Inves_money

วิเคราะห์ทองคำอังคารที่ 10 สิงหาคม 2564

FX:XAUUSD   ทองคำ / ดอลลาร์สหรัฐ
ทองคำเมื่อวานนี้ผันผวนหนัก หลังร่วงหนักเปิดตลาดช่วงเช้าก่อนรีบาวน์กลับฐานสูงเหนือ 1,700 ดอลลาร์ได้อีกครั้ง

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. เมื่อวานนี้ผันผวนหนักพอสมควร โดยปิดตลาดร่วง 36.60 ดอลลาร์ (-0.28%) ปิดที่ระดับ 1,726.5 ซึ่งการร่วงลงของทองคำมาจากปัจจัยกดดันการแข็งค่าขอดัชนีดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี

เมื่อคืนนี้สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐได้ออกมาเปิดเผยผลการสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) 9y;g] เปิดตัวเลขพุ่งขึ้น 590,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 10.1 ล้านตำแหน่งในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการร์นับตั้งแต่เริ่มมีการรวบรวมข้อมูลมา และยังสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ที่ระดับ 9.27 ล้านตำแหน่ง จากระดับ 9.50 ล้านตำแหน่งในเดือนพ.ค. ตัวเลข JOLTS ถือเป็นข้อมูลที่ทางธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสนใจ โดยมีการมองว่าเป็นมาตรวัดระดับภาวะตึงตัวในตลาดแรงงาน อันจะเป็นการนำพาในการพิจารณานโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยต่อไปในอนาคตของเฟด

ตลาดการลงทุนกำลังเฝ้ามองตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในวันพุธนี้ และจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในวันถัดไป ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนี CPI พื้นฐาน จะปรับพุ่งขึ้น 4.3% ของเดือนก.ค. เมื่อนำมาเทียบรายปี สิ่งที่นักลงทุนมีความกังวลนั้นมาจากผลหากว่าสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนก.ค. หลังจากที่มีการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานที่แข็งแกร่งออกมาแล้วเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ก็อาจจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐหรือว่า เฟด อาจเริ่มปรับวงเงินในโครงการ QE รวมทั้งอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบต่อราคาทองคำในอนาคตได้

สำหรับตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ก็ได้รับความผันผวน โดยได้รับแรงกดดันจากดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดร่วงลงไปเมื่อคืนนี้ อันมาจากหุ้นกลุ่มของพลังงานดิ่งลงตามทิศทางราคาน้ำมัน ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังมีสาเหตุจากนักลงทุนที่ยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลลาในหลายประเทศขณะนี้ นักลงทุนได้จับตาการระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลตาอย่างใกล้ชิด โดยล่าสุดนั้นศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐได้เพิ่มระดับคำเตือนการเดินทางสู่ระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด


ประเมินทางเทคนิควันนี้
ทองคำยังเคลื่อนไหวเหนือระดับแนวรับบริเวณ 1,719=1,728 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เรายังเห็นแรงซื้อที่เข้ามาพยุงราคาทองคำไม่ให้ตกร่วงไปอีกครั้ง จึงมีแนวโน้มว่าหากแรงซื้อเข้าตลาดมาอีกครั้งอาจมีการปรับฐานราคาขึ้นไปในระยะสั้นอีกรอบได้เช่นกัน โดยมีแนวต้านบริเวณ 1,758-1,768 เป็นโซนบริเวณการรองรับราคาเอาไว้ด้านบน นักลงทุนควรระมัดระวังช่วงเวลานี้ในการลงทุนทองคำเนื่องจากสัปดาห์นี้ยังมีรายงานสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาทองคำได้พอสมควร จึงควรติดตามรายงานข่าวสำคัญๆ เป็นระยะๆ ด้วย

กลยุทธ์การเทรดทองคำกรอบรายชั่วโมง
Long Position : หากราคาทองคำยังสามารถทรงตัวเหนือบริเวณ 1,719-1,728 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ให้เสี่ยงเปิดคำสั่ง “ซื้อ” ได้ที่บริเวณดังกล่าว โดยเน้นการลงทุนระยะสั้น พิจารณาปิดทำกำไรหากราคาทองคำยังไม่สามารถผ่านแนวต้านบริเวณ 1,758-1768 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับตัวต่ำกว่า 1,719 ดอลลาร์ต่อออนซ์)

แนวโน้มทองคำในวันนี้
-----------------------------------------
1H : Downtrend
-----------------------------------------
4H : Downtrend
-----------------------------------------
DAY : Down trend
---- -------------------------------------
Week : Up trend
-----------------------------------------
Month : Up trend
-----------------------------------------

แนวรับแนวต้านทองคำกรอบรายชั่วโมง
---------------------------------------------------
Support : 1,713 / 1,685 / 1,665
---------------------------------------------------
Resistance : 1,739 / 1759 / 1,776
---------------------------------------------------

สถานการณ์ถือครองทองคำของกองทุน SPDR เดือนสิงหาคม 64
- ถารถือครองทองคำ : ปรับลดลง -1.75
- เข้าซื้อขายทองคำล่าสุดที่ระดับราคา : 1,729.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์
- ปัจจุบันถือครองทองคำทั้งสิ้นสุทธิ : 1,023.54 ตัน
- ปรับเปลี่ยนแปลงราคาทั้งสิ้น : 5 ครั้ง
- รวมการเปลี่ยนแปลงการถือครองในเดือนทั้งสิ้น : -7.92 ตัน

*การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณให้รอบคอบก่อนการลงทุนทุกครั้ง
**การวิเคราะห์เป็นเพียงการตั้งค่าสมมุติฐานค่าสถิติจากอดีตถึงความน่าจะเป็นในปัจจุบันและอนาคต จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือการันตีการทำผลกำไรจากการลงทุนได้ 100%


คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบ

ข้อมูลและบทความไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมทางการเงิน, การลงทุน, การซื้อขาย, ข้อเสนอแนะ หรือคำแนะนำประเภทอื่น ๆ ที่ให้หรือรับรองโดย TradingView อ่านเพิ่มเติมที่ เงื่อนไขการใช้บริการ