ค้นหา
ผลิตภัณฑ์
ชุมชน
ตลาด
ข่าว
โบรกเกอร์
เพิ่มเติม
TH
เริ่มกันเลย
ชุมชน
/
ไอเดีย
/
เครื่องมือวัดความผันผวนค่าเงินสำหรับสาย Scalping : ATR
ดอลลาร์สหรัฐ / บาทไทย
การศึกษา
เครื่องมือวัดความผันผวนค่าเงินสำหรับสาย Scalping : ATR
โดย Tradertanofficial
ติดตาม
ติดตาม
13 ต.ค.
4
13 ต.ค.
👽👽👽 กลับมาพบกนในบทความดีๆ สำหรับสายเทคนิคคอล โดยวันนี้แอดพาไปทำความเข้าใจและวิธีการใช้งานสำหรับสาย Scalping กันครับ ไอ่เจ้าตัวนี้จัดว่าเด็ดและไม่แพ้อินดิเคเตอร์ตัวอื่นเลยน๊า มาครับมาตามอ่านกันดีกว่า
ATR (Average True Range)
เป็นอินดิเคเตอร์ที่วัดความผันผวนของค่าเงินในตลาด Forex ได้อย่างแม่นยำและสามารถช่วยระบุช่วงเวลาที่ราคาแกว่งตัวมากที่สุด เหมาะสำหรับการเทรดในกรอบเวลาสั้น ๆ หรือ Scalping นั่นเอง เน้นเข้าเร็วออกเร็ว
ATR คือ Indicator ที่สามารถวัดความผันผวน หรือ Volatility ของค่าเงินในตลาด Forex ได้ ซึ่ง ATR นั้นย่อมาจากคำว่า Average True Range และเจ้า Range พวกนี้แหละทำให้เรารู้ว่าเราควรเทรดเวลาไหนที่ราคาจะแกว่งตัวมากที่สุดนั่นเอง ต้องดูเวลาดีๆนะครับ
อย่างไรก็ตาม เจ้า ATR ใช้บอกความผันผวนได้ แต่ไม่ได้บอกความเป็นเทรนด์ หรือ บอกทิศทางของตลาดแต่อย่างใด
ดังนั้น เราจึงควรใช้ ATR ควบคู่กับ Indicator ตัวอื่นๆด้วยนะฮะ หรือใช้คู่กับ Price Action อื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น Price Action หรือ Stochastic
จากตัวอย่างเราจะใช้กับเครื่องมือวิเคราะห์จุดแกว่งตัวอย่าง Stochastic โดยใช้Time Frame H1 เป็นต้นไป
อะอะ บอกไว้ก่อนนะ เจ้า ATR ตัวนี้ไม่สามารถบอกได้ว่า เป็นเทรนด์ขาขึ้นหรือขาลงนะ เแค่ตามสัญญาณในการเข้าออเดอร์ระยะสั้นๆ เท่านั้นเอง
การวิเคราะห์ ATR จะมีความผันผวนสูงสุดคือ เมื่อ ATR อยู่จุดต่ำสุดและกำลังขึ้น (วงกลมสีแดง) ซึ่งเมื่อเกิดวงกลมสีแดงจะตามมาด้วยความเคลื่อนไหวของราคาอย่างรุนแรง ซึ่งเราจะอาศัยช่วงที่มันมีความผันผวนต่ำ และส่งคำสั่งก่อน
ดูว่า Stochastic ในช่วงนั้นอยู่ในสัญญาณ Overbought หรือว่า Oversold ถ้าหากเป็นสัญญาณ Oversold ก็ให้ Buy และ ถ้าหากเป็นสํญญาณ Overbought ก็ให้ Sell ดังภาพ
อย่างไรก็ตามจะเห็นว่า มีบางจังหวะที่เป็นสัญญาณ Oversold ซึ่งควรต้อง Buy แต่ราคาก็พลิกผันและไม่สามารถทำกำไรได้
การประยุกต์ใช้ ATR ในการตั้ง Stop Loss
หลาย ๆ คนคงทราบกันอยู่แล้วว่าการเทรดนั้น เราจำเป็นที่จะต้องตั้ง Stop Loss (SL) เกือบทุกครั้ง เพื่อทำให้เราขาดทุนน้อยที่สุดในกรณีที่เราเทรดผิดทาง แต่การตั้ง SL แบบทั่วไปอาจจะไม่ได้เหมาะสมกับทุกโอกาส ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่ว่า ควรตั้ง SL ให้มีการเคลื่อนไหว หรือที่เราเรียกกันว่า “Dynamic SL” นั่นเอง
