3 เสาหลักของการเทรด (Trading)การเทรดให้มีกำไร ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงสิ่งเดียว
3 เสาหลัก แบ่งระดับความสำคัญของสำหรับการเทรด
- Technical การวิเคราะห์กราฟ: 10%
- Money Management การจัดการเงินทุน: 30%
- Psychology การจัดการกับอารมณ์: 60%
ทั้ง 3 สิ่งนี้ มันต้องเกื้อหนุนกัน ...เลือกอันใดอันหนึ่งไม่ได้
วิเคราะห์กราฟเก่ง …แต่บริหารเงินไม่ดี แบบนี้พลาดครั้งเดียวอาจหมดตัว
เก่งกราฟ …บริการเงินดี …แต่แพ้อารมณ์ ประสิทธิภาพการตัดสินใจก็ลดลง
#และนอกนี้จากยังมีปัจจัยเสี่ยงยิบย่อยอื่น ๆ อีกนะ เช่น
- ความเสถียรของระบบแพลตฟอร์มเทรด
- ความปลอดภัยระบบแพลตฟอร์มเทรด (รวมถึงตัวเราด้วย)
- เครื่องไม้เครื่องมือของระบบแพลตฟอร์มเทรด
…นักเทรดกดส่งคำสั่งผิด อะไรประมาณนี้!!!
Moneymanagement
หลักการบริหารเงินลงทุน (Money Management) สำหรับผู้เริ่มต้นสวัสดีครับ วันนี้ผมอยากจะมาแนะนำการบริหารเงินลงทุนด้วยระบบ T-L-S Trend-Level-Signal
จากประสบการณ์ของผม ได้พบว่ามี Trader หลายๆคนที่มีปัญหาการลากพอร์ทให้ติดลบ ตรงข้ามกับคำพูดที่ว่า
"Let's the profit run, cut the losers lose"
กลายเป็น
"Let's the losers run, cut the profit lose"
หลักการลงทุนในตลาดทั่วๆไป เรามักจะได้ยินคำว่า "ในการเทรดแต่ละครั้ง ไม่ควรเสี่ยงเกิน 1-2% ของเงินทั้งหมด"
แต่ในความเป็นจริง เรากลับได้ยินคำว่า "จงคำนวณว่าเงินในพอร์ทของเรา ใช้ maximum lot size ได้เท่าไร"
Standard lot จริงๆคือ 100,000 USD ต่อ 1.00 Lot
หากคุณลงทุนตามหลักการ นั่นหมายความว่าในการเข้าออเดอร์เทรดแต่ละครั้ง จุด stop loss ของคุณต้องห่างไม่เกิน 200 จุดสำหรับการลงทุน 1 standard lot
เมื่อคุณมีเงินไม่ถึง 100K USD คุณต้องถามตัวเองว่า
ในการเทรดครั้งนี้ "ฉันอยากเสี่ยงจำนวนเงินเท่าไร คิดเป็นกี่%ของพอร์ท"
"จุด Target point ของฉัน ให้ Risk:Reward ratio เท่าไร"
*โดยทั่วไป Risk:Reward ratio ขั้นต่ำ ควรจะเป็น 1:3 เป็นอย่างน้อย หมายความว่า หากคุณมี SL 200 จุด TP คุณต้องอย่างน้อย 600 จุด
เห็นมั้ยครับ การใช้หลัก common sense ที่ถามตัวเองว่า การลงทุนครั้งนี้ อยากเสียเงินเท่าไร จะนำไปสู่การ manage เงินที่สำคัญคือ
"จะใช้ Lot เท่าไรดี?
การจะตอบคำถามนี้ได้นั้น
1. เราจะ "ซื้อ" หรือ "ขาย"
เรากำลังเล่น "go with the trend" หรือเล่น "counter trend" เรากำลังตามเทร็นด์ใน Time frame ใหญ่ หรือสวนเทร็นด์
2. เราต้องรู้ก่อนว่าจุด stop loss เราอยู่ตรงไหน จุด target point เราอยู่ตรงไหน
การที่จะรู้ได้นั้น เราต้องรู้ว่า key level ที่ราคาของ asset ที่เราลงทุนจะกลับตัวที่จุดไหน โดยการหาจุดเหล่านี้มีหลายวิธี ไม่ว่าจะลาก Trend line, ใช้ Fibonacci, หรือนับ Elliot wave
3. เราต้องรอ "สัญญาณ" ตรงนี้สำคัญมากๆ ครับ ท่องไว้เลย "ไม่มีสัญญาณฉันจะไม่เข้า"
Level ทั้งหลายที่เราหาได้จากเครื่องมือต่างๆ ไม่มีใครบอกได้ว่าถูกหรือผิด สิ่งที่่จะบอกได้ว่าถูกหรือผิด คือ สัญญาณการกลับตัว
สัญญาณการกลับตัวสามารถหาได้จากเครื่องมือหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น indicator เช่น RSI divergence หรือ candlestick เช่น Pin bar หรือ reversal pattern เช่น Head and shoulder, diamond top and bottom etc.
