกินส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวลงปิดที่ 1,349.81 จุด ลดลง 1.25 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.99 หมื่นล้านบาท ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 1,417 ล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ภาวะซื้อมากเกินจะทำให้ดัชนีตลาดเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดระยะสั้นพักตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,327 จุด
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันอังคาร (17/11) ปรับตัวลดลงหลังตลาดปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงก่อนหน้านี้ ยอดค้าปลีกที่ลดลงส่งผลให้เกิดแรงขายและกดดัชนีตลาดปรับลดลง
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวผันผวนในกรอบแคบๆและเคลื่อนตัวออกด้านข้าง ดัชนีตลาดหลุดแนวรับที่ 1,352 จุด แท่งเทียนเกิดเป็น Star ในเขตซื้อมากเกิน สะท้อนถึงการเกิดแนวต้าน ภาวะซื้อมากเกินและสัญญาณ Bearish Divergence ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขายออกมาเป็นระยะ ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,327 จุด โดยมีช่องว่าง (Gap) ขาขึ้นอยู่ที่ 1,285 – 1,330 จุด ทำหน้าที่เป็นแนวรับร่วม ดัชนีตลาดจะมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,426 จุด, 100% FP = 1,612 จุด และ 161.8% FP = 1,911 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณทั้งระยะสั้นและระยะยาวเป็นบวกในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวเข้าหาแนวรับที่ 1,321 จุด ก่อนปรับตัวขึ้นต่อ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,360 – 1,371 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,340 – 1,330 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,321 – 1,310 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity
Por : Technical Analysisตลาดหลักทรัพย์ไทย
พักตัวตามแรงขายระยะสั้น
ดัชนีตลาดหุ้นไทยเปิดสูงปิดต่ำตามแรงขายที่มีออกมา เนื่องจากเกิดภาวะซื้อมากเกิน ดัชนีตลาดปิดที่ 1,351.06 จุด เพิ่มขึ้น 4.59 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.84 หมื่นล้านบาท ต่างชาติกลับมาขายสุทธิครั้งแรกในรอบ 6 วัน สัญญาณทางเทคนิคัลเริ่มกลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน จะทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลง ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อ
ตลาดหุ้นนิวยอร์กประจำวันจันทร์ (16/11) ปรับตัวขึ้นปิดในแดนบวก ตลาดขานรับข่าวบริษัทโมเดอร์นา อิงค์ แถลงถึงผลการทดลองวัคซีนโควิด-19 ในเฟสที่ 3 สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดแกว่งตัวผันผวนในกรอบแคบๆ ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงที่ 1,365 จุด ก่อนจะปรับตัวลงปิดต่ำที่ 1,351 จุด ดัชนีตลาดปรับตัวลงหลุดแนวรับที่ 1,352 จุด สัญญาณลบในเขตซื้อมากเกินและแนวโน้มการเกิดสัญญาณ Bearish Divergence ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,327 จุด โดยมีช่องว่าง (Gap) ขาขึ้นอยู่ที่ 1,285 – 1,330 จุด ทำหน้าที่เป็นแนวรับ ดัชนีตลาดจะมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นเมื่อดัชนีตลาดสร้างจุดต่ำยกสูง (Higher Low)
จากกราฟรายสัปดาห์ ดัชนีตลาดยืนยันการจบคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น 2) ที่ 1,187 จุด หลังดัชนีตลาดสามารถยืนปิดเหนือ 1,270 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับขึ้นเป็นคลื่นส่ง (Impulse wave) คลื่น 3) ซึ่งมีเป้าหมายแรกอยู่ที่ 1,454 จุด
ตามหลักการคลื่นเอลเลียต คลื่น 3) จะยาวเท่ากับ 1.618 เท่าของความยาวของคลื่น 1)
หมายเหตุ 61.8% FP = 1,426 จุด, 100% FP = 1,612 จุด และ 161.8% FP = 1,911 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ RSI และ MACD เป็นบวก ขณะที่สัญญาณ Modified Stochastic กลับมาเป็นลบในเขตซื้อมากเกิน ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นเสี่ยงที่จะเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนีตลาดมีโอกาสพักตัวเข้าหาแนวรับที่ 1,321 จุด ก่อนปรับตัวขึ้นต่อ
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,360 – 1,371 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,341 – 1,330 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 40 เปอร์เซ็นต์ และซื้อเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อดัชนีตลาดอ่อนตัวลงเข้าหาแนวรับที่ 1,321 – 1,310 จุด
#ป.ดัชนี, #บัญชรหุ้น, #วิเคราะห์หุ้น, #Forex, #Commodity