Inves_money

วิเคราะห์ทองคำพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม 2565

FX:XAUUSD   ทองคำ / ดอลลาร์สหรัฐ
ตลาดทองคำยังผันผวนตลอดเวลาหลังเจรจารัสเซียยูเครนยังไม่ชัดเชน

ตลาดทองคำนิวยอร์กวานนี้ปิดบวก 21 ดอลลาร์ ภายหลังดอลลาร์และบอนด์ฯ อ่อนค่าลงจึงเป็แรงหนุนทางครับให้กลับไปใกล้กับ 1940 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยระหว่างวันราคาทองคำทำจุดสูงสุดที่ระดับ1938.35 ดอลลาร์ต่ออนซ์ เป็นสัญญาณบวกอีกครั้งหลังทองคำปรับตัวลงต่ำสุดในรอบเดือนมีนาคาที่ระดับ 1889.91 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้แรงสนับสนุนการเข้าซื้อทองคำเมื่อวานนี้เกิดจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเจรจาของรัสเซียและยูเครนที่จะมีการทำข้อตกลงหยุดยิง หลังรัสเซียได้ออกมาแถลงว่าจะมีการลดกิจกรรมทางการทหารลง แต่เมื่อวานนี้รัสเซียก็ยังมีการถล่มยูเครนอย่างหนัก ซึ่งสวนทางกับคำพูดของรัสเซีย ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลต่อเหตุการณ์ดังกล่าวที่อาจจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อไปในอนาคตอันใกล้ โดยเฉพาะความอ่อนไหวในเรื่องพลังงานที่ชาติตะวันตกยังต้องเผชิญอยู่ขณะนี้ นี่ยังคงเป็นเหตุให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำกลับมาอีกครั้ง
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commondity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย ปรับเพิ่มขึ้น 21 ดอลลาร์ หรือ +1.09% ปิดที่ 1,939 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ประเมินทางเทคนิคทองคำวันนี้ โบรกเกอร์ FXCM
ทองคำระยะนี้ต้องพิจารณาจากกรอบ 4 ชั่วโมงเป็นหลักเพราะจะสามารถมองหาโอกาสในระยะกลางและสั้นได้ดีกว่ากรอบ 1 ชั่วโมง สำหรับแนวราคาที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าทองคำจะปรับฟื้นคืนตัวได้นั้นราคาทองคำต้องปรับขึ้นเหนือระดับ 1940 ดอลลาร์ต่อออนซ์ก่อน จึงจะมีโอกาสที่ทองคำจะเคลื่อนไหวในฝั่งแดนบวกได้อีกสักระยะ แต่เนื่องจากนักลงทุนยังต้องติดตามตัวเลข NFP ในวันศุกร์นี้ อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ราคาทองคำยังผันผวนในกรอบแคบๆ ประเมินทางเทคนิควันนี้หากราคาทองคำยังทรงตัวเหนือระดับ 1920 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทองคำอาจแกว่งตัวในช่วงระหว่าง 1940-1920 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทั้งนี้ให้ติดตามสถานการณ์ทางรัสเซียกับยูเครนจะเป็นปัจจัยหลักๆ ที่จะทำให้ทองคำสามารถดีดตัวพุ่ง หรือทิ้งตัวดิ่งได้ตลอดเวลานอกจากปัจจัยอื่นๆ ในระยะนี้
================
Indicator (TF H1)
================

True RSI (14) RSI ยังเคลื่อนไหวในแดนบวกเหนือระดับ 50 ส่วน SMA20 ก็เคลื่อนไหวในแดนบวกเช่นกัน
เส้น SMA200 ปรับตัวฟื้นขึ้นมาเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในลักษณะแนวระนาบ
เส้น SMA 50 ปรับฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยตามการเคลื่อนไหวราคาที่ปรับตัวขึ้นไปยืนเหนืออีกครั้ง

=================================
กลยุทธ์การเทรดทองคำกรอบรายชั่วโมง
=================================

Short Position : หากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวต้าน 1938-1942 ดอลลาร์ต่อออนซ์ขึ้นไปได้ให้เสี่ยงเปิด “ขาย” ได้จากบริเวณดังกล่าว โดยเน้นการลงทุนระยะสั้น พิจารณาปิดทำกำไรบริเวณ 1927-1920 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาทองคำลงไปไม่ทะลุแนวนี้ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับขึ้นเหนือ 1942 ดอลลาร์ต่อออนซ์

Long Position : หากราคาทองคำย่อตัวลงมาบริเวณ 1920-1914 ดอลลาร์ต่อออนซ์และสามารถทรงตัวในบริเวณดังกล่าวได้ให้เสี่ยงเปิด “ซื้อ” โดยเน้นการลงทุนระยะสั้น พิจารณาปิดทำกำไรบริเวณ 1940 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวต้านบริเวณนี้ขึ้นไปได้ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวต่ำกว่า 1914 ดอลลาร์ต่อออนซ์


แนวรับ แนวต้าน กรอบรายวัน (ระยะกลาง)
-------------------------------------------
Resistance :1960 / 2002 / 2070
-------------------------------------------
Support : 1891 / 1842 / 1813
-------------------------------------------

แนวรับ แนวต้าน กรอบรายชั่วโมง (ระยะสั้น)
-------------------------------------------
Resistance : 1938 / 1950 / 1957
-------------------------------------------
Support : 1920 / 1914/ 1908
-------------------------------------------

แนวโน้มทิศทางทองคำวันนี้
Time Frame H1 = Down trend
Time Frame H4 = N
Time Frame Day = Up trend
Time Frame Week = Up trend
Time Frame Month = Up trend

-------------------------------------------------
กองทุน SPDR ถือครองทองคำ (มีนาคม)
-------------------------------------------------
สถานะการถือครองทองคำ = ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงการถือครอง
คงถือสุทธิ = 1,091.44 ตัน
ราคาซื้อขายล่าสุด = 1919.25 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ปรับการถือครองครั้งที่ = 17
รวมการเคลื่อนไหวล่าสุด = +64.45 ตัน
-------------------------------------------------




*การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณให้รอบคอบก่อนการลงทุนทุกครั้ง
**ข้อมูลจากการวิเคราะห์ไม่ได้เป็นเครื่องมือชี้นำระดมทุน เพียงเป็นเครื่องมือประกอบความรู้ในการลงทุนในแต่ละวันเท่านั้น จึงไม่มีส่วนต่อความรับผิดชอบใดๆ อันเกิดขึ้นในภายหลัง
***การวิเคราะห์เป็นเพียงสมมุติฐานค่าสถิติจากอดีต จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือการันตี 100% ต่อการสร้างผลกำไรในอนาคต

คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบ

ข้อมูลและบทความไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมทางการเงิน, การลงทุน, การซื้อขาย, ข้อเสนอแนะ หรือคำแนะนำประเภทอื่น ๆ ที่ให้หรือรับรองโดย TradingView อ่านเพิ่มเติมที่ เงื่อนไขการใช้บริการ