แต่สัญญาณทั้งหมดนี้จะเชื่อไม่ได้เลย หากไม่ได้เกิดบน "key level" ข้อนี้สำคัญมาก หากไม่ถึง key level ไม่ต้องมองหา divergence ครับ ไม่มีประโยชน์
สัญญาณที่จะให้จุด stop loss ของเรามีตั้งแต่ candle 1 แท่ง เช่น Pin bar หรือสัญญาณแบบกลุ่ม เช่น reversal pattern
ตัวอย่าง
1. เมื่อเกิด Pin bar บนแนวรับหรือแนวต้านสำคัญ โดยมีขนาดของแท่ง candle 200 จุด นั่นหมายความว่า หากคุณโชคดีพบสัญญาณการกลับตัวตอนกำลังเกิดพอดี คุณจะได้ตำแหน่ง stop loss ที่ 200
2. Pattern เช่น Head and shoulder จะมีจุด stop loss ตามทฤษฎี ซึ่งอยู่นอกเหนือscope ของโพสนี้ ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมครับ
เมื่อคุณได้
1. Trend จะซื้อหรือขาย
2. Level ราคามาถึงเลเวลที่คุณวิเคราะห์แล้ว
3. เกิดสัญญาณกลับตัวแล้ว
ถึงจุดนี้ ถามตัวเองตามนี้ครับ
"คุณอยากเสียเงินเท่าไรหากคุณวิเคราะห์ผิด"
"จุด Target ของคุณคือเท่าไร คุ้มเสี่ยงมั้ย R:R เป็นเท่าไร"
คำนวณ Lot size จากจุด SL ครับ ถามตัวเองบ่อยๆ "อยากเสียเงินเท่าไรหากวิเคราะห์ผิด"
เรามาดูตัวอย่างกันครับ
GBP/USD major forex pair ผมคำนวณหา key level ด้วยวิธี Fibonacci แล้วพบว่าแนวต้าน/รับที่แข็งแกร่งคือ 1.302
เมื่อราคาได้ทะลุลงมาใต้ 1.302 มันจะกลับไปเทส เพราะฉะนั้น Trend คือ ขาย
จากภาพจะเห็นได้ว่า เมื่อราคาเข้าใกล้ 1.302 ได้มีการส่ง "signal" ในรูปแบบของ Pin bar อันเล็กๆ ที่มีความยาวประมาณ 170 จุด
นี่คือ SL ครับ 170 จุด
แนว target ที่ผมคำนวณได้มี 2 จุดคือแนว Fibonacci ขนาดกลางบริเวณ 1.292-1.290 และแนว Fibonacci ขนาดใหญ่ ที่ 1.286-7
หมายความว่า Pin bar signal ที่เกิดขึ้นบน Key level 1.302 มี SL 170 จุด โดยมี
Target แรกที่ 1.292 (1000 จุด) และ
Target ที่ 2 ที่ 1.287 (1500 จุด)
SL ผม 170 จุด นั่นหมายความว่าการเทรดนี้ R:R อยู่ที่ 1:5 หรือ 1:7
สำหรับผม คุ้มเสี่ยงครับ
ถ้าคุณมีเงิน 100k usd คุณเล่น 1 lot เสี่ยงเงิน 170 usd (0.17% ของพอร์ท) แรกกับโอกาสกำไร 1000 usd (1%)
"คุณยอมเสี่ยงมั้ย?"
มาดูกันต่อครับ
ราคาได้มาทำการหยุดพักที่แนว Fibo เล็กๆที่ 1.292 ก่อนที่จะลงไปต่อที่แนวใหญ่ที่ผมคิดไว้ คือ 1.286-7
หากคุณเข้าเทรดครั้งนี้ คุณจะกำไรไปแล้ว 1-1.5% ด้วยการเสี่ยงเงิน 0.17%
หลังจากนั้นราคาได้ทำการส่ง "สัญญาณ" กลับตัว ในรูปของ Bullish diver อันเล็กๆ (ผมเทรด MT4, บนมือถือผม มีสัญญาณ Bullish Pinbar อันใหญ่เกิดขึ้นที่ 4 hr ครับ)
พร้อมทั้งทำ Bullish engulfing pattern
เมื่อพิจาณาจากสัญญาณแล้ว ผมมีจุด SL ตรงนี้ 1-200 จุด หากผมคำนวณ target ด้วยวิธีต่างๆ แล้ว R:R มากกว่า 1:3 ผมก็จะเข้าเทรดครับ
จะเห็นว่า หากเราทำการบ้าน หา key level มาดี
เราเฝ้า "รอ" สัญญาณบน key level
เราทำการบ้านวิเคราะห์ trend มาอย่างดี
เราจะได้ตำแหน่งเข้าที่ดี มี R:R เหมาะสม
"ไม่มี" คำว่าลาก แล้วเราจะไม่เครียด ไม่ต้องเพิ่มไม้โดยไม่จำเป็น