Dynamic SL คือ การประยุกต์เอาความสามารถในการวัดความผันผวนของราคาจาก indicator ATR เข้ามาคำนวณเพื่อตั้ง SL เมื่อราคามีความผันผวนมากเราก็จะได้ SL ที่กว้างมากขึ้น การทำแบบนี้เราจะไม่ถูกความผันผวนของราคาเล่นงานได้ง่าย ๆ ซึ่งมันเหมาะมาก ๆ สำหรับคนที่เทรดแบบสวิงเทรนไซด์เวย์
ปกติแล้วเทรดเดอร์มักจะตั้ง Dynamic SL เอาไว้ที่ 2 – 2.5 เท่าของ ATR ใน Time Frame ใหญ่ ๆ โดยวิธีการนำมาใช้นั้นจะมีตัวคูณที่แตกต่างกันไปในแต่ละคู่เงิน ซึ่งเราต้องแปลงค่า ATR ให้กลายเป็น Point เสียก่อน
ยกตัวอย่าง เช่น
คู่เงิน EUR/USD นั้นค่า ATR จะมีจุดทศนิยมอยู่ 4 ตำแหน่ง เราจึงจำเป็นต้องนำเลขทศนิยม 4 ตำแหน่งมาหารเสียก่อน จากนั้นให้เราเอามาคูณกับ 2 หรือ 2.5 ขึ้นอยู่กับเทคนิคของเทรดเดอร์แต่ละคน
(ATR_value / ATR_adjust) × ATR_Multiply = Dynamic SL
จะได้
(0.0008 / 0.0001) × 2.5 = 20 point
สรุป
การใช้ ATR นั้นเหมาะสำหรับการบอกความผันผวนของราคา โดยสามารถใช้มันร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ ซึ่งส่วนมากต้องเป็นเครื่องมือที่เทรดในระยะสั้น เช่น Stochastic หรือ RSI ถึงจะมีความเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามบางจังหวะก็ไม่ได้มีความแม่นยำมากนัก ซึ่งทำให้มันต้องใช้เครื่องมืออื่นในการควบคุมความเสี่ยง เช่น Stop loss หรือการจัดการ Lot เข้ามาเกี่ยวข้อง
👽👽👽เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ได้ทริคการเทรดใหม่ๆกันไปแล้วก็อย่าลืมเอาไปลองใช้กันดูบ้างนะครับ สายเทรดสั้นชอบสวิงเทรน หรือสายออปชั่น แอดบอกเลยว่า จัดว่าเด็ดดีจริงๆเชียว หากใครรักใครชอบก็ลองเอาไปใช้เทรดกันดูฮะ และที่สำคัญอย่าลืม MM และสร้างแผนการเทรดที่ดีด้วยนะครับ จะช่วยทำให้เราแกร่งมากยิ่่งขึ้น และเจ็บน้อยลงแอดเอาใจช่วยนะครับ
ATR
Technical Indicators
Tradertanofficial
ติดตาม
🙏 เข้ากลุ่มเทรดสด :
t.me/tradertanclub
🪙 คืนกำไร 100% ทุกๆการเทรด :
bit.ly/3gQcn2N
(จ่ายทุกวัน)
🎉 $30 โบนัสฟรี :
affs.click/dcgxp
และใน:
คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบ
ข้อมูลและบทความไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมทางการเงิน, การลงทุน, การซื้อขาย, ข้อเสนอแนะ หรือคำแนะนำประเภทอื่น ๆ ที่ให้หรือรับรองโดย TradingView อ่านเพิ่มเติมที่
ข้อกำหนดการใช้งาน