TVC:GOLD   สัญญาการซื้อขายส่วนต่างทองคำ (ดอลลาร์สหรัฐฯ / ออนซ์)
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาทองคำเกิดการเทขายอย่างรุนแรง สืบเนื่องจากหลังการประชุมธนาคารกลางสหรัฐประจำเดือน ม.ค. แม้ว่าผลการประชุมเป็นไปตามที่คาดว่าจะมีการคงดอกเบี้ยในเบื้องต้น แต่ก็ส่งสัญญาณที่เตรียมการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ และจะลดขนาดงบดุลที่จะเกิดขึ้นหลังจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ก็ยังไม่ได้ระบุเวลาชัดเจนว่าจะเริ่มเมื่อไหร่ โดยระบุเพียงว่ายังมีช่องว่างเพียงพอต่อการปรับอัตราดอกเบี้ย โดยไม่ส่งผลกระต่อตลาดแรงงาน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้กับการกล่าวเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในทุกการประชุม ซึ่งสถาบันการเงินทั่วโลกต่างยังมั่นใจในการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ว่าจะมีการปรับขึ้นอย่างน้อยครั้งละ 0.25% รวม 7 ครั้งในปีนี้อย่างแน่นอน ประกอบกับความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครน อีกทั้งการเปิดเผยตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 4/2021 ดีเกินกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ อีกทั้งการประกาศตัวเลข Core PCE Price Index ที่เป็นตัวสำคัญในการชี้วัดเรื่องเงินฟ้องของเฟด ทำให้ปัจจัยดังกล่าวทั้งหมดส่งผลหนุนให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ นั้นปรับพุ่งขึ้นทำ new high ในรอบ 1 ปีกว่า ที่แนว 97.447 พร้อมกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ที่เพิ่มขึ้น ทำให้สัปดาห์ที่ผ่านกดดันราคาทองคำ ถึงแม้จะเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผู้คนทั่วไปมักจะเข้าซื้อทองคำก็ตาม
โดยสัปดาห์นี้คาดราคาทองคำอาจจะมีการฟื้นตัวเล็กน้อยจากการชะลอการเข้าซื้อของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีและค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ
ข่าวที่น่าจับตามองในสัปดาห์นี้ คือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเขตชิคาโก (Chicago PMI), ถ้อยแถลงของนางเอสเธอร์ จอร์จ ประธานเฟดแคนซัส ซิตี้ (FOMC Member George Speaks), ดัชนี PMI ภาคการผลิตจากสถาบันไอเอสเอ็ม (ISM Manufacturing PMI), การเปิดเผยตําแหน่งงานว่างเปิดใหม่ (JOLTS Job Openings), ดัชนีคาดการณ์ตัวเลขเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน (ที่ไม่รวมภาคการเกษตรและภาครัฐ) (ADP Non-Farm Employment Change), ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ISM Service PMI), ตัวเลขค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่อชั่วโมงของสหรัฐฯ (Average Hourly Earnings), ดัชนีคาดการณ์ตัวเลขเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน (ที่ไม่รวมภาคการเกษตร) (Non-Farm Employment Change) และ อัตราการว่างงาน (Unemployment rate)