เพราะการที่ปล่อยให้เกิดการ "ลาก" แสดงว่าคุณไม่ได้ทำการบ้าน ไม่มี level ในใจ ไม่มีจุดเข้าจุดออกก่อนซื้อขาย
อยากดอย แนะนำไปดอยหุ้นครับ อย่ามาดอย Forex
Trend-Level-Signal และ Target คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับ Money management ครับ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หากคุณใช้หลักการ Money management นี้ การออก order ของคุณจะลดลง และกำไรจะเพิ่มขึ้น
แต่คนที่จะไม่แฮปปี้คือ Broker หรือ Introducing broker ของคุณครับ
เพราะว่าหลักการหาเงินของคนพวกนี้คือ
ทุกๆ order ที่คุณทำการวาง คนเหล่านี้จะได้ commission ครับ
เช่น คุณวาง order 1.0 lot introducing broker คุณจะได้เงินไปทันที 1 usd ครับ
หากคุณใช้หลักการบริหารเงินแบบที่ผมพูดมา คุณคิดว่าเดือนนึง คุณจะเหลือ order กี่ครั้ง
คนพวกนี้จะได้เงินจากคุณมากน้อยแค่ไหน ทำไม copy trade หรือการ clone หรือ bot ทั้งหลายจึงออก order ให้ถี่ๆ
คุณกำลัง "ถูกสูบเงิน" ครับ
การจะอยู่รอดได้ต้องหาความรู้ และเท่าทันผู้ไม่หวังดีทั้งหลายในตลาดครับ
ผมโดนมาหมดแล้ว อย่าทำพลาดแบบผมครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ของแถมก่อนจบโพสท์นี้ครับ
ทำไมคุณถึงไม่ควรติด "ดอย"
เรามักจะได้ยินคำว่า "คนรวยจะไม่ขายหุ้น เค้าจะซื้อหุ้นเพราะเค้าวิเคราะห์พื้นฐานของหุ้นนั้นมาดี ไม่มีวันล้ม เค้าจะเป็นเจ้าของบริษัท กินเงินปันผล เมื่อหุ้นลง เค้าก็จะซื้อเพิ่ม"
สำหรับผม ผมจะถามกลับว่า "ตกลงรวยแล้วเลยมาลงทุน" หรือว่า "มาลงทุนเพราะอยากรวย"
เอาดีๆครับ มันคนละเรื่องกัน
คนรวยที่ฉลาดเค้าก็จะไม่ Buy and Hold หรอกครับ มีงานวิจัยตีพิมพ์ออกมาเยอะนะครับ ว่าการวิเคราะห์ตลาด ซื้อขายด้วยการวิเคราะห์ Sector rotation สามารถเอาชนะวิธี Buy and hold ได้ 3-5 เท่า
การที่คุณยังไม่รวย แล้วมาลงทุน แปลว่า คุณอยากรวย
หากคุณไม่มี stop loss ไม่ทำการบ้าน ไม่หาเลเวล สิ่งที่จะเกิดคือ
"เงินจม"
สิ่งเหล่านี้คือ "Opportunity cost" มันคือค่าเสียโอกาส แทนที่จะเอาเงินไปวางไว้ในจุดที่มันงอกเงย กลับต้องมาลุ้นว่าเมื่อไรราคาสินทรัพย์จะกลับมาจุดเท่าทุน
ทำไมที่ปรึกษาทางการเงินของคุณถึงบอกว่า ให้ซื้อหุ้นทุกเดือน ถัวๆเฉลี่ยๆ เป็นการออม
ไม่ใช่เลยครับ
เค้าได้ค่า commission จากการซื้อขายทุกๆเดือนของคุณครับ
ถ้าเจอ Financial advisor ไหนแนะนำแบบนี้ แนะนำให้เปลี่ยนครับ เค้าแคร์แค่เม็ดเงินที่เข้ากระเป็นเค้าเท่านั้นแหละครับ
ถ้าอยากรู้ว่า Financial advisor ที่แนะนำให้ซื้อหุ้นทุกเดือนมีความสามารถแค่ไหน ให้ถามว่า
"มีวุฒิ CMT มั้ยครับ" ถ้าไม่มี แนะนำให้ฟังหูไว้หูครับ
Happy Trading/Investing ครับ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผมได้ทำวิดีโอแนะนำการใช้ Fibonacci คร่าวๆไว้ตามนี้ครับ ในอนาคตอาจมีการอัพเดทได้ หากไม่อยากพลาดรบกวนกดติดตามครับ
Fibonacci part 1
Fibonacci part 2
ตัวอย่างการวิเคราะห์ Trend ด้วย Elliot และ Fibonacci
AUDUSD 25/2/2019 Buy AUDUSD SL 0.7000
TP 1 0.7300
