Inves_money

วิเคราะห์ทองคำศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2565

FX:XAUUSD   ทองคำ / ดอลลาร์สหรัฐ
ทองคำกลับมาบวกอีกครั้ง หลังความกังวลยูเครนกลับมา และเงินเฟ้อสหรัฐพุ่ง

ทองคำปิดบวกได้อีกครั้งในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยทองคำได้ปรับตัวขึ้นไปเหนือระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังการปรับร่วงลงไปที่ระดับ 1,970 ดอลลาร์ต่อออนซ์ การกลับมาของทองคำครั้งนี้เกิดจากสาเหตุรายงานตัวเลขดัชนีผู้บริโภค CPI พุ่งขึ้น 7.9% ในเดือน ก.พ. เมื่อเทียบรายปี ถ้าเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนม.ค.2525 และสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 7.8% จึงเป็นปัจจัยหนุนทองคำให้ปรับบวก อีกประเด็นหนึ่งก็คือเรื่องของสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน หลังจากการเจรจาระหว่างนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รมว.ต่างประเทศของรัสเซีย และนายดมิโทร คูเลบา รมว.ต่างประเทศของยูเครน ไม่สามารถบรรลุการเจรจากันได้ โดยทั้งสองฝ่ายหาข้อยุติหยุดยิงชั่วคราว หรือการกำหนดเส้นทางปลอดภัยสำหรับชาวยูเครนที่จะอพยพออกจากประเทศไม่ได้ เป็นเหตุให้นักลงทุนเริ่มวิตกกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าวอีกครั้ง ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กลับมาหนุนทองคำได้ขณะนี้
นักลงทุนเฝ้าติดตามการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐที่จะมีขึ้นในวันที่ 15-16 มีนาคม นี้เพื่อติดตามเรื่องของการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งก่อนหน้านายเจอโรม พาวเวล ได้ออกมาให้สัญญาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 0.25% ในการประชุมครั้งนี้
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commondity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ปรับขึ้น 12.2 ดอลลาร์ หรือ 0.61% ปิดที่ 2,000.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ประเมินทางเทคนิคทองคำวันนี้ โบรกเกอร์ FXCM
ทองคำเช้านี้ถือว่าอยู่ในระดับทรงตัว หลังเที่ยงคืนที่ผ่านมาได้มีการปรับตัวขึ้นทดสอบบริเวณแนวต้านระดับ 1998-2012 ได้อีกครั้ง แต่ไม่สามารถรักษาช่วงบวกของราคาได้ ทำให้ทองคำปรับตัวลดลงมาต่ำกว่าระดับ 2000 ดอลลาร์ต่อออนซ์อีกครั้งในช่วงเช้าวันนี้ โดยประเมินว่าหากราคาทองคำไม่หลุดต่ำกว่าระดับ 1975-7970 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทองคำยังมีโอกาสฟื้นตัวได้อีก เนื่องจากสถานการณ์สงครามรัสเซียกับยูเครนยังไม่มีทีท่าถึงความสงบได้ในเวลาอันใกล้
================
Indicator (TF H1)
================

True RSI (14) เส้น RSI ทรงตัวในระดับกลาง (50) และ SMA20 ก็ยังไม่มีแรงซื้อขายที่ชัดเจนมากพอที่จะกำหนดทิศทางราคาได้ขณะนี้
เส้น SMA200 ยังปรับตัวขึ้นเข้าใกล้ราคาบอกถึงแรงขายที่กำลังลงมาปรับฐานกับแรงซื้อระยะยาว

เส้น SMA 50 ยังคงปรับตัวลดลงตามแรงขายในตลาด บอกถึงแรงซื้อที่ยังไม่สามารถหนุนตลาดได้ขณะนี้

=================================
กลยุทธ์การเทรดทองคำกรอบรายชั่วโมง
=================================
Short Position : หากราคาทองคำยังไม่สามารถผ่านแนวต้าน 2012 ดอลลาร์ต่อออนซ์ขึ้นไปได้ให้เสี่ยงเปิด “ขาย” ได้จากบริเวณดังกล่าว เน้นการลงทุนระยะสั้น พิจารณาปิดทำกำไรบริเวณ 1990 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากราคาทองคำหลุดต่ำไปกว่าา1990 ให้ชะลอการปิดทำกำไรบางส่วนออกไปก่อน ประเมินแนวรับถัดไปที่ระดับ 1976 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำหลุดขึ้นไปเหนือ 2012 ดอลลาร์ต่อออนซ์)

Long Position : หากราคาทองคำย่อตัวลงมาทดสอบแนวรับใกล้บริเวณ 1976-1970 ดอลลาร์ต่อออนซ์แล้วทรงตัวได้เหนือบริเวณดังกล่าว อาจเสี่ยง “ซื้อ” ได้จากบริเวณนี้ เน้นการลงทุนระยะสั้น พิจารณาปิดกำไรแนวต้านบริเวณ 1998-2012 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวต่ำกว่า 1970 ดอลลาร์ต่อออนซ์)


แนวรับ แนวต้าน กรอบรายวัน (ระยะสั้น)
-------------------------------------------
Resistance : 2020 / 2048 / 2071
-------------------------------------------
Support : 1974 / 1928 / 1900
-------------------------------------------

แนวรับ แนวต้าน กรอบรายชั่วโมง (ระยะสั้น)
-------------------------------------------
Resistance : 1988 / 2012 / 2023
-------------------------------------------
Support : 1975 / 1954 / 1940
-------------------------------------------

แนวโน้มทิศทางทองคำวันนี้
Time Frame H1 = Uptrend
Time Frame H4 = Uptrend
Time Frame Day = Uptrend
Time Frame Week = UPTREND
Time Frame Month = UPTREND

-------------------------------------------------
กองทุน SPDR ถือครองทองคำ (มีนาคม)
-------------------------------------------------
สถานะการถือครองทองคำ = ขายออก -1.74 ตัน
คงถือสุทธิ = 1061.54 ตัน
ราคาซื้อขายล่าสุด = 1996.05 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ปรับการถือครองครั้งที่ = 8
รวมการเคลื่อนไหวล่าสุด = +34.55 ตัน
-------------------------------------------




*การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณให้รอบคอบก่อนการลงทุนทุกครั้ง
**ข้อมูลจากการวิเคราะห์ไม่ได้เป็นเครื่องมือชี้นำระดมทุน เพียงเป็นเครื่องมือประกอบความรู้ในการลงทุนในแต่ละวันเท่านั้น จึงไม่มีส่วนต่อความรับผิดชอบใดๆ อันเกิดขึ้นในภายหลัง
***การวิเคราะห์เป็นเพียงสมมุติฐานค่าสถิติจากอดีต จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือการันตี 100% ต่อการสร้างผลกำไรในอนาคต

คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบ

ข้อมูลและบทความไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมทางการเงิน, การลงทุน, การซื้อขาย, ข้อเสนอแนะ หรือคำแนะนำประเภทอื่น ๆ ที่ให้หรือรับรองโดย TradingView อ่านเพิ่มเติมที่ เงื่อนไขการใช้บริการ