-เชิงเทคนิคคอล-
หลังจากที่ราคากราฟได้ลงมาต่อเนื่องจากปัจจัยข้างต้น ทำให้ราคากราฟปิดต่ำกว่าระดับ 1800 และหากไล่ดูตั้งแต่ timeframe H4 และย่อยลงไป กราฟราคาได้ปิดต่ำกว่าเส้น EMA200 ทั้งสิ้น และเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ราคาได้ลงไปช่วง 1780 แต่ก็มีแรงซื้อกลับมา จุดนี้ก็ถือว่าได้ทำลายหัวขาขึ้น ก่อนหน้าที่แนว 1782 ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ราคาจะสามารถลงต่อได้อีกสูง ทำให้มุมมองระยะสั้นนั้นขาลงถือว่าได้เปรียบค่อนข้างสูง แต่หากดู indicators ประกอบอย่าง sto. ใน timeframe Day นั้น Sto. ได้เข้าโซน oversold แล้ว และหากเทียบ oversold ก่อนหน้าช่วงปลายเดือน พย. ปีที่แล้วนั้น ถือเป็น oversold higher low และเทียบ RSI ใน timeframe H4 ที่ช่วง oversold ก่อนหน้า ช่วง 15 ธค ปีที่แล้วนั้น ได้เกิดภาพ Hidden bullish divergence และที่สำคัญราคายังไม่ผ่านแนวรับนัยยะสำคัญ แนว1778-1780 ซึ่งอยู่ในช่วงเส้น trendline ขาขึ้น ของ day อยู่ ประกอบกับช่วงก่อนหน้า indicators ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Sto. RSI และ MACD ของ timeframes H4 ย่อยลงไป ต่างเข้า oversold ทั้งสิ้น ทำให้มุมมองระยะกลาง-ยาว นั้น ยังมีความเป็นไปได้ที่ยังเป็นขาขึ้นอยู่ แต่ถึงอย่างไรก็ยังต้องจับตาทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเรื่องการปรับดอกเบี้ย การแข็งค่าของค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี และ keyzone ในเชิงเทคนิคคอล
โดยมี 2 keyzone หลัก คือช่วง 1778-1783 ที่เป็น keyzone 1 ที่เป็นแนวรับสำคัญและแนวเส้น trendline ขาขึ้นของ timeframe day ด้วย ซึ่งหากราคาสามารถร่วงทะลุแนวดังกล่าวได้ อาจจะทำให้ขาขึ้นระยะกลางนั้นเสียทรง และเพิ่มความได้เปรียบของขาลงในระยะสั้น-กลาง หากทะลุลงไปได้เป้าต่อไปคือช่วง 1750-1755 ซึ่งเป็นหัวขาขึ้นก่อนหน้า
และ keyzone 2 ช่วง 1797-1803 ซึ่งเป็นแนวต้านนัยยะสำคัญ หากราคายังไม่สามารถยืนเหนือโซนดังกล่าวได้ในสัปดาห์นี้ ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าราคาจะลงต่อไปยังเป้าขาลงช่วง 1750-1755 แต่หากสามารถยืนเหนือโซนดังกล่าวได้ก็มีความเป็นไปได้ที่จะขึ้นไปทดสอบช่วง 1807-1812 และ 1820-1824 ต่อไป
โดยเป้าลงระยะใกล้ที่แนว 1778-1782 ระยะกลางที่แนว 1764-1767 ระยะไกลที่แนว 1751-1756
เป้าขึ้นระยะใกล้ที่แนว 1797-1800 ระยะกลางที่แนว 1807-1812 ระยะไกลที่แนว 1824-1828

สรุปภาพรวมในสัปดาห์ : หลังจากการเทขายอย่างรุนแรงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านทำให้ขาลงได้เปรียบในระยะสั้น โดยสัปดาห์นี้คาดว่าอาจจะมีการดีดตัวของราคาระดับปานกลางโดยคาดว่าเป็นการช้อนซื้อเพื่อชะลอแรงขายและเข้าซื้อตามเทคนิคคอล ซึ่งต้องจับตา keyzone ดังกล่าว ประกอบกับปัจจัยหนุนอื่นๆ จากข่าวในสัปดาห์นี้

-แผนเข้า-
Sell Zone1 1790-1793
Sell Zone2 1797-1801
Sell Zone3 1770-1775
(กรณีราคาร่วงทะลุแนว keyzone 1 รอ retest หรือ follow sell)

Buy Zone1 1779-1783
Buy Zone2 1790-1795 (กรณีราคาขึ้นไป test keyzone 2 รอย่อ)
Buy Zone3 1803-1805 (กรณีราคาทะลุขึ้นผ่าน keyzone 2 รอย่อ retest หรือ follow buy)

** เป็นบทวิเคราะห์จากทัศนะคติและมุมมองส่วนตัว โปรดใช้วิจาณญาณในการรับชม**
คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบ

ข้อมูลและบทความไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมทางการเงิน, การลงทุน, การซื้อขาย, ข้อเสนอแนะ หรือคำแนะนำประเภทอื่น ๆ ที่ให้หรือรับรองโดย TradingView อ่านเพิ่มเติมที่ เงื่อนไขการใช้บริการ