TP 2 0.7300+
ราคา AUDUSD วิ่งในกรอบ 0.7000-0.73000 สำหรับมุมมองด้าน Buy สามารถซื้อได้ในบริเวณ 0.7155-0.7000 และ SL บริเวณ 0.7000 ลงไปเล็กน้อย
การซื้อในบริเวณนี้และ TP ในบริเวณแนวต้าน 0.7300 จะมีค่า RRR ใกล้เคียง 1
ส่วนการ TP นอกจาก 0.7300 ยังสามารถถือแล้วปิดตามรูปแบบราคา เช่นรอดู Price action ทำท่ากลับตัวลงของราคาเพื่อปิดการเทรด ในกรณีที่ต้องการรอเพื่อปิดเหนือ 0.7300 ก็ได้
การตั้ง SL บริเวณนี้สำหรับบัญชีแบบ Standard จะมีการสูญเสียประมาณ 10-15 USD ขึ้นกับตำแหน่งในการเข้าเทรด ดังนั้นหากใช้ Money management ในแบบควบคุมความเสี่ยงด้วย 1-2% rule
พอร์ตลงทุนควรมีวงเงินประมาณ 1000 USD ขึ้นไป หากวงเงินลงทุนน้อยกว่านั้นอาจใช้เป็นบัญชีประเภท Cent / Micro แทน
AUDJPY จังหวะเข้าซื้อแบบเบรคเอาท์ และกลยุทธ์การแบ่ง Orderเทรนด์ระยะกลางมีแรงยกตัวจากบริเวณ 80 ขึ้นไป หากเบรค 85 ขึ้นไปและยืนได้จะยืนยันการขึ้นระยะ D1 รอบใหม่ไปสู่แนวต้าน 90
โอกาสในการเล่น เทรด Long เบรคเอาท์ 85 ไปสู่ 90 (ระยะสั้น)
หรือใช้เลเวอเรจต่ำไปสู่ 100 โดยแบ่งการซื้อเป็น 3 ORDER โดยทั้ง 3 ORDER ใช้มาร์จิ้นรวมกัน < 2% ของพอร์ตการลงทุนเพื่อควบคุมความเสี่ยงกรณีผิดทาง
สามารถใช้การเพิ่มเลเวอเรจเมื่อผิดทางในนัดที่ 3 เพื่อดึงค่าเฉลี่ยลงให้ได้เปรียบมากขึ้น และเริ่ม SL ในบริเวณใต้แนวรับสำคัญ 70 ลงไป
EURUSD - รอจังหวะ Short บริเวณ 1.2 : ระยะยาวไอเดียเทรดคู่สกุล EURUSD ระยะยาว
ด้านพื้นฐานมีปัญหาจากความไม่เป็นเอกภาพ และอิตาลี ส่วนทางสหรัฐตัวเลขรายงานทางเศรษฐกิจหลายตัวออกมาดูดี
ในขณะที่ทางเทคนิคช่วงก่อนหน้านี้ USD แข็งค่าตั้งแต่เมษายนทำให้ EURUSD ลงมาพอสมควร และเริ่มพักตัวในช่วงนี้
เมื่อเศรษฐกิจมีปัญหา นักลงทุนจะเลือกย้ายเงินทุนไปยังทรัพย์สินปลอดภัย หรือที่ๆมีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า - เสี่ยงน้อยกว่า
ประเด็นที่น่าสนใจหนึ่งคือคริปโตเคอเรนซี่ ที่เริ่มมีรูปแบบ Short Squeeze ตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว (มีสัญญา short ปริมาณมาก)
หากสัญญาจำนวนมากถูกบังคับปิด หรือ panic จะทำให้เกิดแรงซื้อในเหรียญจริงคืนเป็นปริมาณมาก ทำให้เกิดพลังฝั่งซื้อดันราคาสูงขึ้นอีกครั้งได้
กราฟราคาของ ETHUSD ETHEUR เริ่มมี Gap กว้างขึ้น แสดงถึงนักลงทุนฝั่งยุโรปเริ่มสะสมคริปโตเคอเรนซี่มากขึ้นในอัตราเพิ่มมากกว่าฝั่งสหรัฐ
ในภาพรวมของการเทรดในช่วงนี้แอดมิน B จึงเลือก Short EURUSD / Long ETHEUR
โดยหาจังหวะ Short EURUSD เมื่อพักตัวสูงขึ้น (บริเวณ 1.2 ขึ้นไปซึ่งเป็นแนวต้านสำคัญ)
การบริหารความเสี่ยง เทรดหลายสินค้า เลือกแบ่งทุนต่อสินค้าด้วยระดับมาร์จิ้น 2 % จากขนาดพอร์ตรวม สามารถใช้การแบ่งการเข้าด้วยกระสุนหลายนัด และเข้าเมื่อนัดก่อนหน้านั้นติดลบเท่านั้น เพื่อดึงค่าเฉลี่ยให้สูงขึ้น
ระยะ SL สุทธิ 1.3 ซึ่งเป็นแนวต้านสำคัญถัดไป โดยบวก offset ระยะ ขึ้นไปเป็นระดับ SL รวมของกระสุนทั้งหมดที่ยิง EURUSD (โดยเมื่อถึงระดับ SL มาร์จิ้นที่สูญเสียจะ = 2% ของพอร์ต)
Gold-XAUUSD กลยุทธ์เทรดสำหรับฝั่ง BuyMajor resistance 1375
Major support 1050
เราชอบเทรดด้าน Buy ทองคำ โดยวางแผนการเทรดเข้าแบบกริดที่ 1300 1250 1200 1150 1100 1050 โดย SL 800
Money management : เลเวอเรจแบบแตกต่างระหว่างการยิง / การเพิ่มขนาดการยิงด้วยมาทิงเกลแบบ SL 800
Position average target : 1200
การบริหารความเสี่ยงยังสามารถใช้ 2% rule ได้
หากพอร์ตมีทุน 10000 USD 2% คือ 200 USD
หากมาร์จิ้นการ Buy ต่อนัด SL ที่ 800 = 25 จะซื้อได้ 8 นัด
Google Buy on dipsกลุ่มหุ้น FAANG Facebook (FB), Amazon (AMZN), Apple (AAPL), Netflix (NFLX), and Alphabet (GOOG) หรือกลุ่มหุ้นที่เป็นที่นิยมเพราะคนรู้จักทั่วโลก
มักจะมีรูปแบบราคาที่มีเทรนด์ชัดเจน การย่อตัวและความผันผวนไม่สูงแบบคริปโตเคอเรนซี่
หากเราวางกลยุทธ์ขาซื้อกับคริปโตโดยรอการย่อต่ำค่อยเริ่มสะสม position buy เราสามารถรอราคาลงต่ำกว่า 50% ถึงจะเริ่มพิจารณาการเข้าสะสมได้
แต่กับหุ้นหลายๆตัวนั้นต่างออกไป การรอให้ราคาต่ำกว่า 50% อาจเป็นไปได้ยาก (แต่ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้)
ในกรณีนี้เราจะเลือกกลยุทธ์ที่เล่นต่างจากคริปโตเคอเรนซี่ โดยกลยุทธ์หนึ่งที่เราชอบคือ Buy on dips หากสินค้าเป็นเทรนด์ขาขึ้น เรารอให้ราคาย่อลง แล้วเข้าซื้อในบริเวณนั้น
ซึ่งจะทำให้ระยะ SL ของเราสั้น ขณะที่ TP ตั้งที่ All time high หรือสูงกว่านั้น (แบ่งยิงเป็นหลายนัด ปิดตามระยะ TP1 TP2...)
Reward to Risk Ratio ที่ได้เปรียบ และใช้การทำ Money management โดยคุมให้ 1 สินค้านั้นเราใช้มาร์จิ้นเพียงแค่ 2% จากทั้งหมด
ตัวอย่างการวางกลยุทธ์ - Money Management
- เราพิจารณาแนวโน้มระดับกลางว่าตอนนี้ Google เกิดการตกลงในช่วงก่อนหน้าจากความกังวลของนักลงทุนต่อภาพรวมของสหรัฐ จากนั้นเริ่มมีสัญญาณกลับตัวขึ้นมาอีกครั้งจนก่อเป็นรูปแบบการวิ่งแบบ Ranges (Sideway)
ในกรอบแนวรับสำคัญคือ 1000 แนวต้านสำคัญคือ 1200
หากมาร์จิ้นต่อการซื้อ 1 นัดคือ 25 USD โดยวาง SL บริเวณ 950 ได้ (และมาร์จิ้นบริเวณนั้นจะเหลือเข้าใกล้ 0)
แล้วเราออกแบบแผนการยิงในพื้นที่โซน 1000-1200 ด้วยจุดยิงดังรูป (เส้นประสีเขียว) รวม 4 นัด = 100 USD
ในหลัก 1% rule คือเมื่อ SL เงินทุนเราจะหายไปเพียง 1% ดังนั้นในการวางแผนนี้เราควรมีทุน 10000 USD แล้วยิงตามแผนนี้ได้ 4 นัดตามกริดสีเขียว
ค่าเฉลี่ยของทั้ง 4 นัดจะอยู่บริเวณ 1100-1000 ซึ่งถือว่ามี RRR ได้เปรียบ หาก TP บริเวณ All time high 1200
// หากให้เดา predict อนาคตเล่นๆ ขอเดาว่าราคาจะวิ่งทำทรงสามเหลี่ยม เพื่อสะสมแรงก่อนเลือกทางต่อไปในกรอบ 1033-1106 ดังนั้นสามารถใช้ Bolinger Band จับการเบรคเพื่อยิงซื้อก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
* สามารถดู Stochastic หรือ RSI ประกอบเพื่อยืนยันรูปแบบการยกตัวหรือกดตัวของราคาประกอบการวิเคราะห์ก็ได้
AUDUSD โซนซื้อในภาพใหญ่เราวางแผนที่จะเทรด Zone ปัจจุบัน (C) ในแบบด้าน Buy เป็นหลักโดยเป้าหมายระยะยาวอยู่ในโซนที่สูงกว่า ส่วนเป้าหมายระยะสั้นคือที่แนวต้านตามลำดับ
Major resistance 0.8
Major support 0.7
Buy zone : 0.76 ลงมา
โดยรอสัญญาณกลับตัวขึ้นใน Buy zone อาจเป็น Price action / Price pattern ขึ้นกับการวิเคราะห์ (ใน TF H4/D1)
Stop loss (ระยะสั้น) 0.68 ลงไป
Stop loss (ระยะยาว) 0.6 ลงไป
การบริหารขนาดการเทรด ใช้ 2% rule ด้วยเลเวอเรจต่ำกรณีเทรดระยะยาว และเลเวอเรจสูงขึ้นเมื่อระยะเทรดสั้น
AUDCHF วิธีบริหารทุนเทรดในภาพใหญ่ของขา Buyมุมมองกลยุทธ์สำหรับนักลงทุนที่มองด้าน AUD น่าสะสมระยะยาว
หากมีมุมมองพื้นฐานในด้านเทียบ AUD มีความแข็งแกร่งกว่า CHF
ZONE A อยู่ในแถบล่างจากข้อมูลราคา แผนการเล่นเหมาะกับวิธีเลือก ฺBuy เพื่อความได้เปรียบ
สามารถออกแบบแผนการเล่นในแง่ความคาดหวังจะไปสู่ ZONE B โดยออกแบบการเทรดที่ใช้ทั้งการเก็บสั้นเล่นรอบและเก็บยาวแบบ snow ball
- บริเวณ 0.755 สามารถตั้งเป็นจุดสะสม position แล้วพยายามดึงค่าเฉลี่ยลง
- บริเวณทำกริดเพื่อสร้าง Cash flow คือบริเวณ A1 0.755 - 0.715 กับ A2 0.715- 0.68
การบริหารทุน ตัวอย่างการใช้ 2% rule
สมมุติพอร์ตมีขนาด 10000 usd, 2% = 200 usd
หากการยิงแต่ละครั้งใช้ 25 usd margin
*โดยตั้งจุด SL = 0 / 0.65 - 0.6 ขึ้นกับกลยุทธ์
นั่นหมายถึงจะยิงซื้อได้ 8 นัด แบ่งยิงโซน A1 4 นัด A2 4 นัด
โดยจะใช้เทคนิคัลในเฟรม H4 / D1 หรือการวางกริดย่อยเข้าไปอีกระดับก็ได้
NEOUSD รอจังหวะเข้าซื้อในช่วง 70-50Major resistance 90
Major support 50
มีการพักตัวเมื่อราคาไปชนแนวต้านที่ 90 หลังจากฟื้นตัวจากเทรนด์ลงที่ได้ไปทดสอบแนวรับ 50
โอกาสในการลงทุน : ช่วงโซน 70 ถึง 50 โดยรอการเกิด Price action (H4-D1) หรือสัญญาณกลับตัวแบบอื่นๆ
การควบคุมความเสี่ยง สามารถใช้ขนาดมาร์จิ้นในการเทรด 2% จากทั้งหมดของพอร์ตโดยตั้ง SL=0
BCHUSD รอจังหวะเข้าในโซน 1200-600Major Resistance 1800
Major Support 600
มีการพักตัวเมื่อราคาไปชนแนวต้านที่ 1800 หลังจากฟื้นตัวจากเทรนด์ลงที่ได้ไปทดสอบแนวรับ 600
โอกาสในการลงทุน : ช่วงโซน 1200 ถึง 600 โดยรอการเกิด Price action (H4-D1) หรือสัญญาณกลับตัวแบบอื่นๆ
การควบคุมความเสี่ยง สามารถใช้ขนาดมาร์จิ้นในการเทรด 2% จากทั้งหมดของพอร์ตโดยตั้ง SL=0
สำหรับคนที่กลัวราคาขึ้นไปก่อน อาจใช้วิธีแบ่งกระสุนเป็นหลายนัด แล้วทะยอยซื้อแบบกริด โดยออกแบบให้ค่าเฉลี่ยยังคงอยู่บริเวณเป้าหมายราคาที่ตั้งใจจะเก็บ
ตัวอย่างเช่น แทนที่จะซื้อ 1 นัดด้วยทุนทั้งหมดสำหรับเทรดสินค้าตัวนี้ที่ราคา 1200
อาจใช้วิธีทะยอยแบ่งเข้า โดยเข้านัดแรกที่ 1400 ด้วยมาร์จิ้นครึ่งเดียวของที่จะยิงกับสินค้าตัวนี้ ส่วนอีกครึ่งจะเข้าก็ต่อเมื่อราคาตกไป 1000 เพื่อทำให้ค่าเฉลี่ยสองนัดยังคงอยู่บริเวณ 1200 เหมือนเดิม
XLM โซนในการซื้อสะสม รอ pullback / price action กลับตัวMajor resistance 0.4
Major support 0.2
ในภาพใหญ่ช่วงก่อนหน้ามีแรงซื้อดันขึ้นจาก 0.2 หยุดเทรนด์ลงไว้ได้ แล้วมีการพักตัวหลังจากขึ้นไปทดสอบ 0.4
น่าจะมีการสะสมแรงอีกระยะก่อนเลือกทิศทาง โดยหากเบรค 0.2 ลงหมายถึงเทรนด์ลงจะยังคงไปต่อ ส่วนหากเบรค 0.4 ขึ้นไปและยืนได้จะเป็นโอกาสเริ่มรอบใหม่ของเทรนด์ขาขึ้น
โอกาสในการเทรด สำหรับคนที่เชื่อมั่นว่า XLM มีพื้นฐานจะไปได้อีกไกลในอนาคต
รอให้เกิดสัญญาณกลับตัวขึ้นใน H4 / D1 เช่น Price action doji / engulfing เพื่อเก็บสถานะ Buy ในช่วง 0.3 ลงไปถึง 0.2 หากราคาเบรค 0.2 ลงไปให้รอปรับฐานใหม่ก่อนสะสมเพิ่ม
การบริหารความเสี่ยงอาจใช้ 2 % rule คุมขนาดการเปิดสถานะ
ใช้เลเวอเรจต่ำ ให้ 1 order นั้นสามารถรับการลากได้ถึง 0 โดยคำนวณมาร์จิ้นว่าทั้งหมดที่ใช้กับสินค้าตัวนี้หากถูกลากถึง 0 จะขาดทุนรวมแค่ 2 % ของพอร์ตทั้งหมด
ETHUSD - Investorstyle - wait to buyMajor Resistance 800
Major Support 400
เทรนด์ระยะกลางเริ่มแสดงการกลับตัวขึ้น อาจเป็นจุดเริ่มของขาขึ้นรอบใหม่ แต่ต้องรอการยืนยันโดยการเบรค 800 ขึ้นไป หากราคาถูกกดลงจนเบรค 400 ลงมาแทนแสดงถึงขาลงในแนวโน้มใหญ่ยังคงอยู่
เป็นไปได้ที่จะยังวิ่งในกรอบ 400 -700 อีกสักพักเพื่อสะสมแรง รอตลาดเลือกทิศทาง
โอกาสของนักลงทุนด้าน Buy สะสม
สามารถเริ่มเก็บสินค้าได้ตั้งแต่แนว 50% fibonacci ลงมา โดยเฉลี่ยการเก็บและใช้เลเวอเรจต่ำ
ควรคำนวณมาร์จิ้นต่อไม้ให้สามารถรับการลากได้ถึง 0 สำหรับการซื้อคริปโต เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวน
จังหวะการซื้อคือรอ Price action กลับตัวขึ้นในเฟรม H4 / D1 ตั้งแต่ 700 ลงมาถึง 400
การใช้ 2 % rule กับสินค้าคริปโต สามารถใช้ได้ โดยเมื่อกำหนด SL = 0 แล้วให้เลือกใช้ขนาดมาร์จิ้น(เงินที่นำมาใช้ในการวางประกันกับสินค้าตัวนี้) ให้อยู่ในระดับรวมกันแล้วไม่เกิน 2 % ของเงินทั้งพอร์ตของคุณ
AUDNZD วิธีบริหารความเสี่ยงของการเทรดด้าน Buyจากกราฟในภาพใหญ่
Buy Zone : A-D
Short Zone : E-G
Major support 1.034 / 1.05
Major resistance 1.1210
ความได้เปรียบเบื้องต้นคือ ซื้อให้ยิ่งต่ำ ขายให้ยิ่งสูง แต่หากราคาไปไม่ถึงการ pending ที่สูงหรือต่ำมากไปจะไม่มีประโยชน์
วิธีเทรดสามารถใช้วิธีแบ่งเงินทุนที่มีเป็นส่วนๆ โดยประมาณความน่าจะเป็นให้แต่ละโซนมีความแตกต่างกัน
เช่นหากเรามีทุน 100 % แล้วกลยุทธ์ของเราคือ Buy อย่างเดียว ดังนั้นจะต้องแบ่งทุนเพื่อซื้อให้กับโซน A-D
มี 4 โซน หากแบ่งเท่ากันก็คือ 25% ในแต่ละโซน
แต่แทนที่จะแบ่งเท่า เพราะหากกราฟราคาไม่ลงไปถึงโซน A - B นั่นแปลว่าเงินที่เตรียมเทรดโซนนั้นจะเป็นเงินจม
โดยจากภาพ ราคาในกราฟมีการกลับตัวขึ้นในบริเวณโซน C / D บ่อยครั้ง เราจะแบ่ง % ในสองโซนนี้ให้มากขึ้น ดังนั้นอาจใช้เป็น
D - 35%
C - 35%
B - 20%
A - 10%
% นี้ขึ้นกับการออกแบบของแต่ละคนตามมุมมองที่ต่างกัน
วิธีออกแบบการบริหารความเสี่ยง
เมื่อเรามีโซนที่สามารถวางแผนการเล่น Buy / Sell แล้ว ต่อไปคือเราจะประเมินทุนของเรา ขนาดกระสุน และจำนวนที่ยิงแล้วไม่ over trade ได้อย่างไร
ขนาดของการยอมรับการสูญเสีย สามารถออกแบบได้หลายรูปแบบ โดยผู้เขียนขอแนะนำวิธีหนึ่งที่ผู้เขียนใช้อยู่
หากใช้วิธีคิดแบบ 1-2% rule (of portfolio) นั่นหมายถึงเมื่อราคาไปถึงจุดหนึ่ง เงินของเราจะหายไป 2%
สำหรับกราฟราคานี้ จุดที่ต่ำมากๆจากข้อมูลในอดีต จะอยู่ที่ 1.0
หากเผื่อราคาปลอดภัยก็อาจประมาณ 0.9 เป็นจุด SL ในแผนทางบัญชี
ในจุดนี้มาร์จิ้นพอร์ตจะลดลง 2% ซึ่งการคำนวณส่วนนี้จะขึ้นกับประเภทบัญชีและเงื่อนไขของโบรกเกอร์
ในกรณีบัญชีของผู้เขียน (เลเวอเรจ1-5) กระสุน 1 นัดใช้ขนาดมาร์จิ้น 25 USD หากตั้ง SL ที่ 0.85 เงินทุนจะหายไป 24.74 ดอล
นั่นหมายถึงหาก 1 นัดคือ 1 % rule ผู้เขียนควรมีทุนทั้งหมด 250 USD โดยประมาณ เพื่อรองรับการขาดทุนของกระสุนนัดนี้ได้โดยหายไปแค่ 1 % จากทั้งหมด
เมื่อเทียบกระสุน 1 นัดได้ นั่นหมายถึง หากจะยิง 4 นัดในสินค้านี้ด้วยเงื่อนไขเดียวกัน ก็ต้องมีทุน 250*4 = 1000 usd นั่นเอง
* ในกรณีใช้ 2 % rule ก็หมายถึงยิงได้มากขึ้นเท่าตัว ทุน 1000 usd จะยิงสินค้าตัวนี้ในบริเวณนี้ได้ 8 นัด
สมมุติว่าเรามีทุน 1000 ใช้ 2 % rule ยิงได้ 8 นัด
เราจะออกแบบการยิงยังไง ก็ออกแบบได้หลายแบบอีก เช่น
วางกริดตรงๆ แบ่งโซน A 2 นัด B 2 นัด C 2นัด D 2นัด
ใช้เทคนิคัลรอสัญญาณกลับตัวขึ้น หรือใช้ price action ในบริเวณแนวรับที่สำคัญ / เบรคเอาท์ก็ตามแต่เทคนิคของแต่ละคน
เพียงแต่ด้วยการบริหารทุนและมองราคาเป็นโซนสนามรบ แล้วแบ่งทุนให้แต่ละโซน หากเราวางได้ดีประสิทธิภาพของกระสุนจะเพิ่มขึ้น ในส่วนนี้ขึ้นกับความสามารถในการวางกลยุทธ์ของแต่ละคน แต่ที่แน่ๆคือเราจะไม่ over trade แน่ๆ เพราะเราคำนวณไว้แต่แรกว่าวิธีของเรานั้น สามารถรับการลากไปจนถึงแนวรับที่มีนัยยะสำคัญได้ แล้วถึงจะไปถึงตรงนั้นเราก็ยังมี 2% rule ควบคุมอยู่อีกชั้น
AUDUSD โอกาสเข้าของขา Long - Buyการยกตัวของ Low ก่อนหน้า กับเส้น MA ทำให้เรายังคงมอง AUDUSD เป็นรูปแบบของเทรนด์ขาขึ้น (ตราบเท่าที่จะยังไม่มีการเบรค Low ก่อนหน้านี้ลง)
การเทรดสำหรับคู่สกุลเงินนี้เราจึงเลือกหาจังหวะ Buy Long เมื่อย่อตัวลงเข้าสู่แนวรับที่น่าสนใจ
แนวรับที่น่าสนใจในขณะนี้คือ 0.768 - 0.75 ที่ก่อนหน้านี้มีการสู้กันในบริเวณนี้สูง
โดยมีเป้าหมายแรก(ระยะสั้น)ในบริเวณ 0.80 - 0.82 เป้าหมายถัดไป(ระยะยาว) 0.86-0.88
หากใช้ Money Management แบบ 2% rule สามารถตั้งได้ที่ Low ระยะสั้นก่อนหน้า + offset ลงไป ในบริเวณต่ำกว่า0.745
ซึ่งจะทำให้ RewardtoRiskRatio มีความได้เปรียบ
BTCUSD แนวรับสำคัญBTCUSD ราคาลงมาสู่โซนของแนวรับสำคัญก่อนหน้าอีกครั้ง โดยแรงฝั่งซื้อหยุดการลงราคาไว้ที่บริเวณแนว 7000
ราคาบริเวณนี้เป็นระดับที่ย่อตัวลงมากว่า 61.8 % Fibonacci
โอกาสสำหรับนักลงทุนรูปแบบ Investor ที่จะสะสมสินค้าแบบ Grid หรือใช้ Grid สร้าง Cashflow เพื่อลดต้นทุน ส่วนการเก็งกำไรสามารถทำได้โดยตั้ง SL ต่ำกว่า6050 ด้วยการควบคุมความเสี่ยงแบบ 1-2% rule